ฒากาโฏปี
ฒากาโฏปี (เนปาล: ढाका टोपी, ออกเสียง [ɖʱaka ʈopi]) หรือ โฏปีเนปาล เป็นหมวกพื้นถิ่นซึ่งเป็นที่นิยมของประเทศเนปาล ส่วนหนึ่งของเครื่องแต่งกายประจำชาติเนปาล สวมใส่โดยผู้ชาย คำส่า ฒากาโฏปี มีความหมายตรงตัวว่า "เครื่องสวมศีรษะอันทำมาจากผ้าธากา" ผ้าธากาเป็นผ้าฝ้ายชั้นดีที่นำเข้ามาจากธากาซึ่งในปัจจุบันคือเมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ[1][2][3]
ฒากาโฏปีเป็นส่วนประกอบหนึ่งของชุดประจำชาติเนปาล และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาติเนปาล[2][3][4]
ประวัติศาสตร์
[แก้]หมวกนี้กลายมาเป็นที่นิยมในรัชสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดีมเหนทระซึ่งครองราชย์ระหว่างปี 1955 ถึง 1972 และประกาศบังคับให้สวมฒากาโฏปีในภาพถ่ายสำหรับทำหนังสือเดินทางและเอกสารทางการทั้งหมด[5] ฒากาโฏปีนิยมนำมามอบให้กันในระหว่างเทศกาลดาเชนและติหาร์[6] เจ้าหน้าที่ของรัฐยังสวมใส่ฒากาโฏปีในฐานะเครื่องแต่งกายประจำชาติ[7] ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดีมเหนทระ มีจุดเปิดให้เช่าฒากาโฏปีใกล้กับสิงหดูร์บาร์ในกาฐมาณฑุ[5] สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐในกาฐมาณฑุและชาวเนปาลที่เดินทางเข้าในพระราชวังของเนปาล จะต้องติดตรากูกรีบนหมวกนี้ด้วย[8]
ตำนานที่เป็นที่นิยมที่สุดว่าด้วยที่มาของการถักทอผ้าธากาเชื่อว่ามาจาก คเณศ มาน มหรรชน (Ganesh Man Maharjan) คนงานของโรงงานชัมทนี (Jamdani factory) ในทศวรรษ 1950 เขามีแรงบันดาลใจที่จะเรียนการทอผ้าธากาหลังเขาสังเกตเห็นทัมพร กุมารี (Dambar Kumari) ลูกสาวของศรี ตีน ชุงคะ บะหาดูร รานา (Shree Teen Junga Bahadur Rana) สวมเสื้อผ้าธากาที่นำกลับมาจากพนารัส หลังเดินทางกลับมาบ้านเกิด เขาและภรรยา ปัลปา (Palpa) ได้ตั้งโรงงานผลิตผ้าธากาขึ้นในปี 1957 โดยมีเพียงหลอดม้วนสายและจักรทำมือเพียงอย่างละชิ้น ที่เขาซื้อมาจากกาฐมาณฑุ เขาได้สอนคนท้องถิ่นทอผ้า และกิจการของเขาก็ได้เติบโตสืบเนื่องมา[5][9] หลังรัฐบาลของจักรวรรดิชาห์แสดงให้เห็นถึงความสนใจในผ้าธากาและโฏปี จึงเกิดอุตสาหกรรมทอผ้าธากาขึ้นมากมาย ภายในต้นทศวรรษ 1970 โรงงานของเขาซึ่งชื่อสวเทศี วัสตรกละ ปัลปาลี ฒากา อุธโยค (Swadeshi Vastrakala Palpali Dhaka Udhyog) ได้เติบโตขึ้นจนมีคนงานถึง 350 คน[5]
ความสำคัญ
[แก้]แม้ในปัจจุบันผู้คนในเนปาลจะไม่ได้สวมใส่ฒากาโฏปีเป็นประจำเช่นในอดีต แต่หมวกนี้ยังคงสถานะส่วนหนึ่งของความเป็นชาติเนปาล[10] และยังคงสวมใส่เมื่อชาวเนปาลเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรม[8]
ผ้าธากามีส่วนสำคัญในพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวเนปาล เช่นงานมงคลสมรส และพิธีศพ สำหรับชนเผ่าต่าง ๆ ในหุบเขาของเนปาล[10] และอุปทานของฒากาโฏปีถือว่ามีมากเกินกว่าที่อุตสาหกรรมผลิตมือจะรับไหว[4] นักข่าวและผู้ชำนาญด้านวัฒนธรรม เตเชศวร บาบู โกนกาห์ (Tejeswar Babu Gongah) ระบุว่าโฏปี "ที่มีฐานกลม สูง 3-4 นิ้ว" บ่งบอกถือเทือกเขาหิมาลัย และว่ากันว่า "ฒากาโฏปีนี้เป็นสื่อที่แสดงถึงภูเขาที่มีน้ำแข็งละลายแล้ว น้ำแข็งที่ละลายทำให้พืชพันธุ์ต่าง ๆ และดอกไม้สีสันสดใสสามารถเติบโตได้ในภูมิภาคตอนลุ่มของภูเขา"[11]
ชาวเนปาลยังจัดให้มีวันโฏปีขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม เพื่อช่วยคงให้ธรรมเนียมนี้คงอยู่ ในวันดังกล่าว ชาวเนปาล, ชาวมเธศ และชาวฐารู จะสวมผ้าโฒฏี ส่วนคนเนปาลจะสวมฒากาโฏปีและภัณเฑาเลโฏปี[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Roy, Barun (2012). Gorkhas and Gorkhaland. Barun Roy. p. 188. ISBN 9789810786465.
- ↑ 2.0 2.1 Wicks, Len (2014). Discovery: A Story of Human Courage and Our Beginnings. BookBaby. ISBN 9781483532967.
- ↑ 3.0 3.1 Ojha, Ek Raj; Weber, Karl E. (1993). Production Credit for Rural Women. Division of Human Settlements Development, Asian Institute of Technology. p. XXX. ISBN 9789748209715.
- ↑ 4.0 4.1 Kasajū, Vinaya Kumāra (1988). Palpa, as You Like it. Kathmandu: Kumar Press. p. 96.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Amendra Pokharel,"Dented Pride: The Story of Daura Suruwal and Dhaka Topi", ECS Nepal, 11 July 2010
- ↑ Sales of Dhaka items soar in Palpa district. Madhav Aryal, PALPA
- ↑ "Nepali Dhaka topi: About Nepal and Nepali Language". www.nepalabout.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2016.
- ↑ 8.0 8.1 Subba, Tanka Bahadur (1992). Ethnicity, state, and development. Har-Anand Publications in association with Vikas Pub. p. 239.
- ↑ Nirmal Shrestha, "Palpali Dhaka", ECS Nepal, 6 May 2016
- ↑ 10.0 10.1 Muzzini, Elisa; Aparicio, Gabriela (2013). Urban Growth and Spatial Transition in Nepal. World Bank Publications. p. 113. ISBN 9780821396612.
- ↑ Himalayan News Service (27 August 2016). "Dhaka topi losing appeal among younger Nepalis". The Himalayan Times. Kathmandu: International Media Network Nepal.
- ↑ "People Who wears Dhoti in Nepal : The State Daily". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 May 2018.