ชัยชน โลว์เจริญกูล
หน้าตา
ชัยชน โลว์เจริญกูล | |
---|---|
เกิด | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498 กรุงเทพมหานคร |
อาชีพ | อดีตแพทย์, นักวิจัย |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและโรคลมชัก |
บิดามารดา | นายอำพัน โลว์เจริญกูล (ถึงแก่กรรม) นางสมสุข โลว์เจริญกูล (ถึงแก่กรรม) |
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัยชน โลว์เจริญกูล[1] เป็นอดีตหัวหน้าสาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติ
[แก้]รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัยชน โลว์เจริญกูล เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นบุตรของนายอำพัน กับนางสมสุข โลว์เจริญกูล โดยบิดาทำงานบริษัท ส่วนมารดาเป็นแม่บ้าน โดยคุณตาของเขาอยู่ในตระกูลแซ่ "โค้ว" (许) อพยพมาจากประเทศจีน ทั้งยังเคยสอนภาษาไทยด้วย[2] โดยตาและบิดาของเขาชอบศิลปะและธรรมชาติ[2]
การศึกษา
[แก้]- อนุบาล โรงเรียนอนุบาลดวงถวิล
- ประถม-มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนรุจิเสรีวิทยา (รางวัลเรียนดี พ.ศ. ๒๕๑๑)
- มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 34 (ปี พ.ศ. 2514)[ลิงก์เสีย]
- แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 29 จบปี พ.ศ. 2522
- วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาอายุรศาสตร์ แพทยสภา
- วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาประสาทวิทยา แพทยสภา
- Certificate in Epilepsy Fellowship, Regional Epilepsy Center, มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา
- Invasive EEG training, Bethel Epilepsy Center, Bielefeld, Germany
การทำงาน
[แก้]- อดีตรองศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อดีตหัวหน้าสาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อดีตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน ประสาทวิทยา (Neurology) และโรคลมชัก (Epilepsy)
- ผู้ก่อตั้งโครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534
- อดีตผู้อำนวยการโครงการน้อมเกล้า (โครงการฝึกอาชีพสำหรับผู้ป่วยโรคลมชัก)
รางวัลและผลงานด้านวิชาการ
[แก้]- พ.ศ. 2517 : รางวัลมูลนิธิ ศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ สำหรับผู้ได้คะแนนสูงสุดวิชาชีววิทยา
- พ.ศ. 2522 : รางวัลจากดอกผลทุน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ยาใจ ณ สงขลา สำหรับนิสิตแพทย์ที่สอบได้คะแนนสูงสุดในรายวิชาอายุรศาสตร์
- พ.ศ. 2530-2531 : Faculty Grant for Academic Devoted Instructor
- Founder of the First Comprehensive Epilepsy Program in Thailand
- Pioneer in the Development of Epilepsy surgery in Thailand.
- First invasive EEG and cortical stimulation mapping in Thailand
- First VNS therapy in Thailand
- First Establishment of Comprehensive Epilepsy Center in Thailand (Chulalongkorn Comprehensive Epilepsy Program).1994
- First Development and Implementation of Medical Techniques for Epilepsy Surgery in Thailand (24-hour Video-EEG Monotoring, Invasive EEG Monotoring, Ictal SPECT, WADA Test, Cortical Stimulation Mapping, FDG-PET Scan, FDOPA-PET Scan, Advanced Epilepsy urgical Techniques, VAGAL NERVE Stimulation Therapy for Epilepsy (along with colleagues). 1997
- First Epilepsy Cure by Surgery in Thailand. 1997
- Campaign for Public Awareness on Social and Legal Aspects of Epilepsy in Thailand. 2005
- First Discovery in the World of the Association between Pharmacogenetics of HLA-B* 1502 and Severe Cutaneous Allergy from two Antiepileptic Drugs PHENYTOIN AND CARBAMAZEPINE) in Thai Epilepsy Patients. 2008
- รางวัลผลงานวิจัยประจำปี พ.ศ. 2553 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง "การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยีน HLA-B* 1502 กับการแพ้ยาแบบ Stevens-Johnson Syndrome จาก Carbamazepine และ Phenytoin ในชาวไทย" จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)[ลิงก์เสีย]
- ได้รับเข็มทองคำเกียรติคุณประจำปี พ.ศ. 2554 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[ลิงก์เสีย]
ผลงานด้านอื่น
[แก้]- ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดดนตรีนิสิตระหว่างคณะ เนื่องในวันครบรอบ ๖๐ ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๐ (วงโฟล์กซองประสานเสียงคณะแพทย์ศาสตร์)
- หัวหน้าวงดนตรีสากล สโมสรนิสิตคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วงดนตรี MDCU) (๒๕๑๘-๒๕๒๒)
- อาจารย์ที่ปรึกษา ชมรมดนตรีสากล สโมสรนิสิตแพทย์ ฝ่ายกิจการนิสิต คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๒๔-๒๕๒๗)
- ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดภาพถ่าย ในโครงการ"รักป่า รักน้ำ รักความสะอาด เมืองไทยงดงาม" (๒๕๓๒)
- ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดภาพถ่าย เนื่องในปีแห่งการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ (๒๕๓๒)
- นายแพทย์ชัยชน เขียนหนังสือเกี่ยวกับปรัชญา ธรรมชาติและการเดินทาง ใช้นามปากกาว่า ชัยชนม์[2] ตีพิมพ์ในนิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์ ดิฉัน
- หนังสือรวมบทกลอนเกี่ยวกับธรรมชาติชื่อ ไพรหม่น : บทกวีสะท้อนหัวใจของคนรักป่า ได้รับการคัดเลือกเป็นเล่มหนึ่งใน หนังสือดีวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม โดยคณะวิจัยหนังสือดีวิทยาศาสตร์ โดยการสนับสนุนด้านเงินทุนวิจัย จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เมื่อ [พ.ศ. ๒๕๔๔]
- หนังสือ "ไผ่ไหวชายน้ำ" บทประพันธ์สัจธรรมในธรรมชาติ ได้รับรางวัล ๑ ใน ๕๐๐ เล่ม หนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน (๒๕๔๕)
- หนังสือ "เพียงภาพฝัน" บทธรรมะจากพฤกษาวนาไพร ได้รับรางวัล "เซเว่นบุ๊ค อวอร์ด" ประเภทสารคดี (๒๕๔๗)
- หนังสือ "แดนเดียวในดวงใจ แผ่นดินไทยที่รัก" (In My Beloved Country) รวมภาพถ่ายธรรมชาติในประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา (๒๕๕๐)
- หนังสือ "คุณค่าที่ขาดหาย จากชีวิตที่หายขาด" เรื่องสั้นจากชีวิตจริงอันน่าประทับใจ ของผู้หายขาดจากโรคลมชักจากประสบการณ์ของแพทย์ผู้รักษา (๒๕๕๓)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2549 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ชัยชน โลว์เจริญกูล - ข้อมูลประชาคมวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-03-08.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 รศ.นพ.ชัยชน โลว์เจริญกูล ผู้มีธรรมะดังลมหายใจ เรื่องโดย อุษาวดี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๖, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๔๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑๔๘, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- http://www.car.chula.ac.th/cop/profile/Chaichon.L/ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- อุปสมบทในบวรพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2554 และได้รับฉายาว่า "พระอตฺถโกสโล" โดยได้ปฏิบัติธรรมกรรมฐานสายพระป่า
- 30 ธันวาคม 2556 สอบประโยค นักธรรมชั้น ตรี ได้ (นค ๖๑๕๖/๐๐๕๕ พรรษา 2 สังกัดวัดป่าแก้งใหม่) http://dplwifi.net/~upload/GongthamDVD/gongthamdvd2556/2556_nt_d_tri/2556_nt_d_tri_20.htm[ลิงก์เสีย]
- 30 ธันวาคม 2557 สอบประโยค นักธรรมชั้น โท ได้ (นค ๖๒๕๗/๐๐๑๔ พรรษา 3 สังกัดวัดป่าแก้งใหม่)
- 30 ธันวาคม 2558 สอบประโยค นักธรรมชั้น เอก ได้ (นค ๖๓๕๘/๐๐๐๘ พรรษา 4 สังกัดวัดป่าแก้งใหม่) https://info.gongtham.org/output/passlist/ศ.๔-คณะจังหวัดหนองคาย(ธ)-นักธรรมชั้นเอก-๒๕๕๘.pdf[ลิงก์เสีย]