ข้ามไปเนื้อหา

ตี๋เหรินเจี๋ย ดาบทะลุคนไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตี๋เหรินเจี๋ย ดาบทะลุคนไฟ
กำกับฉีเคอะ
เขียนบทเฉิน เกาฟู
อำนวยการสร้างฉีเคอะ
ฉี นันซุน
เป็กกี้ ลี
นักแสดงนำหลิว เต๋อหัว
หลิว เจียหลิง
หลี่ ปิงปิง
เหลียง เจียฮุย
เติ้งเชา
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม
(ไทย)
วันฉาย29 กันยายน 2010
(จีน)

30 กันยายน 2010
(ไทยและฮ่องกง)
ความยาว119 นาที
ประเทศฮ่องกง
จีน
ภาษาจีนกลาง
ทุนสร้าง22 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ USD
ทำเงิน51 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ USD
ข้อมูลจาก IMDb

ตี๋เหรินเจี๋ย ดาบทะลุคนไฟ (อังกฤษ: Detective Dee, Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame, จีนตัวเต็ม: 狄仁傑之通天帝國(臺:通天神探狄仁傑, จีนตัวย่อ: 狄仁杰之通天帝国) ภาพยนตร์กำลังภายในแนวสืบสวนสอบสวนสัญชาติฮ่องกง นำแสดงโดย หลิว เต๋อหัว, หลิว เจียหลิง, หลี่ ปิงปิง, เหลียง เจียฮุย, เติ้งเชา กำกับโดย ฉีเคอะ ภาพยนตร์ออกฉายทั่วโลก

เรื่องย่อ

[แก้]

ในแผ่นดินยุคราชวงศ์ถัง ที่เมืองลั่วหยาง พระนางบูเช็คเทียนได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้โดยสมบูรณ์ ซึ่งในราชสำนักกำลังมีการเฉลิมฉลองด้วยการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ แต่แล้วจู่ ๆ นายช่างผู้ควบคุมการสร้างก็ได้เกิดไฟลุกไหม้ท่วมตัวเสียชีวิตอย่างปริศนา ซึ่งก่อนหน้านั้นก็ได้มีเหตุการณ์ลึกลับเช่นนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง พระนางจึงมีราชโองการให้เบิกตัว ตี๋เหรินเจี๋ย นักสืบราชสำนักผู้ถูกควบคุมตัวในคุกนานถึง 8 ปี ด้วยข้อหาท้าทายอำนาจพระนาง ออกมาเพื่อให้สืบสวนเรื่องราวเหล่านี้ ตี๋เหรินเจี๋ยถูกปล่อยตัวออกมา โดยมี จิงเอ๋อ หญิงสาวรับใช้คนสนิทของพระนางบูเช็คเทียนเป็นผู้ควบคุม

การสืบสวนของ ตี๋เหริ่นเจี๋ยได้พาเขาเข้าไปในตลาดมืด ซึ่งทำให้ค้นพบกับหลักฐานถึงวิธีการเผาไหม้จากภายในร่างกายเหยื่อ คือ ฟอสฟอรัสขาว ซึ่งทั้งหมดก็โยงไปที่ พ่อมดวังหลวง ที่ปรึกษาคนสำคัญของฮ่องเต้ แต่นั้นก็หมายถึงการที่เขาต้องท้าทายกับอำนาจของประมุขของประเทศอีกครั้ง

นักแสดง

[แก้]

เบื้องหลังและการเข้าฉาย

[แก้]

Detective Dee หรือในชื่อเต็มว่า Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame เป็นภาพยนตร์กำลังภายในแฟนตาซีแนวสืบสวนสอบสวนจากการกำกับของ ฉีเคอะ ผู้กำกับฯชื่อดังของฮ่องกง โดยสร้างมาจากบุคคลที่มีตัวตนในประวัติศาสตร์ คือ ตี๋เหรินเจี๋ย และพระนางบูเช็คเทียน รวมถึง จิงเอ๋อ ด้วย ซึ่งในเรื่องผู้สร้างได้สร้างให้เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญวิทยายุทธด้วย[1]

เมื่อออกฉายแล้ว ได้รับเกียรติให้ร่วมฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโต ที่แคนาดา และเทศกาลภาพยนตร์เวนิซ ที่อิตาลี โดยในเทศกาลนี้ได้มีชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมอีกด้วย รวมถึงมีชื่อเข้าชิงรางวัลในเทศกาลเอเชียน ฟิล์ม อวอร์ดส์ และภาพยนตร์ฮ่องกงยอดเยี่ยม[2] [3] และได้ออกฉายมากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก เวปไซด์ box office mojo กวาดรายได้ในจีนมากกว่า 51 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]