ซาโดะ

พิกัด: 38°01′06″N 138°22′06″E / 38.01833°N 138.36833°E / 38.01833; 138.36833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซาโดะ

佐渡市
ท่าเรือเรียวสึ
ท่าเรือเรียวสึ
ธงของซาโดะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของซาโดะ
ตรา
ที่ตั้งของซาโดะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดนีงาตะ
ที่ตั้งของซาโดะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดนีงาตะ
แผนที่
ซาโดะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ซาโดะ
ซาโดะ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัด: 38°01′06″N 138°22′06″E / 38.01833°N 138.36833°E / 38.01833; 138.36833
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคชูบุ, โคชิงเอ็ตสึ, โฮกูริกุ
จังหวัด นีงาตะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีรีวโงะ วาตานาเบะ (渡辺 竜五)
พื้นที่
 • ทั้งหมด855.69 ตร.กม. (330.38 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 เมษายน ค.ศ. 2023)[1]
 • ทั้งหมด48,169 คน
 • ความหนาแน่น56.3 คน/ตร.กม. (146 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
รหัสท้องถิ่น15224-2
ที่อยู่ศาลาว่าการ232 Chigusa, Sado-shi, Niigata-ken
เว็บไซต์www.city.sado.niigata.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกนกช้อนหอยหงอน
สัตว์น้ำปลาหางเหลือง
ดอกไม้เดย์ลิลี
ต้นไม้Thujopsis

ซาโดะ (ญี่ปุ่น: 佐渡市โรมาจิSado-shi) หรือ เกาะซาโดะ เป็นนครในจังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนเกาะนอกชายฝั่งทางตะวันตกของจังหวัด ในอดีตเกาะแห่งนี้มีสถานะเป็นจังหวัดชื่อว่า จังหวัดไอกาวะ ก่อนที่ใน ค.ศ. 1876 จะถูกยุบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนีงาตะ เทศบาลนครนี้มีอาณาเขตครอบคลุมทั่วทั้งเกาะ เกาะซาโดะถือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของญี่ปุ่นรองจาก 4 เกาะหลักและเกาะโอกินาวะ บนเกาะแห่งนี้มีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาในยุคโจมง และตามพงศาวดาร นิฮนโชกิ ระบุว่าชาวมิชิฮาเซะมายังเกาะนี้ใน ค.ศ. 544

ประวัติ[แก้]

ในศตวรรษที่ 8 เมื่อการเมืองการปกครองบนเกาะหลักเริ่มเป็นระเบียบและเรียบร้อย เกาะที่ไม่สามารถเข้าถึงได้จึงถูกใช้เป็นดินแดนสำหรับการเนรเทศ การถูกเนรเทศมายังเกาะซาโดะเป็นโทษที่ร้ายแรงมากรองจากโทษประหารชีวิต บุคคลแรก ๆ ที่ถูกเนรเทศมายังเกาะนี้คือ โฮซูมิ โนะ อาโซมิ โอยุ (ญี่ปุ่น: 穂積朝臣老โรมาจิHozumi no Asomi Oyu) ซึ่งต้องโทษจากการวิพากษ์วิจารณ์องค์จักรพรรดิ นอกจากนี้ อดีตจักรพรรดิจุนโตกุยังทรงถูกเนรเทศมายังเกาะนี้หลังพ่ายแพ้ในสงครามโจกีวใน ค.ศ. 1221 อดีตจักรพรรดิประทับอยู่บนเกาะนี้ได้ 20 ปีจึงเสด็จสวรรคต

เศรษฐกิจของเกาะซาโดะบูมขึ้นอย่างมากในยุคเอโดะจากการค้นพบแร่ทองคำใน ค.ศ. 1601 ทองคำจากเกาะซาโดะถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลเอโดะ การขาดแคลนแรงงานเหมืองในศตวรรษที่ 18 ทำให้เกิดคลื่นการอพยพครั้งที่สองมายังเกาะแห่งนี้ และการอพยพครั้งนี้เป็นไปโดยความสมัครใจหาใช่การลงโทษเช่นในอดีต คนที่อพยพมายังเกาะนี้ส่วนใหญ่เป็นคนไร้บ้าน รัฐบาลเอโดะคาดหวังว่าการอพยพครั้งนี้จะเกิดประโยชน์ถึงสามทาง คือทั้งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานเหมือง แก้ปัญหาคนไร้บ้าน และทำรายได้ให้รัฐบาลมากขึ้น เหมืองซาโดะสามารถผลิตทองคำได้สูงสุดถึงปีละ 400 กิโลกรัม และผลิตเงินในปริมาณพอ ๆ กัน เหมืองซาโดะยุติกิจการใน ค.ศ. 1989

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของหมู่บ้านไอกาวะ นครซาโดะ จังหวัดนีงาตะ
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 5.4
(41.7)
5.2
(41.4)
8.4
(47.1)
14.4
(57.9)
19.0
(66.2)
22.5
(72.5)
26.4
(79.5)
28.8
(83.8)
24.8
(76.6)
19.4
(66.9)
13.9
(57)
8.8
(47.8)
16.42
(61.55)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 2.9
(37.2)
2.7
(36.9)
5.2
(41.4)
10.5
(50.9)
15.0
(59)
18.9
(66)
23.2
(73.8)
25.1
(77.2)
21.1
(70)
15.6
(60.1)
10.6
(51.1)
6.0
(42.8)
13.07
(55.52)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 0.2
(32.4)
-0.1
(31.8)
1.8
(35.2)
6.5
(43.7)
11.0
(51.8)
15.5
(59.9)
20.2
(68.4)
21.9
(71.4)
17.8
(64)
12.0
(53.6)
7.1
(44.8)
3.1
(37.6)
9.75
(49.55)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 137.5
(5.413)
101.8
(4.008)
89.8
(3.535)
102.1
(4.02)
99.2
(3.906)
125.3
(4.933)
161.3
(6.35)
137.4
(5.409)
160.7
(6.327)
127.0
(5)
158.8
(6.252)
162.3
(6.39)
1,563.2
(61.543)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) 50
(19.7)
42
(16.5)
11
(4.3)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
1
(0.4)
18
(7.1)
122
(48)
ความชื้นร้อยละ 71 70 67 69 74 81 83 80 76 71 70 71 73.6
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 50.2 74.5 140.8 180.0 208.5 173.5 173.0 215.3 152.8 152.7 91.1 52.9 1,665.3
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "新潟県人口移動調査(推計人口および人口移動)" [การสำรวจการย้ายถิ่นประชากรจังหวัดนีงาตะ (จำนวนประชากรและการย้ายถิ่นของประชากรโดยประมาณ)]. จังหวัดนีงาตะ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-04-27.
  2. "Aikawa Climate Normals 1961-1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ December 30, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]