ตำบลเวียงคอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเวียงคอย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Wiang Khoi
ประเทศไทย
จังหวัดเพชรบุรี
อำเภอเมืองเพชรบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด3.06 ตร.กม. (1.18 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด1,274 คน
 • ความหนาแน่น416.33 คน/ตร.กม. (1,078.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 76000
รหัสภูมิศาสตร์760109
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เวียงคอย เป็น 1 ใน 24 ตำบลของอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นที่ตั้งของวัดเวียงคอย เป็นวัดที่ตระกูลช่างต่าง ๆ ในตำบลเวียงคอยเป็นผู้สร้าง โดยมีหลวงพ่อดำ ซึ่งมีความเชื่อทางด้านการบนบานศาลกล่าว

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลเวียงคอย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลวังตะโกและตำบลธงชัย
  • ทิศใต้ ติดกับ ตำบลลาดโพธิ์ (อำเภอบ้านลาด)
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลไร่ส้ม
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลหัวสะพาน

ประวัติ[แก้]

เดิมทีท้องตำบลเวียงคอย หรือเดิมคือทุ่งบ้านเวียงคอย[2] เป็นตำบลเก่าแก่ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2445[3] โดยชื่อ "เวียงคอย" ชาวลาวเวียงได้มีการอพยพผ่านมาเส้นทางนี้ซึ่งชอบใช้เส้นทางริมน้ำและได้หยุดพักรอทัพ สร้างที่พัก จึงเรียกบริเวณนี้ว่า เวียงคอย ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ได้ยุบรวมกับตำบลไร่ส้ม เนื่องจากมีพื้นที่เพียง 2 หมู่บ้าน

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490 มีการแบ่งเอาท้องที่ตำบลไร่ส้ม ได้แก่ หมู่ 6 บ้านเวียงคอยล่าง และหมู่ 7 บ้านเวียงคอยบน จัดตั้งเป็น ตำบลเวียงคอย[4] อีกครั้ง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองท้องที่[แก้]

ตำบลเวียงคอยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 3 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ 1 บ้านเวียงคอยล่าง (Ban Wiang Khoi Lang) หมู่ 6 (เดิม) โอนมาจากตำบลไร่ส้ม
หมู่ 2 บ้านเวียงคอยบน (Ban Wiang Khoi Bon) หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลไร่ส้ม
หมู่ 3 บ้านดอนโตนดพัฒนา (Ban Don Tanot Phatthana) -

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่ตำบลเวียงคอยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลไร่ส้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงคอยทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลเวียงคอย ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2517[5] และในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547 สภาตำบลเวียงคอยได้ยุบรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลไร่ส้ม[6] เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตตำบลเวียงคอย อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดที่ดิน (ทุ่งบ้านต้นมะพร้าว ตำบลต้นมะพร้าว, ทุ่งบ้านคลองกระแชง ตำบลคลองกระแชง, ทุ่งบ้านเวียงคอย ตำบลเวียงคอย, ทุ่งบ้านนาวุ้ง ตำบลนาวุ้ง อำเภอคลองกระแชง จังเพชรบุรี)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35 (0 ง): 582–583. วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2461
  3. "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลราชบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 384. วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2465
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 1–3. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547