ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน
ประธานาธิบดีบังกลาเทศ (สมัยที่ 1)
ดำรงตำแหน่ง
11 เมษายน ค.ศ. 1971 – 12 มกราคม ค.ศ. 1972
นายกรัฐมนตรีตาจุดิน อาหมัด
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปนาซรุล อิสลาม (รักษาการ)
ประธานาธิบดีบังกลาเทศ (สมัยที่ 2)
ดำรงตำแหน่ง
25 มกราคม ค.ศ. 1975 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1975
นายกรัฐมนตรีมูฮัมมัด มันซูร์ อาลี
ก่อนหน้าโมฮัมหมัด โมฮัมหมัดดุลลาห์
ถัดไปคอนดาเกอร์ โมซตาส อาห์หมัด
นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ
ดำรงตำแหน่ง
12 มกราคม ค.ศ. 1972 – 24 มกราคม ค.ศ. 1975
ประธานาธิบดีอาบู ซายิด เชาว์ดูรีย์
โมฮัมหมัด โมฮัมหมัดดุลลาห์
ก่อนหน้าตาจุดิน อาหมัด
ถัดไปมูฮัมมัด มันซูร์ อาลี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 มีนาคม ค.ศ. 1920(1920-03-17)
ตุงจีปาลา, เขตปกครองเบงกอล, บริติชราช
(ปัจจุบันคือ บังคลาเทศ)
เสียชีวิต15 สิงหาคม ค.ศ. 1975(1975-08-15) (55 ปี)
ธากา, ประเทศบังคลาเทศ
เชื้อชาติบังคลาเทศ
ศาสนาอิสลาม
คู่สมรสชีค ฟาซิลลาตุลเนซา มูจิบ
บุตรชีค ฮาชีนา
ชีค รีฮานา
ชีค คามาล
ชีค จามาล
ชีค ราเซล
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธากา
ลายมือชื่อ

ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน (เบงกอล: শেখ মুজিবুর রহমান Shekh Mujibur Rôhman ปริวรรตตามอักษร: เศข มุชิพุร์ ระห์มาน ปริวรรตตามเสียง: เซค มุจิบุร์ โระห์มาน; 17 มีนาคม ค.ศ. 1920 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1975) เป็นผู้ก่อตั้งประเทศบังกลาเทศ เขาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีระหว่าง 17 เมษายน ค.ศ. 1971 จนถูกลอบสังหารในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1975[1] และยังเป็นผู้นำสันนิบาตอวามีอีกด้วย เขาเป็นที่รู้จักในนาม บังกลาบันธุ (เพื่อนของเบงกอล) และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำการปลดปล่อยบังกลาเทศ และยังถูกเปรียบเทียบกับบรรดาบิดาของชาติในยุคศตวรรษที่ 20 อีกหลายคน ชีค ฮาซีนา วาเจด เป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของบังกลาเทศ

ในฐานะผู้สนับสนุนลัทธิสังคมนิยม เราะห์มานไต่เต้าขึ้นจากตำแหน่งของสันนิบาตอวามีและกลุ่มการเมืองปากีสถานตะวันออก ในฐานะนักพูดที่มีพลังและมีความดึงดูดใจ เขาได้รับความนิยมจากการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อชนชาติเบงกอลในปากีสถาน ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของรัฐ ท่ามกลางความตึงเครียดอย่างหนัก เขาได้เรียกร้องเงื่อนไข 6 ประการ และถูกกักขังโดยระบอบของจอมพลอายุบ ข่าน ด้วยข้อหากบฏ เราะห์มานได้นำสันนิบาตอวามีชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปากีสถานในปี 1970 แม้จะได้เสียงข้างมาก แต่สันนิบาตอวามีกลับถูกกลุ่มรัฐบาลทหารของปากีสถานห้ามจัดตั้งรัฐบาล จากการละเมิดสิทธิพลเมืองของรัฐบาลทหาร ทำให้เกิดการต่อต้านทั่วปากีสถานตะวันออก เราะห์มานได้ประกาศให้ชาวบังกลาเทศต่อสู้เรียกร้องเอกราชระหว่างการปราศรัยในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1971 และในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1971 ทหารปากีสถานได้ตอบโต้การประท้วงด้วยการเปิดฉากปฏิบัติการส่องไฟ (Operation Searchlight; เบงกอล: অপারেশন সার্চলাইট) ซึ่งเราะห์มานได้ถูกจับและถูกขังเดี่ยวในปากีสถานตะวันตก ขณะที่พลเมือง,นักเรียน,ปัญญาชน,นักการเมืองและกลุ่มต่อต้านทหารได้ถูกสังหารเป็นจำนวนมาก หลังจากการปลดปล่อยบังกลาเทศแล้ว เราะห์มานได้ถูกปล่อยจากเรือนจำปากีสถานและกลับไปยังธากาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1972

เราะห์มานได้เป็นนายกรัฐมนตรีของบังกลาเทศภายใต้ระบอบรัฐสภาซึ่งได้ถูกสถาปนาขึ้นในประเทศใหม่นี้ รัฐบาลได้ร่างรัฐธรรมนูญที่ออกไปทางสังคมนิยมและประชาธิปไตยแบบโลกวิสัย สันนิบาตอวามีได้ชนะการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของประเทศในปี ค.ศ. 1973 อย่างไรก็ตาม เราะห์มานต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายของการว่างงานอย่างเกรียวกราด ความยากจน และการทุจริต ซึ่งความอดอยากในบังกลาเทศ ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1974 รัฐบาลของเขาถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเพิกเฉยต่อการรับรองสิทธิของชนกลุ่มน้อยและมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยกลุ่มทหาร โดยเฉพาะกลุ่มทหารอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมือง เราะห์มานได้ผลักดันระบบสังคมนิยมพรรคเดียวขึ้นมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1975 ซึ่ง 6 เดือนต่อมา เขาและครอบครัวได้ถูกลอบสังหารโดยกลุ่มทหารที่หักหลังเขาระหว่างการทำรัฐประหารและกฏอัยการศึกได้ถูกใช้ในภายหลัง

ในปี ค.ศ. 2004 บีบีซีภาษาเบงกอล ได้โหวตให้เราะห์มานเป็น "ชาวเบงกอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[2]

อ้างอิง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Who is Sheikh Mujibur Rahman, whose birth centenary Bangladesh is observing today". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 17 March 2020. สืบค้นเมื่อ 28 May 2020.
  2. "Listeners name 'greatest Bengali'". BBC. 14 April 2004. สืบค้นเมื่อ 16 April 2018.
    Habib, Haroon (17 April 2004). "International : Mujib, Tagore, Bose among 'greatest Bengalis of all time'". The Hindu.
    "Bangabandhu judged greatest Bangali of all time". The Daily Star. 16 April 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]