จาโกโม บัลลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จาโกโม บัลลา

จาโกโม บัลลา (อิตาลี: Giacomo Balla) ศิลปินชาวอิตาลี ซึ่งถือได้ว่าเป็นจิตรกรที่สำคัญที่สุดของลัทธิฟิวเจอริสม์คนหนึ่ง เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานที่หลากหลาย ทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม การออกแบบ ที่มีบทบาทอย่างมาก อีกทั้งมีช่วงเวลาการทำงานตามแนวทางฟิวเจอริสม์ยาวนานที่สุด

ประวัติ[แก้]

เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ.1871 ที่เมืองตูริน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นปีเยมอนเต (พีดมอนต์) ซึ่งเป็นเขตการปกครองหนึ่งใน 20 แคว้นของประเทศอิตาลี เป็นลูกชายของนักเคมี และช่างภาพมือสมัครเล่น เมื่อบัลลามีอายุได้เพียง 8 ปี พ่อของเขาได้เสียชีวิตลง ทำให้ครอบครัวตกอยู่ในสภาวะยากลำบาก ในปี ค.ศ.1883 เพื่อที่จะช่วยเหลือแม่ บัลลาจึงเริ่มทำงานโดยการเป็น lithographer (ช่างทำภาพพิมพ์หิน) ดังนั้นความสนใจทางด้านศิลปะของเขานั้นได้ถูกกระตุ้นมาตั้งแต่วัยเยาว์ [1] ในปี ค.ศ. 1891 เขาได้เรียนในระยะสั้นๆ ที่ Accademia Albertina และ Liceo artistico ในตูริน ได้จัดแสดงงานศิลปะเป็นครั้งแรกภายใต้การอุปถัมภ์ของสมาคมศิลปะในเมืองของเขา ต่อจากนั้นได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยตูริน

ช่วงแรกเริ่มในการทำงานศิลปะ[แก้]

ต่อมาในปี ค.ศ.1895 เขาและแม่ก็ย้ายไปที่กรุงโรมเพื่อไปอยู่กับลุงซึ่งเป็นคนดูแลสัตว์เลี้ยงของกษัตริย์ ซึ่งบัลลาก็ได้ช่วยงานลุงของเขาในขณะนั้นด้วย แล้วเขาได้ทำงานเป็นทั้งนักเขียนภาพประกอบ,วาดภาพล้อเลียน และวาดภาพเหมือน ปี ค.ศ.1897 ที่นี่เขาได้พบและแต่งงานกับ Elisa Marcucci [2] ใน ปี ค.ศ.1899 ผลงานของเขาถูกรวมอยู่ในเวนิซ Biennale และใน การแสดงศิลปะนานาชาติ ที่แกลเลอรี่ของ Società degli Amatori e Cultori di Belle Arti ในกรุงโรม อย่างสม่ำเสมอ

สิบปีถัดมา ในปี 1900 บัลลาได้ใช้เวลาเจ็ดเดือนในปารีส ช่วยเหลือ นักวาดภาพประกอบ Serafino Macchiato ในค.ศ.1903 เขาได้แนะนำ จีโน เซเวรินี และ อุมแบร์โต บ็อชชิโอนี เกี่ยวกับเทคนิคในการวาดภาพ divisionism งานของเขาในปี ค.ศ. 1903 จัดแสดงที่ Esposizione internazionale d'arte di Venezia และในปี ค.ศ. 1903 ถึง 1904 ที่ Glaspalast ในมิวนิก ในปี ค.ศ.1904 บัลลาเป็นตัวแทนของประเทศในนิทรรศการศิลปะ ที่ Düsseldorf และ ค.ศ.1909 แสดงที่ Salon d' Automne ในปารีส

เข้าร่วมฟิวเจอริสม์[แก้]

Balla ลงนามในแถลงการณ์ที่สองของภาพวาดฟิวเจอริสม์ ในปี ค.ศ.1910 พร้อมด้วย อุมแบร์โต บ็อชชิโอนี,คาร์โล คาร์รา ,ลุยจี รุสโซโล และ จีโน เซเวรินี แต่ไม่ได้แสดงผลงานในกลุ่มนี้ จนกระทั่ง ค.ศ. 1913 เนื่องจากใน 1912 เขาเดินทางไปยังกรุงลอนดอนและ Düsseldorf เขาเริ่มศึกษาภาพวาด นามธรรมของแสง ในปี 1913 ได้เข้าร่วมใน Erste Deutsche Herbstsalon ที่ Der Sturm ในกรุงเบอร์ลินและ ในการจัดนิทรรศการที่รอตเทอร์ดาม

ในปี 1914 เขาทดลองสร้างประติมากรรมเป็นครั้งแรก และ ได้จัดแสดงใน Prima Esposizione Libera futurista ที่ Galleria Sprovieri, โรม เขาได้ออกแบบเฟอร์นิเจอร์และออกแบบเสื้อผ้า ร่วมกับ Fortunato Deperoและเขียน แถลงการณ์ The Futurist Reconstruction of the Universe] ในปี 1915 การแสดงผลงานเดี่ยวครั้งแรกของเขาถูกจัดขึ้น ในปีเดียวกันนั้น ที่ Società Italiana Lampade Elettriche “Z” และที่ Sala d’Arte A. Angelelli ในโรม ผลงานของเขาถูกนำมาแสดงในปี 1915 ที่ Panama-Pacific International Exposition ในซานฟรานซิสโก

ในปี 1918 เขาได้รับให้จัดการแสดงผลงานเดี่ยวที่ Casa d' Arte Bragaglia ในโรม หลังจากนั้นในปี 1935 บัลลายังคงจัดแสดงงานของเขาทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งเป็นสมาชิกของ อักกาเดเมียดีซันลูกา ในโรม เขาเสียชีวิต เมื่อ 1 มีนาคม 1958 ที่กรุงโรม [3]

ลักษณะผลงาน[แก้]

ช่วงก่อนฟิวเจอริสม์[แก้]

ผลงานของบัลลาในช่วงแรกได้รับอิทธิพลจากศิลปะหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Impressionism,Pointillism และRealism รวมทั้งการจัดองค์ประกอบภาพที่มีลักษณะคล้ายภาพถ่าย ซึ่งปรากฏในช่วงแรกของการทำงานศิลปะราว ค.ศ.1900-1908

ผลงาน Pointillism จากศิลปินชาวอิตาลีที่เขานับถือ Giovanni Segantini มีอิทธิพลต่องานของบัลลา และจากการชักชวนของ Giuseppe Pellizza da Volpedo(ค.ศ.1868-1907) ที่บัลลาได้รู้จักในภายหลังเมื่อมายังกรุงโรม ได้ชักนำให้เขาเริ่มวาดภาพ "A Worker's Day" ในปี 1904 ซึ่งได้รับอิทธิพลด้านอื่นๆจากการที่เขาได้ไปปารีสในปี 1900 ผลกระทบสำคัญที่ตามมาจากการไปปารีสอาจเป็นการกระตุ้นความสนใจใน Impressionism

การเรียงลำดับตามเหตุการณ์ของผลงานทางศิลปะทั้งหมดของบัลลา แสดงให้เห็นปัญหาบางอย่าง เพราะดูเหมือนว่าเขาได้ลงวันที่ในผลงานส่วนใหญ่ไว้ภายหลังช่วงชีวิตของเขาอย่างมาก และมักจะเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง มีแนวทางที่เชื่อถือได้เพื่อระบุวันเวลาที่ใกล้เคียงเพียงอย่างเดียว คือ บัญชีรายชื่อและบทวิจารณ์งานแสดงศิลปะที่เขาเข้าไปมีส่วนร่วม ภายหลัง ค.ศ.1900

ภาพ "Bankrupt" โดยประมาณ ค.ศ.1902 :ซึ่งให้อารมณ์แบบ realism ระยะในการวาดภาพถือเป็นแรงจูงใจอย่างมากที่สุด แสดงจากการวาดภาพระยะใกล้อย่างกะทันหันของย่านสลัมแห่งหนึ่ง ที่เป็นพื้นที่เล็กๆซึ่งปิดกั้นด้วยประตูและผนัง และประกอบด้วยพื้นผิวสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพียงหนึ่งเดียวอย่างหลากหลาย

ฉากยามค่ำคืนที่น่าประทับใจชื่อว่า "Work" ที่อยู่ในปีเดียวกันนั้น ยังคงความเป็นระเบียบและมีกฎของสถาปัตยกรรมมากกว่าในการจัดวางองค์ประกอบรวม ความเข้มสีที่เต็มไปด้วยสีที่ส่องแสงเรืองรองทำให้นึกถึงฟินเซนต์ ฟัน โคค และยังทำให้มีชีวิตชีวาเป็นอย่างมาก รูปแบบเรขาคณิตก็ชวนให้เห็นมุมมองที่หลากหลายของลักษณะภายนอก ซึ่งเป็นตัวกำหนดให้เกิดการดำรงอยู่ ถึงสิ่งก่อสร้างในเมือง และจังหวะของชีวิตการทำงาน Work จัดเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นแรกๆของภาพชุดฉากยามค่ำคืนซึ่งบรรลุถึงขั้นเป็นผลงานชิ้นเอกอันยอดเยี่ยมของ ค.ศ.1914 อีกทั้งบัลลายังมีความสนใจในเพลงโรแมนติกที่แต่งเพื่อใช้กับเปียโนซึ่งอาจเกิดจากการทดลองของพ่อของเขาในการใช้เทคนิคถ่ายภาพกลางคืน

อิทธิพลของการถ่ายภาพยนตร์มีมากกว่าการถ่ายภาพธรรมดาอย่างชัดแจ้งใน "A Worker's Day" ในช่วงประมาณค.ศ.1904 เมื่อมองในครั้งแรกมันไม่สามารถบอกได้ชัดเจน ว่าเป็นภาพที่สื่อถึงกันในสามส่วนอันประกอบด้วยภาพใหญ่หนึ่งแผ่น และภาพเล็กอีกสองแผ่น โดยในแต่ละภาพแสดงให้เห็นช่วงเวลาที่แตกต่างกันไปในวันวันหนึ่ง การปรับเปลี่ยนที่ละเอียดอ่อนจากส่วนหนึ่งไปยังส่วนต่อไป ซึ่งการข้ามผ่านจากรุ่งอรุณไปสู่เที่ยงวันจนถึงสู่ยามเย็นดูเหมือนเป็นสิ่งที่แน่นอนเช่นเดียวกับการดำเนินไปของชีวิต สิ่งที่น่าประทับใจคือการเคลื่อนไปอย่างช้าๆของฟิล์มโดยเริ่มต้นจากทางด้านซ้ายมือบนของแผ่น โดยวาดยามรุ่งอรุณให้ดูสลัว มีโครงสร้างของบ้านอยู่ไกลลิบซึ่งขยายออกไปกลายเป็นขอบเขตของภาพ ส่วนทางด้านซ้ายมือล่างแสดงให้เห็นแสงแพรวพรายของช่วงเที่ยงวันแห่งการพักผ่อน และนำไปสู่มุมมองสุดท้ายทางด้านขวามือคือสิ่งก่อสร้างซึ่งยังคงสร้างไม่เสร็จที่ขีดเงาให้เข้มคล้ายจะเข้าใกล้ยามค่ำซึ่งปกคลุมเหล่าคนทำงานที่กำลังเดินทางกลับบ้าน ขณะเดียวกันก็พาดพิงถึงความเหน็ดเหนื่อยจากการตรากตรำทำงานและความฝันของผู้คนเหล่านั้นไปด้วย

ภาพ "Saying Good-bye",1908 ถูกจัดแสดงในงานเมื่อปี ค.ศ.1910 เป็นภาพสถาปัตยกรรมที่ดูแข็งทื่อ แสดงทางบันไดเวียนก้นหอยอันน่าวิงเวียน การประดับและตกแต่งรวมถึงพลังและความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นไปได้ตามของบรรทัดฐาน Art Nouveau นี้ เป็นการใช้มุมทัศวิสัยที่เสี่ยงและผิดปรกติซึ่งทำให้หวนนึกถึงภาพถ่ายอีกครั้ง ทัศนคติตามที่ปรากฏแก่สายตา คือ เร่งการตกลงมาอย่างรวดเร็วลงในหลุมของทางบันไดซึ่งวาดผู้สังเกตไว้ในเงามัวเข้มเหมือนกับกระแสน้ำวน ส่วนประเด็นด้านล่างนี้เป็นเพียงการดึงดูดชั่วขณะเท่านั้น โดยมีผู้หญิงสามคนผู้จ้องมองเหนือขึ้นไป

นักวิจารณ์คนหนึ่งที่เขียนบทวิจารณ์งานแสดงผลงานปี 1910 ไม่พอใจในภาพ "Saying Good-bye" เพราะคิดว่ามีความหมายไม่เหมาะสม เช่นเดียวกับผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของบัลลาที่ส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับ ภาพ "Affetti" มากกว่า ซึ่งถูกจัดแสดงด้วยเช่นกัน ภาพวาดนี้เป็นที่ยอมรับว่า "ผลงานแห่งอารมณ์และความคิดของบทกวี"[4]


ช่วงฟิวเจอริสม์[แก้]

เมื่อบัลลาได้เข้าร่วมในการเคลื่อนไหวแบบฟิวเจอริสม์ได้สร้างสรรค์ผลงานอย่างหลากหลาย ซึ่งล้วนเป็นผลงานที่มีส่วนสำคัญให้แก่วงการศิลปะในช่วงนั้น

งานจิตรกรรม[แก้]

ผลงานศิลปะของบัลลา แสดงถึงลักษณะที่พัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ในระยะแรกของฟิวเจอร์ริสม์ บัลลานิยามถึง "Dynamism" ว่าเป็นการจับความเคลื่อนไหวทางกายภาพลงในภาพวาด ขณะเดียวกันเขาก็ได้พัฒนาแบบแผนของแสงและสีที่หลากหลายในรูปแบบของช่วงนี้ ต่อมาในปี 1915 บัลลาได้ค้นพบคุณสมบัติของพลาสติกที่ขยายตัวยืดหดได้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสะท้อนทฤษฎีที่เป็นสากลของฟิวเจอร์ริสมฺในเรื่องพลังงาน นอกจากนี้เขายังตีความภาพของเขาว่า ได้เข้าใกล้สู่การประยุกต์งานหัตถกรรม

เนื้อหาของฟิวเจอริสท์ที่มีความศรัทธาอย่างแรงกล้าจากสงคราม สะท้อนให้เห็นทัศนคติความรักชาติอย่างชัดเจน ได้สนับสนุนให้อิตาลีเข้าร่วมสงคราม การประกาศจากสาธารณะและสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย มีส่วนทำให้ความคิดเรื่องชาตินิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก ในสายตาของฟิวเจอริสท์ อิตาลีสมควรได้รับการยอมรับในฐานะแนวหน้าของสหภาพยุโรปทั้งทางการเมืองการปกครองและทางวัฒนธรรม ในเดือนพฤษภาคม ปี 1915 ประกาศสงครามกับออสเตรียและฮังการี ศิลปินฟิวเจอริสท์บางคนได้อาสาเข้าร่วมสงคราม

สำหรับในงานศิลปะ มีความกระตือรือร้นในการนำรูปทรงที่มาจากอุดมคติจากการเคลื่อนไหวในการต่อสู้ และความละลานตาของสี บัลลาได้ใช้สูตรของภาพที่เป็นแบบนามธรรม นอกจากนี้ยังร่วมมือกับ Fortunato Depero ได้พัฒนานิยามของการเคลื่อนไหวแบบฟิวเจอริสท์ในแถลงการณ์ The Futurist Reconstraction of the Universe สิ่งนี้เปรียบได้กับภาพวาดของบัลลาในปี 1915 ที่นี่สองศิลปิน กลายเป็นศิลปินแนวหน้าในระยะที่สองของฟิวเจอริสม์ ประกาศว่าศิลปะอยู่บนพื้นฐานที่ซับซ้อน เช่น นามธรรม การเคลื่อนที่ สีสันจัดจ้าน แสงสว่างจ้า อิสระ หมุนเวียน และถอดแยก เป็นการสร้างแนวทางใหม่ในกิจกรรมทางศิลปะ [5]

งานประติมากรรม[แก้]

บัลลามีความคิดริเริ่มที่จะทดลองสร้างงานแบบอื่นๆ ในช่วงราว ค.ศ.1914 ได้สร้างประติมากรรมแบบนามธรรม ผลงานหลักที่สำคัญคือ Boccioni's Fist,1915 การสังเคราะห์พลังงานที่แลผิดมนุษย์ให้อยู่ในรูปเส้นพลังงานเหมือนการปล่อยหมัดของบอชโชนี แสดงออกมาโดยใช้สีแดง และรับเอาการวาดเส้น โดยเป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวแบบฟิวเจอริสม์[6]

การออกแบบ[แก้]

ผลงานในการออกแบบของบัลลานั้นมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโปสเตอร์,เฟอร์นิเจอร์,ตกแต่งภายในและเสื้อผ้าหรือแฟชั่น

- บ้านของบัลลาในกรุงโรม ที่อยู่อาศัยอย่างยาวนานกว่าสามสิบปี เป็นอพาร์ทเม้นที่อยู่บนชั้นที่สี่ของ Oslavia 39B ในเวลาต่อมา บัลลาได้พัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับภาพวาดแบบฟิวเจอริสท์ เกี่ยวกับ แถลงการณ์เรื่องสี ในปี 1918 ด้วยสิ่งนี้เองที่สามารถนำมาใช้ เพื่ออธิบายบ้านแบบโรมันของเขา " สีที่ระเบิด เพราะมีความสุข ความหนา ทางอากาศ ไฟฟ้า แบบไดนามิก ความรุนแรง " วัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำดอกไม้,ใส่แสงร่วมเข้าไป,หน้าจอ,ราวแขวนเสื้อ,สิ่งทอ,Parchment,เย็บเสื้อผ้า,ทำเซรามิก,ทาสีผนังและการตกแต่งด้วยกรอบรูปภาพ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ยังคงอยู่ในที่เดิมของมัน เป็นส่วนหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์ของบัลลา [7] และสะท้อนตัวตนของเขาออกมาได้เป็นอย่างดี

ผลงานที่สำคัญ[แก้]

Dynamism of a Dog on a Leash[แก้]

"Dynamism of a Dog on a Leash" ถือเป็นภาพวาดในฟิวเจอริสม์ภาพแรก ในฐานะทีทำให้คำแถลงการณ์ของฟิวเจอริสม์ แสดงออกมาเป็นภาพได้อย่างชัดเจน เขาได้แบ่งการเคลื่อนไหวของผู้หญิงที่กำลังเดินและสุนัขของเธอ โดยแยกการเคลื่อนไหวอย่างเป็นลำดับ ดั่งม้าไม่ได้สี่ขาแต่มียี่สิบขา ซึ่งเป็นการรักษาไว้ซึ่ง "แถลงการณ์ของภาพวาดฟิวเจอริสม์" เครื่องมืออันหลากหลายแตกแขนงมาจากการพัฒนา โดยอ้างอิงจาก chronophotography ของ Étienne-Jules Marey ซึ่งย้อนกลับไปในปี 1882 การทำซ้ำอย่างเป็นลำดับของท่าเดินหรือกิจวัตรต่างๆของมนุษย์ สัตว์ และนก อันเป็นสิ่งพิเศษที่สร้างขึ้น รู้จักในชื่อ Photographic gun การวิเคราะห์ของ Marey ส่งผลให้เกิดภาพที่เคลื่อนไหวอย่างเป็นลำดับ เป็นสิ่งที่บัลลาต้องการที่จะเลียบแบบอย่างแท้จริง ในการสร้างผลงานราวปี 1912 อย่างไรก็ตาม เขาได้ย่นย่อระยะในการเคลื่อนไหว เพื่อสร้างผลกระทบที่พร่ามัว ชวนให้นึกถึง ภาพถ่ายแบบเคลื่อนไหว ที่สร้างในช่วงเดียวกัน โดยช่างภาพฟิวเจอร์ริสซึม Anton Giulio และ Arturo Bragaglia

ภาพถ่ายและภาพยนตร์ บัลลาได้ร่วมเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ Vita futurista (Futurist life) สร้างโดย Arnaldo Ginna ในปี 1916 เป็นจุดสำคัญในการอ้างอิงสำหรับงานศิลปะในช่วงนี้ ซึ่งเป็นอิทธิพลที่เห็นในภาพ Dynamism of a Dog on a Leash ในความผิดแปลกจากปกติ ที่ตัดตอนมาจากภาพที่เห็นได้ตามท้องถนน เรามองข้ามระยะของทางเดิน และมองเพียงเท้าของผู้หญิงที่ผ่านไป ซึ่งมีสุนัขที่ดูยุ่งวุ่นวาย ในบริเวณส่วนกลางจุดสนใจของภาพ

บัลลาได้นำสองปรากฏการณ์ในประวัติศาสตร์ศิลปะที่คุ้นเคย คือ สัตว์เลี้ยง และ ผู้คนที่เดินเล่นในถนนใหญ่ของปารีส ที่จะค้นพบได้จากความคิดที่เป็นจุดสำคัญของงานศิลปะ Impressionism และ Post-Impressionism ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา (1859-1891) ภาพ "บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต"(A Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte,1884-86) แบบ Pointillist หรือ ลัทธิผสานจุดสี ที่มีมีชื่อเสียง ลิงและสุนัขถูกใส่เข้าไปเป็นในภาพจัดวางตามหลักการมองเห็น

แสดงให้เห็นถึงสัตว์เลี้ยงในเมืองใหญ่ โดยสร้างส่วนผสมที่แตกต่างจากความโดดเดี่ยวของผู้คน และมองไปที่รายละเอียดของท้องถนน บางทีอาจเป็นความไม่ได้ตั้งใจ ที่จะสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ซึ่งสัตว์เลี้ยง โดยปรกติคือสุนัขหรือแมว กว่าศตวรรษแล้วที่ได้รับสิทธิพิเศษจากชนชั้นสูง แต่ตอนนี้ เริ่มจากศตวรรษที่ 20 ชนชั้นกลาง เริ่มใช้สัตว์เลี้ยงเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ใหม่สื่อถึงความมั่งคั่ง ลูกจ้างที่ทำงานภายในแผนกของโรงงานที่กำลังเจริญเติบโตหรือoffice ในสังคมเมืองรอบนอก แสดงให้เห็นถึง สถานะทางสังคมแบบใหม่ โดยกำลังเดินไปพร้อมกับเพื่อนสี่ขาผ่านไปในเมือง

สิ่งนี้เป็นเป้าสายตาของคนทั้งหลาย และบัลลาได้แสดงออกมาอย่างสอดคล้อง ผ่านสุนัขในส่วนกลางภาพ และการตัดรูปร่างของผู้หญิง เขายังล้อเลียนไม่เพียงแต่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ แต่ยึดถือในระบบสังคมแบบชาวอิตาลีทั่วไป [8]

Girl Crossing a Balcony[แก้]

บัลลาได้ประยุกต์เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์ที่เขาสนใจ ในการจำแนกแยกแยะการเคลื่อนไหวและแสงในการวาดภาพ chronophotography ของ Étienne-Jules Marey และ Photodynamism ของ Bragaglia brothers ซึ่งเป็นสมาชิกของฟิวเจอริสท์ สร้างแรงบันดาลใจให้บัลลาหลายหลายรูปแบบ การทดลองของบัลลากับสีและแสง ในทางตรงกันข้าม เป็นการหันกลับไปสู่ French Post-Impressionism ในบางโอกาสก็ได้แสดงผลงานในงานนิทรรศการระดับโลก ซึ่งนำไปสู่การเกี่ยวโยงกับ Divisionism ของ ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา และ พอล ซียัค

ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา ทำงานแบบ Impressionism ในแนวใหม่ แนวคิดที่เป็นจุดสำคัญของงานศิลปะที่เขาสร้างขึ้น จากจุดขนาดเล็ก ที่สัมพันธ์กับค่าของสีบริสุทธิ์ ที่มองแล้วผสมผสานและทำให้เกิดรูปร่างขึ้นในภาพและสายตา หรือ [ผสานจุดสี เก็บถาวร 2013-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แหล่งที่มาของ ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา มาจากทฤษฎีสีจากนักเคมีชื่อ Michel Eugène Chevreul จากบทความ simultaneous colour contrasts "De la loi du contraste simultane des couleur et de l'assortiment des objects colories," 1839 แรงบันดาลใจจากศิลปิน เออแฌน เดอลาครัว ที่ทำการทดลองกับสีจากหลักวิทยาศาสตร์เบื้องต้น พร้อมกันนั้นในทางตรงกันข้ามได้อ้างถึง สีเพิ่มเติมที่ตาสามารถมองเห็นได้โดยอัตโนมัติ เมื่อมองไปยังสีบางสี ตัวอย่างเช่น สีเหลือง ก่อให้เกิด สีน้ำเงินแกมแดง สีน้ำเงินแกมเหลือง และสีม่วงเขียว ความเกี่ยวเนื่องกันของคู่สีนี้ ก่อให้เกิดความกลมกลืนกันของภาพโดยรวม ก่อนที่บัลลาจะใช้สิ่งนี้ในงาน "Girl Crossing a Balcony" อย่างไรก็ตามเขาได้ตรวจสอบพฤติกรรมและผลกระทบของสีและแสงได้อย่างสมบูรณ์

ในปี 1912 เขาได้วาดภาพชุด "Iridescent Interpenetrations" การสังเคราะห์สีบน Kaleidoscope บัลลาได้เริ่มพัฒนาในระหว่างอยู่ที่ Düsseldorf ที่นี่ศิลปินได้ค้นพบ The colour pyramids ของ Johann Heinrich Lambert ที่เป็นนักฟิสิกส์และนักปรัชญาในศตวรรษที่ 18 ที่อุทิศชีวิตให้กับการวัดความเข้มแสงและกฏการดูดซึมแสง บัลลาตั้งต้นแบ่งแถบสีของแสงลงในสามเหลี่ยมด้านเท่า ใส่ลงไปเป็นสีที่มีความเข้มข้นแตกต่างกัน ใส่สีขาวเป็นสีที่สว่าง และประกอบกันจนเป็นระบบขึ้นมา เมื่อมองอย่างเป็นจังหวะ ออกมาเปรียบเทียบได้กับ Robert Delaunay's disc paintings สี่งที่ศิลปินชาวฝรั่งเศสพยายามสร้างวงจรสี จำแนกบนพื้นฐานของ วงจรสีของChevreul

บัลลาได้สร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้นใน "Girl Crossing a Balcony" แสงสว่างที่ละลายในส่วนระเบียงจนถึงจุดสีมากมาย ถูกแผ่ขยายโดยการเพิ่มจำนวนจากรูปร่าง สิ่งที่แผ่กระจายในแบบจากสีบริสุทธิ์ แยกออกเป็น เด็กผู้หญิง ราวบันได กรอบประตู ละลายกลายเป็นการสั่นสะเทือนในแนวราบ ในสิ่งที่เป็นมุมมองของระยะถูกลบล้างอย่างสิ้นเชิง ความรู้ในเรื่องความสัมพันธ์สีของบัลลาและผลสืบเนื่องต่างๆ บัลลาได้แปลความถึงสิ่งที่เป็นความคิดที่สำคัญในงานศิลปะในเรื่องระบบแนวคิด และการกระทำ ตรวจสอบในกฎที่เป็นต้นแบบหรือรากแห่งความจริงที่ปรากฏขึ้น [9]

Mercury Passing Brfore the Sun as Seen Through a Telescope[แก้]

บัลลาได้วาดภาพชุด "Mercury Passing Brfore the Sun as Seen Through a Telescope" โดยได้รับแรงบันดาลใจจากปรากฏการธรรมชาติในปี 1914 ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดของงานบนกระดาษที่ทุ่มเทอุทิศให้กับการสังเกตการเกิดคราส เป็นตอนที่ดาวพุธอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด สามารถเห็นการพาดผ่านจากพื้นผิวแผ่นสีดำขนาดเล็กในช่วงที่ไม่เรียบ นี่เป็นเพียงจุดๆหนึ่งในวงโคจรของดาวพุธที่มองเห็นได้จากพื้นโลก

ภาพวาดนี้ยังเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความสนใจในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของบัลลา ซึ่งเป็นแบบฉบับของเขาในช่วงแรกของฟิวเจอริสม์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาวิเคราะห์อย่างจริงจังเกี่ยวกับวิธีการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆ เช่น ท่าเดินของสุนัข หรือการเคลื่อนที่อันรวดเร็วของรถยนต์ และใน "Iridescent Interpenetrations" ปี 1912-13 เขาได้คิดค้นระบบของลำดับแถบสี สำหรับใน "Mercury Passing Brfore the Sun as Seen Through a Telescope" ความเป็นสากลของการเคลื่อนไหวเป็นหัวใจสำคัญของฟิวเจอริสม์ ที่รวมกันกับการแสดงสัญลักษณ์จักรวาลวิทยา ดวงอาทิตย์และดาวพุธปรากฏเป็นแผ่นรูปดาว ประสานกันเป็นกลุ่มดาวด้วยสีและรูปร่าง บัลลาได้ย่นย่อปรากฏการณ์ของคราสที่เป็นการมองเห็นดาราศาสตร์จากธรรมชาติ รูปทรงเรขาคณิตต้นแบบพื้นฐานสะท้อนในรูปทรงวงกลม โค้ง หมุนวน และพื้นผิวแนวระนาบ พลังที่เป็นปัจจัยจากธรรมชาติที่ปรากฏจากสนามพลังผลิตโดยองค์ประกอบเหล่านี้อย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหมุนวน ที่เป็นกระบวนการเคลื่อนที่ และการแทรกซึมเข้าด้วยกัน

นอกจากนี้การวิเคราะห์อย่างต่อเนื่องของเขาก่อนหน้าการเคลื่อนไหวทางเครื่องกล บัลลาได้ทำให้พื้นผิวของรูปทรงที่นี่มีลักษณะโปร่งใส โดยแนวระนาบและปริมาณ จะใช้เป็นสีดำบาง น้ำเงิน และเขียว เส้นแรเงา ชวนให้นึกถึงรูปทรงทั้ง 3 ขนาด และด้วยสีเหลืองแกมน้ำตาล เป็นเส้นแสงสว่างที่ทะลุผ่านไปทั่วทั้งพื้นผิวของภาพ รังสีสีขาวสว่างที่ปล่อยออกมาจากดาวบริเวณด้านมุมบนซ้ายที่ซ้อนกันและแผ่ไปทั่วจรดขอบ เป็นการเน้นถึงการซึมผ่านไปทั่วทั้งหมดขององค์ประกอบ และความเข้มของแสง เน้นยำถึงความประทับใจของการหักเหของแสงผ่านแก้วผลึก

คริสตัล เป็นส่วนประกอบพื้นฐานจากธรรมชาติกับเป็นโครงสร้างเรขาคณิตเบื้องต้น และมีลักษณะโปร่งใส ซึ่งไม่ได้เป็นความคิดที่สำคัญ การเล่นกับโครงสร้างและการอุปมาบทบาทในการวาดภาพ การผ่านของดาวพุธ ของบัลลา ที่มีมาอย่างยาวนานแล้วในประวัติศาสตร์ของศิลปะ เนื้อหาสำคัญของคริสตัลและลักษณะที่โปร่งใส มักจะถูกใช้โดยศิลปินที่เริ่มต้นในศตวรรษที่ 20 เป็นการจินตนาการถึงภาพของพระเจ้าทั่วทุกหนแห่งของโลก อีริค แฮคเคล จากตัวอย่าง ที่แสดงถึงการกระโจนของคนอาบน้ำ ลงในภูมิภาพที่เป็นเหลี่ยม ในภาพ "The Crystal Day" 1913 ดังนั้นทำให้เกิดความเป็นเอกภาพของคน ธรรมชาติ และจักรวาล ศิลปินชาวรัสเซีย David Burliuk หันกลับไปสู่อะตอมและการก่อสร้างตึกจากคริสตัล ในปี 1916 และสถาปนิกเช่น Bruno Taut และ Hans Scharoun ได้ออกแบบสถาปัตยกรรรมแก้ว โดยสร้างโมเดลบนโครงสร้างที่โปร่งแสง เกือบจะตลอดเวลาที่สิ่งที่ทำจากคริสตัลได้ถูกนำมา สื่อถึงสัมผัสของความโรแมนติกที่กลายเป็นศิลปะ บัลลาก็เช่นกัน แม้จะมีความเข้าใจถึงปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจอย่าง "Mercury Passing Brfore the Sun" [10]

Gallery[แก้]

ช่วงก่อนฟิวเจอริสม์[แก้]

ช่วงฟิวเจอริสม์[แก้]

ตัวอย่างผลงานชุด Iridescent Interpenetration[แก้]

ตัวอย่างผลงานชุด Mercury Passing Brfore the Sun as Seen Through a Telescope[แก้]

งานประติมากรรม[แก้]

การออกแบบ[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Marianne W. Martin.Futurist Art and Theory 1909-1915.New York : Hacker Art Books,1978.
  2. http://impressionistsgallery.co.uk/artists/Artists/abc/Balla/Chronology.html
  3. http://www.guggenheim.org/new-york/collections/collection-online/artists/bios/862
  4. Marianne W. Martin.Futurist Art and Theory 1909-1915.New York : Hacker Art Books,1978.
  5. Sylvia Martin.Futurism.London: Taschen,2006.
  6. Caroline Tisdall and Angelo Bozzolla.Futurism.London : Thames and Hudson,1977.
  7. http://www.italianways.com/casa-balla-a-color-explosion/
  8. Sylvia Martin.Futurism.London: Taschen,2006.
  9. Sylvia Martin.Futurism.London: Taschen,2006.
  10. Sylvia Martin.Futurism.London: Taschen,2006.

อ้างอิง[แก้]

Caroline Tisdall and Angelo Bozzolla.Futurism.London : Thames and Hudson,c1977.
Joshua Charles Taylor.Futurism.New York : The Museum of modern Art,1961.
Marianne W. Martin.Futurist Art and Theory 1909-1915.New York : Hacker Art Books,1978.
Pontus Hulten.Futurism & futurisms.London : Thames and Hudson,1987.
Sylvia Martin.Futurism.London : Taschen,c2005.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]