ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลนาวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลนาวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Na Wong
ประเทศไทย
จังหวัดตรัง
อำเภอห้วยยอด
ประชากร
 (2542)
 • ทั้งหมด4,937 คน
รหัสไปรษณีย์ 92210
รหัสภูมิศาสตร์920616
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลนาวง เป็นตำบลหนึ่งในจังหวัดตรัง เดิมเคยเป็นทุ่งนาที่ใช้เป็นสถานที่ฌาปนสถานเรียกว่า เปรวโคกแซะ ต่อมามีคณะกลุ่มบริษัทวัดมาจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นมาเรียกว่า วัดนาวง ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ทรงยกฐานะระดับหมู่บ้านเป็นระดับตำบลมีชื่อว่า ตำบลนาปยา หลังจากนั้นทางราชการก็จัดรวมพื้นที่ของตำบลนาวงรวมกับตำบลบางกุ้งเพื่อให้จัดระบบการปกครองได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นการปกครองก็ไม่สะดวกจึงได้จัดแยกสองตำบลนี้ออกจากกันอีกครั้ง มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อ้างอิงว่าพื้นที่นี้เคยเป็นชุมชนที่เก่าแก่ของจังหวัดตรัง โดยมีการพบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เขาปินะ[1] ในปัจจุบันตำบลนาวงมีความเจริญรุ่งเรืองมากอันเนื่องมาจากสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ การจารจรสี่ช่องทางจารจรที่สะดวกโดยมีถนนเพชรเกษมตัดผ่าน

ตำบลนาวงในสมัยยังปกครองด้วยสุขาภิบาลนาวงนั้น เคยได้รับการเสนอให้เป็นอำเภอนาวง เพราะในสมัยนั้นการปกครองยังเข้าไม่ทั่วถึง แต่ในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งอำเภอขึ้นมาแทนโดยชื่อว่าอำเภอห้วยยอด[2]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ตำบลนาวงเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอห้วยยอด มีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบางดี (อำเภอห้วยยอด)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลท่าสะบ้า และ ตำบลเขาวิเศษ (อำเภอวังวิเศษ)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำตรัง และ ตำบลเขากอบ (อำเภอห้วยยอด)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเขาวิเศษ (อำเภอวังวิเศษ) และ ตำบลบางกุ้ง (อำเภอห้วยยอด)

ภูมิประเทศ

[แก้]

ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ คลองบางกุ้ง และ แม่น้ำตรัง

ภูมิอากาศ

[แก้]

พื้นที่ของตำบลนาวงได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยฝนจะเริ่มตกประมาณเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งจะเป็นการเข้าสู่ฤดูฝน และ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เดือนมิถุนายน เป็นการเข้าสู่ฤดูร้อน

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ตำบลนาวงประกอบด้วย 11 หมู่บ้าน ดังต่อไปนี้

  • หมู่ที่ 1 บ้านหนองหมอ
  • หมู่ที่ 2 บ้านไสบ่อ
  • หมู่ที่ 3 บ้านหนองยาฝ้าย
  • หมู่ที่ 4 บ้านหัวควน
  • หมู่ที่ 5 บ้านท้ายทุ่ง
  • หมู่ที่ 6 บ้านป่ากอ
  • หมู่ที่ 7 บ้านเขาปินะ
  • หมู่ที่ 8 บ้านหนองเนียงแตก
  • หมู่ที่ 9 บ้านสะพานนาคบุตร
  • หมู่ที่ 10 บ้านควนขี้เสียด
  • หมู่ที่ 11 บ้านหนองหนักทอง

หมายเหตุ หมู่ที่ 1, 2, 5, 6, 8, 10 และ 11 อยู่ในการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลนาวงหมู่ที่ 3, 4, 7 และ 9 อยู่ในการบริหารของเทศบาลตำบลนาวง

ประชากร

[แก้]

ประชากรในตำบลนาวงมี 1,246 ครัวเรือน และ มีจำนวนประชากร 4,937 คน

เศรษฐกิจ

[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการทำเกษตร เช่น สวนยางพารา สวนปาล์ม ทำนา ปลูกผักผลไม้ ฯลฯ และยังมีประชากรบางส่วนประกอบอาชีพค้าขายหรือรับจ้างทั่วไป เช่น ขายอาหาร ขายสินค้าวัสดุก่อสร้าง ขายสินค้าของชำ ขายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (ผ้าทอไสบ่อ) และทำธุรกิจส่วนตัว

ธนาคาร

[แก้]
  1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขา นาวง

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

[แก้]

ธรรมชาติ

[แก้]
ลักษณะภายในถ้ำเขาปินะ

ถ้ำเขาปินะ

[แก้]

ภายในเป็นถ้ำที่มีวัดตั้งอยู่ สามารถเข้าไปทาง สามแยกเขาปินะ ซึ่งมีป้ายบอกทางอยู่ และยังเป็นสถานที่ค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ[3]

สวนสาธารณะเขาโพธิ์โทน

[แก้]

มีลักษณะเป็นสระน้ำล้อมรอบภูเขาเป็นสถานที่ที่ใช้ออกกำลังกาย หรือ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

ทะเลสองห้อง

[แก้]

เป็นแอ่งน้ำธรรมชาติ กว้างใหญ่คล้ายทะเลสาบ มีเนินเขาล้อมรอบ ตอนกลางมีเนินเขายื่นออกมา อยู่ไม่ไกลจากตำบลนาวงมากนัก โดยสามารถไปเยื่อมชมความงามได้ มีทางเข้าอยู่ตรงบริเวณสี่แยกต้นโพธิ์

ตลาดนัด

[แก้]

ตลาดนัดนาวง

[แก้]

ตลาดนัดนาวงเป็นตลาดที่ขายทั้งอาหารสด/อาหารคาว โดยจะเปิดในช่วงวัน อาทิตย์ - อังคาร - ศุกร์ โดยเฉพาะในวันศุกร์ตลาดจะเต็มไปด้วยผู้คนที่คับคั่ง และ ยังเปิดตลาดในตอนเช้ามืด

ตลาดนัดต้นโพธิ์

[แก้]

ตลาดนัดต้นโพธิ์เป็นตลาดนัดอีกแห่หนึ่งในตำบลนาวง ขายทั้งอาหารสด/อาหารคาว โดยจะเปิดในช่วงวัน จันทร์ - พุธ - พฤหัสบดี - เสาร์ เป็นตลาดที่มีผู้คนไปจับจ่ายซื้อของจำนวนมากที่สุดของตำบลอันเนื่องมาจากตลาดได้มีการปรับพื้นทำให้ตลาดมีเนื้อที่มากขึ้น

วัด

[แก้]

วัดนาวง

[แก้]

เป็นวัดที่มีผู้คนในชุมชนมาปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาเป็นประจำ เป็นวัดอยู่ใกล้ชุมชนมากที่สุด ด้านหลังของวัดติดกับ โรงเรียนวัดนาวง

วัดหูแกง

[แก้]

เป็นวัดที่อยู่ริมเขา เป็นแหล่งปฏิบัติธรรมที่มีผู้คนไปจำนวนมาก เนื่องจากรอบๆวัดมีอากาศเย็น ร่มรื่น และกำลังได้รับความสนใจอยู่ไม่น้อย

วัดเขาปินะ

[แก้]

เป็นวัดที่อยู่บริเวณเดียวกับถ้ำเขาปินะ เป็นวัดหนึ่งที่มีการค้นพบโบราณสถานที่สำคัญ

วัดสวน

[แก้]

อยู่ไม่ไกลจากตัวชุมชนมากนัก ในปัจจุบันวัดสวนได้มีการพัฒนาจนเป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในชุมชน

วัดไตรสามัคคี

[แก้]

ตั้งอยู่ในชุมชนต้นโพธิ์ สามารถเข้าไปสักการะพระพุทธรูปที่อยู่ในวัดได้ และ ยังมีโรงเรียนวัดไตรสามัคคีที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=3272[ลิงก์เสีย]
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-02-21. สืบค้นเมื่อ 2011-11-26.
  3. http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/225443.html[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]