ซีแนปซิด
สัตว์จำพวกซีแนปซิด ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: เพนซิลเวเนียน–สมัยโฮโลซีน, 312–0 Ma | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้นใหญ่: | สัตว์สี่เท้า Tetrapoda |
เคลด: | เรปทิลิโอมอร์ฟา Reptiliomorpha |
เคลด: | แอมนิโอตา Amniota |
เคลด: | ซีแนปซิดา Synapsida ออสบอร์น, 1903 |
กลุ่มย่อย | |
ชื่อพ้อง | |
เธอรอปซิดา ซีลีย์, 1895[1] |
ซีแนปซิด (อังกฤษ: Synapsids) เป็นกลุ่มของสัตว์ที่รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและสัตว์อื่นทุกชนิดที่ใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมากกว่าสมาชิกอื่นในเคลดแอมนิโอตาอย่างสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก[2] สัตว์จำพวกซีแนปซิดสามารถจำแนกออกจากแอมนิโอตอื่นได้โดยง่ายด้วยการมีช่องเปิดของกระดูกขมับ ซึ่งเป็นช่องเปิดใต้เพดานกะโหลกศีรษะด้านหลังดวงตาแต่ละข้าง และเหลือแต่โค้งกระดูกอยู่ข้างใต้ของช่องเปิดเหล่านั้น เอกลักษณ์ดังกล่าวเป็นที่มาของชื่อเคลด[3] ซีแนปซิดเริ่มแรกนั้นมักเรียกกันว่าเป็นพีลีโคซอร์หรือไซแนปซิดเกรดพีลีโคซอร์ คำไม่เป็นทางการนี้ประกอบด้วยไซแนปซิดทั้งหมดที่ไม่เป็นเธอแรปซิด ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวของสัตว์คล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่พัฒนามากกว่า ไซแนปซิดที่ไม่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมได้รับการบรรยายว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในระบบการจำแนกชั้นดั้งเดิม แต่ไม่มีการใช้ศัพท์ที่อาจทำให้เข้าใจผิดดังกล่าวแล้ว[4][5] ปัจจุบันซีแนปซิดหมายถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมต้นกำเนิดหรือโพรโต-แมเมิล[6] ซีแนปซิดวิวัฒนาการมาจากสัตว์ฐานจำพวกแอมนิโอต และเป็นหนึ่งในสองเคลดหลักของแอมนิโอต อีกเคลดหนึ่ง คือ ซอรอปซิดา ซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์จำพวกสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก ช่องเปิดของกระดูกขมับที่เป็นเอกลักษณ์พัฒนาขึ้นในบรรพบุรุษของไซแนปซิด ประมาณ 312 ล้านปีก่อน ช่วงปลายยุคคาร์บอนิเฟอรัส
ซีแนปซิดเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังบนบกขนาดใหญ่ที่สุดในยุคเพอร์เมียน 299 ถึง 251 ล้านปีก่อน แม้ว่าช่วงสิ้นสุดยุคเพอร์เมียนจะมีแพเรอาซอร์ขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งที่มีขนาดใกล้เคียงก็ตาม จำนวนและความหลากหลายของซีแนปซิดถูกลดลงไปอย่างมากโดยเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียน–ไทรแอสซิก ในช่วงเวลาการเกิดเหตุการณ์สูญพันธุ์ดังกล่าว ซีแนปซิดรูปร่างเก่าทั้งหมด (คือพีลีโคซอร์) สูญพันธุ์ไปแล้ว แทนที่ด้วยสัตว์จำพวกเธอแรปซิดที่พัฒนามากกว่า แม้ว่าไดซีโนดอนต์และยูเธอริโอดอนต์ ซึ่งสัตว์กลุ่มหลังประกอบไปด้วยยูเธอโรเซฟาเลีย (เธอโรเซฟาเลีย) และอีพิซีโนดอนเทีย (ซีโนดอนเทีย) จะมีชีวิตอยู่ในยุคไทรแอสซิกในฐานะเธอแรปซิดที่เหลืออยู่เป็นกลุ่มสุดท้าย อาร์โคซอร์กลายเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังบนบกขนาดใหญ่ที่สุดและมีจำนวนมากที่สุดในยุคนี้ แต่ก็ยังมีซีแนปซิดขนาดใหญ่เหลืออยู่จำนวนหนึ่งอย่าง Lisowicia bojani ค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 โดยมีขนาดเท่าช้าง โพรไบโนเนเธีย ซึ่งรวมถึงเมอเมเลียฟอร์มิส เป็นซีแนปซิดกลุ่มสุดท้ายที่มีชีวิตรอดพ้นยุคไทรแอสซิก[7] หลังเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลิโอจีน ไซแนปซิดที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมก็มีความหลากหลายมากขึ้นอีกครั้งจนกลายเป็นสัตว์บกและสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดบนโลก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Seeley, Harry Govier (1895). "Researches on the Structure, Organisation, and Classification of the Fossil Reptilia. Part X. On the Complete Skeleton of an Anomodont Reptile (Aristodesmus rutimeyeri, Wiedersheim), from the Bunter Sandstone of Reihen, near Basel, Giving New Evidence of the Relation of the Anomodontia to the Monotremata" (PDF). Proceedings of the Royal Society of London. 59: 167–169. doi:10.1098/rspl.1895.0070.
- ↑ Laurin, Michel, and Robert R. Reisz: Synapsida: Mammals and their extinct relatives เก็บถาวร 2012-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Version 14, 2011. In: The Tree of Life Web Project.
- ↑ Romer, A.S. & Parsons, T.S. (1985): The Vertebrate Body. (6th ed.) Saunders, Philadelphia.
- ↑ Carroll, Robert L. (1988). Vertebrate Paleontology and Evolution. New York: W.H. Freeman & Co. ISBN 0-7167-1822-7. p. 397.
- ↑ Benton, Michael J. (2005). Vertebrate Palaeontology, 3rd ed. Oxford: Blackwell Science Ltd. ISBN 0-632-05637-1. p. 122.
- ↑ "New proto-mammal fossil sheds light on evolution of earliest mammals". University of Chicago. August 7, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-04. สืบค้นเมื่อ 2020-01-31.
- ↑ "Greatest mass extinction responsible for the making of modern mammals". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-28. สืบค้นเมื่อ 2020-01-31.