ข้ามไปเนื้อหา

ตริโปลี

พิกัด: 32°53′14″N 13°11′29″E / 32.88722°N 13.19139°E / 32.88722; 13.19139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตริโปลี

طرابلس
Tripoli Night
Tripoli Central Business District
Marcus Aurelius Arch
City Street
Beach Park
Green Square
Tripoli National Museum
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน : ทิวทัศนียภาพของตริโปลี, ย่านศูนย์กลางธุรกิจตริโปลี, ประตูชัยมาร์กุส เอาเรลิอุส, ถนนสายหนึ่งในตริโปลี, สวนชายหาดตริโปลี, จัตุรัสผู้พลีชีพ, พิพิธภัณฑ์ปราสาทแดง
ธงของตริโปลี
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของตริโปลี
ตรา
ตริโปลีตั้งอยู่ในประเทศลิเบีย
ตริโปลี
ตริโปลี
ที่ตั้งในประเทศลิเบียและทวีปแอฟริกา
ตริโปลีตั้งอยู่ในแอฟริกา
ตริโปลี
ตริโปลี
ตริโปลี (แอฟริกา)
พิกัด: 32°53′14″N 13°11′29″E / 32.88722°N 13.19139°E / 32.88722; 13.19139
ภูมิภาคตริโปลิเตเนีย
เขตเขตตริโปลี
ตั้งถิ่นฐานครั้งแรกศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช
ผู้ก่อตั้งฟินิเชีย
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีอิบราฮิม คาลิฟี
 • องค์กรปกครองสภาท้องถิ่นตริโปลี
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,507 ตร.กม. (582 ตร.ไมล์)
ความสูง81 เมตร (266 ฟุต)
ประชากร
 (2019)
 • ทั้งหมด3,072,000[1] คน
 • ความหนาแน่น2,912 คน/ตร.กม. (7,540 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
รหัสพื้นที่21
ป้ายทะเบียนรถยนต์ของลิเบีย5
เว็บไซต์tlc.gov.ly

ตริโปลี (อังกฤษ: Tripoli; อาหรับ: طرابلس / Ṭarābulus, ฟังเสียง; ภาษาอาหรับลิเบีย: Ṭrābləs ฟังเสียง; ภาษาเบอร์เบอร์: Ṭrables; มาจากกรีกโบราณ: Τρίπολις / Trípolis "สามเมือง") เป็นเมืองใหญ่ที่สุดและเมืองหลวงของประเทศลิเบีย บางครั้งเรียกว่า "ตริโปลีตะวันตก" (อาหรับ: طرابلس الغرب / Ṭarābulus al Gharb) เพื่อให้ต่างจากตริโปลีในประเทศเลบานอน

ตริโปลีมีประชากร 1,065,405 คน (พ.ศ. 2549) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ที่ขอบของทะเลทราย เป็นส่วนของแผ่นดินที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตรงบริเวณที่เป็นอ่าว ชาวฟินิเชียก่อตั้งเมืองตริโปลีขึ้นเมื่อ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยตั้งชื่อว่า "Oyat"[2] ตริโปลีเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด มีท่าเรือ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยลิเบีย เนื่องจากเป็นเมืองที่มีประวัติยาวนาน จึงมีแหล่งโบราณคดีในเมืองมากมาย มีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน คือ อากาศร้อน ฤดูร้อนแล้ง ฤดูหนาวฝนตก

เศรษฐกิจ

[แก้]

ตริโปลีเป็นหนึ่งในศูนย์กลางหลักของเศรษฐกิจของลิเบียร่วมกับมิศรอตะฮ์ เป็นศูนย์กลางการธนาคาร การเงิน และการสื่อสารชั้นนำในประเทศ และเป็นหนึ่งในเมืองการค้าและการผลิตชั้นนำในลิเบีย บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศหลายบริษัทรวมทั้งบริษัทข้ามชาติส่วนใหญ่ตั้งสำนักงานใหญ่และสำนักงานกึ่งที่พักในตริโปลี

ย่านธุรกิจในตริโปลี

ผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ อาหารแปรรูป สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ยาสูบ นับตั้งแต่การยกเลิกการคว่ำบาตรลิเบียใน พ.ศ. 2542 และอีกครั้งใน พ.ศ. 2546 มีการลงทุนจากต่างประเทศและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในตริโปลี และการจราจรมีความหนาแน่นขึ้นบริเวณท่าเรือของเมืองและสนามบินนานาชาติตริโปลีซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติหลักของลิเบีย[3]

ตริโปลีเป็นที่ตั้งของพื้นที่จัดงานแสดงสินค้านานาชาติตริโปลีซึ่งเป็นนิทรรศการอุตสาหกรรม การเกษตร และการค้าระดับนานาชาติ ตั้งอยู่ที่ถนนอุมัร อัลมุคตาร งานแสดงสินค้านี้หนึ่งในสมาชิกของสมาคมอุตสาหกรรมนิทรรศการระดับโลกซึ่งตั้งอยู่ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส งานแสดงสินค้านานาชาตินี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2–12 เมษายนของทุกปี โดยเฉลี่ยมีผู้เข้าร่วมงานจากประมาณ 30 ประเทศ และจากบริษัทและองค์กรมากกว่า 2,000 แห่ง

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของตริโปลี (1961–1990, 1944–1993)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 32.2
(90)
35.3
(95.5)
40.0
(104)
42.2
(108)
45.6
(114.1)
47.8
(118)
48.3
(118.9)
48.3
(118.9)
47.2
(117)
42.2
(108)
37.2
(99)
31.1
(88)
48.3
(118.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.4
(61.5)
18.5
(65.3)
20.7
(69.3)
23.7
(74.7)
27.1
(80.8)
30.4
(86.7)
31.7
(89.1)
32.6
(90.7)
31.0
(87.8)
26.5
(79.7)
23.0
(73.4)
18.7
(65.7)
25.03
(77.05)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 12.7
(54.9)
13.9
(57)
15.3
(59.5)
18.7
(65.7)
21.9
(71.4)
25.3
(77.5)
26.7
(80.1)
27.7
(81.9)
26.2
(79.2)
21.5
(70.7)
16.8
(62.2)
13.9
(57)
20.05
(68.09)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 8.0
(46.4)
9.1
(48.4)
10.5
(50.9)
13.7
(56.7)
16.7
(62.1)
20.1
(68.2)
21.7
(71.1)
22.7
(72.9)
21.4
(70.5)
17.6
(63.7)
12.5
(54.5)
9.3
(48.7)
15.28
(59.5)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -0.6
(30.9)
-0.6
(30.9)
0.6
(33.1)
2.8
(37)
5.0
(41)
10.0
(50)
12.2
(54)
13.9
(57)
11.8
(53.2)
6.6
(43.9)
1.1
(34)
-1.3
(29.7)
−1.3
(29.7)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 62.1
(2.445)
32.2
(1.268)
29.6
(1.165)
14.3
(0.563)
4.6
(0.181)
1.3
(0.051)
0.7
(0.028)
0.1
(0.004)
16.7
(0.657)
46.6
(1.835)
58.2
(2.291)
67.5
(2.657)
333.9
(13.146)
ความชื้นร้อยละ 66 61 58 55 53 49 49 51 57 60 61 65 57
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 9.4 6.4 5.8 3.3 1.5 0.6 0.2 0.0 2.3 6.8 6.9 9.1 57.4
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 170.5 189.3 226.3 255.0 306.9 297.0 356.5 337.9 258.0 226.3 186.0 164.3 2,974
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization[4]
แหล่งที่มา 2: Deutscher Wetterdienst (extremes and humidity),[5] Arab Meteorology Book (sun only)[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Major Urban Areas – Population". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2019.
  2. Hopkins, Daniel J (1997). Merriam-Webster's Geographical Dictionary (Index). Merriam-Webster. ISBN 0-8777-9546-0.
  3. "Tripoli Economy, Economy of Tripoli, Tripoli Industries, Tripoli Informations :: Traveltill.com". Traveltill.
  4. "World Weather Information Service – Tripoli". World Meteorological Organization. May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-13. สืบค้นเมื่อ 13 April 2013.
  5. "Klimatafel von Tripolis (Flugh.) / Libyen" (PDF). Baseline climate means (1961–1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst. สืบค้นเมื่อ 28 March 2016.
  6. "Appendix I: Meteorological Data" (PDF). Springer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 27 March 2016.