จารึกเมียเซดี
จารึกเมียเซดี | |
---|---|
วัสดุ | หิน |
ตัวหนังสือ | พม่า มอญ ปยู บาลี |
สร้าง | ค.ศ. 1113 |
ที่อยู่ปัจจุบัน | พุกาม ประเทศพม่า |
จารึกเมียเซดี * | |
---|---|
ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก | |
ที่เก็บรักษา | เมียเซดี (หลักที่ 1) พิพิธภัณฑ์โบราณคดีพุกาม (หลักที่ 2) |
ประเทศ | พม่า |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
อ้างอิง | [1] |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2558 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีความทรงจำแห่งโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
จารึกเมียเซดี (พม่า: မြစေတီ ကျောက်စာ, ออกเสียง: [mja̰.zè.dì t͡ɕaʊ̯ʔ.sà]), จารึกยาซะโกนมา (ရာဇကုမာရ် ကျောက်စာ) หรือ จารึกกู-บเยาะจี้ (ဂူပြောက်ကြီး ကျောက်စာ) ซึ่งจารึกไว้เมื่อ ค.ศ. 1113 เป็นจารึกหินภาษาพม่าที่เก่าแก่ที่สุดที่หลงเหลืออยู่ เมียเซดี แปลว่า "เจดีย์มรกต" ส่วนชื่อจารึกนั้นมาจากเจดีย์ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง จารึกมีทั้งหมดสี่ภาษาได้แก่ พม่า มอญ ปยู และบาลี[1]: 158 ซึ่งทั้งหมดบอกเล่าเรื่องราวของเจ้าชายยาซะโกนมาและพระเจ้าจานซิต้า ความสำคัญหลักของจารึกเมียเซดีคือ จารึกนี้ทำให้สามารถถอดรหัสอักษรของภาษาปยูได้
ปัจจุบันมีจารึกสองหลักอยู่ในประเทศพม่า หลักหนึ่งอยู่ที่บริเวณเมียเซดีในหมู่บ้านมยี่นกะบา (ทางใต้ของพุกาม) ภาคมัณฑะเลย์ อีกหลักได้รับการค้นพบโดย ดร.เอมานูเอ็ล ฟอร์ชฮัมเมอร์ นักวิชาการภาษาบาลีชาวเยอรมัน ใน ค.ศ. 1886–1887 และปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีพุกาม จารึกเมียเซดีได้ขึ้นทะเบียนเป็นความทรงจำแห่งโลกจากยูเนสโก
การวิเคราะห์และการแปล
[แก้]การวิเคราะห์
[แก้]จารึกมีภาษาพม่า 39 บรรทัด ภาษาบาลี 41 บรรทัด ภาษามอญ 33 บรรทัด และภาษาปยู 26 บรรทัด สามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภท คือ การบริจาค ความปรารถนา และการสาปแช่ง
อักษรพุกามโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือทรงกลม แต่ในจารึกนี้มีอักษรแบบฝักขาม เป็นจุดเริ่มของวรรณกรรมพม่า คำบางคำไม่ได้เขียนไว้เป็นระบบ กล่าวคือ มีการแยกพยัญชนะกับสระออกจากกัน ตัวอย่างเช่น ("သာသနာအနှစ် တစ်ထောင်ခြောက်ရာ" ถูกสลักเป็น "သာသနာ အနှစ်တ" บนบรรทัด และ "စ်ထောင်ခြောက်ရာ" ถูกสลักในบรรทัดต่อมา)
มีคำที่ใช้เฉพาะสรรพนามบุรุษที่ 1 เท่านั้น คือ "ข้าพเจ้า" และ "ของข้าพเจ้า" แทน "เขา" ยาซะโกนมาแทนพระองค์เองว่า "พระโอรสของพระเทวีผู้เป็นที่รัก" (ထိုပယ်မယားသား) คำบางคำมีความหมายโบราณ ตัวอย่างเช่น (ပယ်, ซึ่งมีความหมายสมัยใหม่ว่า "ละทิ้ง" หมายถึง "น่ารักหรือเป็นที่รัก" และ နှပ် แปลว่า "ผ่อนคลาย" หรือ "การผสมผสาน" หมายถึง "การบริจาค")[2]
ยาซะโกนมา แทนพระนามบิดาของพระองค์ว่า ศรีตรีภูวนาทิตยธัมมราชา หมายถึง "ราชาผู้ส่องสว่างทั้งสามโลกดุจดวงอาทิตย์" แทนพระมารดาของพระองค์ว่า ติโลกวฏังสิกาเทวี (เทวีผู้ทรงปกครองทั้งสามโลก) และเรียกอาณาจักรพุกามว่า อริมัททนะปุระ (เมืองที่ปราบศัตรูราบคาบ)
จุดประสงค์ของหมวดบริจาคคือเพื่อให้ผู้คนได้ชื่นชมกับการกระทำของพระองค์ หมวดขอความปรารถนาเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีทางพุทธศาสนา จุดประสงค์หลักของการเขียนคำสาปแช่ง คือเพื่อรักษาสิ่งของที่บริจาคไว้และป้องกันไม่ให้สิ่งก่อสร้างที่บริจาคไว้ได้รับความเสียหาย[3]
จากจารึกนี้สามารถคำนวณช่วงเวลาการครองราชย์ของ พระเจ้าจานซิต้า, พระเจ้าอโนรธามังช่อ, พระเจ้าซอลู และพระเจ้าอลองสิธู และทำให้สามารถถอดรหัสอักษรของภาษาปยูได้ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความรักและความเคารพของยาซะโกนมาที่มีต่อพระบิดาพระองค์[4]
การแปลจากบาลี
[แก้]อักษรพม่า[5][6] | ถอดเป็นอักษรโรมัน[5] | ถอดเป็นอักษรไทย[7][note 1] | แปล[7][note 1] |
---|---|---|---|
1. ဂြီ။ ဗုဒ္ဓါဒိကံ ဝတ္ထုဝရံ နမိတွာ ပုညံ ကတံ ယံ ဇိနသာ 2. သနသ္မိံ အနာရိကံ ရာဇကုမာရ နာမဓေယျေန ဝက္ခာ 3. မိ သုနာထ မေတံ။ နိဗ္ဗနာ လောကနာထဿ အဌဝီ |
1. Śrī. Buddhādikam vatthuvaram namitvā pāññam katam yam jinasā 2. sanasmim anārikam Rājakumāra nāmadheyyena vakkhā 3. mi sunātha metam. Nibbanā lokanāthassa aṭhavī |
(1) ศฺรี // พุทฺธาทิกํ วตฺถุวรํ นมิตฺวา ปุญฺญํ กตํ ยํ ชินสา (2) สนสฺมึ อนาริกํ ราชกุมารนาม- เธยฺเยน วกฺขา (3) มิ สุณาถ เม ตํ // |
ศิริ ข้าพเจ้า นอบน้อมสิ่งอันประเสริฐ มีพระพุทธเจ้า เป็นต้นแล้ว จักได้กล่าวถึง กิริยาบุญที่ (ข้าพเจ้า) ผู้มีนามว่า ราชกุมารได้กระทำแล้วในศาสนาของพระชินเจ้า ขอท่านทั้งหลายจงฟังกิริยาบุญนั้นของข้าพเจ้า |
4. သာဓိကေ ဂတေ သဟဿေ ပန ဝဿာနံ ဆသတေ ဝါပရေ တ 5. ထာ။ အရိမဒ္ဒနနာမသ္မိံ ပုရေ အာသိ မဟဗ္ဗလော ရာဇာ |
4. sādike gate sahasse pana vassānam chasate vā pare ta 5. -thā. Arimaddananāmasmim pure āsi mahabbalo rājā |
นิพฺพานา โลกนาถสฺส อฏฺฐวี (4) สาธิเก คเต สหสฺเส ปน วสฺสานํ ฉสเต วา ปเร ต (5) ถา // |
เมื่อหนึ่งพันหกร้อยยี่สิบแปดปี แต่การปรินิพพานแห่งพระโลกนาถผ่านพ้นไปแล้ว (พ. ศ. 1628) |
6. တိ ဘုဝနာဒိစ္စော ဥဒိစ္စာ ဒိစ္စဝံသဇော။ တဿာ သေ |
6. Tibhuvanādicco udicca diccavamsajo. Tassā te |
อริมทฺทนนามสฺมิ ปุเร อาสิ มหพฺพโล ราชา (6) ติภุวนาทิจฺโจ อุทิจฺจาทิจฺจวํสโช // |
พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่า ติภุวนาทิจจ (ตริภูวนาทิตย์) ผู้มีอำนาจมาก ผู้เกิดในวงศ์แห่งอาทิตย์อันสูงส่งได้ครองราชย์ที่เมืองชื่อว่า อริมัททนะ (เมืองพุกาม) |
7. ကာ ပိယာ ဒေဝိ သာ တိလောကဝဋံသိကာ ဟိ 8. တေသီ ကုသလာ သဗ္ဗကိစ္စေသု ပန ရာဇိနော။ တ |
7. kā piyā devi sā Tilokavaṭamsikā hi 8. tesi kusalā sabbekiccesu pana rājino. Ta |
ตสฺสาเส (7) กา ปิยา เทวิ สา ติโลกวฏํสิกา / หิ (8) เตสี กุสลา สพฺพกิจฺเจสุ ปน ราชิโน // |
พระองค์มีพระเทวีผู้เป็นที่รักพระองค์หนึ่งพระนามว่า ติโลกวฏังสิกา ผู้เฉลียวฉลาด ผู้ฝักใฝ่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ในราชกิจทั้งปวง |
9. ဿ သေကော သုတော ရာဇကုမာရောနာမ နာမ 10. တာ အမစ္စော ရာဇကိစ္စေသု ဗျာဝတော သတိမာ 11. ဝိဒူ။ အဒါ ဂါမတ္တယံ တဿာ ဒေဝိယာ သော မ |
9. ssā seko suto Rājakumaro nāma nāmat- 10. -o amacco rājakiccesu byavato satimā 11. vidu. Adā gāmattayam tassā deviyā soma |
ต (9) สฺสาเสโก สุโต ราชกุมาโร นาม นาม (10) โต อมจฺโจ ราชกิจฺเจสุ พฺยาวโต สติมา (11) วิทู // |
พระโอรสแห่งพระนาง มีนามว่า ราชกุมาร ทรงเป็นอำมาตย์ เป็นผู้สติปัญญาเฉียบแหลม ทรงรอบรู้ในราชกิจทั้งหลาย |
12. ဟီပတိ ပသန္နော သဗ္ဗဒါ ဒါသ ပရိဘောဂေန ဘုည္ဇိတုံ။ |
12. hipati pasanno sabbadā dāsa pribhogena buññjitum |
อทา คามตฺตยํ ตสฺสา เทวิยา โส ม (12) หีปติ ปสนฺโน สพฺพทา ทาสปริโภเคน ภุญฺชิตุ // |
พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นทรงพอพระทัย ได้พระราชทานหมู่บ้าน 3 แห่งแก่พระเทวีนั้น เพื่อทรงใช้สอย ด้วยการใช้สอยข้าทาสทุกเมื่อ |
13. အနိစ္စတာ ဝသံ တဿာ ဂတာယ ပန ဒေဝိယာ ရာ 14. ဇ ရာဇကုမာရဿ အဒါ ဂါမတ္တယံ ပုန။ အဌဝီသ |
13. Aniccatā vasam tassā gatāya pana deviyā rā- 14. -jā Rājakumārassa adā gāmattayam puna. Aṭhavīsa |
(13) อนิจฺจตาวสํ ตสฺสา คตาย ปน เทวิยา รา (14) ชา ราชกุมารสฺส อทา คามตฺตยํ / ปุน // |
เมื่อพระเทวีพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ไปแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็พระราชทานหมู่บ้านทั้ง 3 แห่งนั้นแก่พระราชกุมารต่ออีก |
15. တိ ဝဿာနိ ရဇ္ဇံ ဓမ္မေန ကာရိယ မာရနန္တိက ရောဂဿ 16. ဝသံ ပတ္တေ နရာဓိပေ။ သရန္တော ဓမ္မရာဇဿ မဟန္တံ ဂု |
15. -ti vassāni rajjam dhammena kātriya māranantika rogassa- 16. vassam patte narādipe. Saranto dhammarājassa mahantam gu- |
อฏฺฐวีส (15) ติ วสฺสานิ รชฺชํ ธมฺเมน การิย มารนนฺติกโรคสฺส (16) วสํ ปตฺเต นราธิเป // |
ครั้นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงครองราชย์โดยธรรมได้ 28 ปี ก็ทรงพระประชวรหนัก |
17. ဏသည္စယံ ကာရေတွာ သတ္ထုနော ဗိမ္ဗံ သဗ္ဗသောဝဏ္ဏ 18. ယံ သုဘံ။ ဂဟေတွာ တံ မဟန္တေန သက္ကာရေန သုမာနသော |
17. ṇa saññcayam kāretvā satthuno bimbam sabbasovaṇṇa- 18. yam subham. Gahetvā tam mahatena sakkārena sumānaso |
สรนฺโต ธมฺมราชสฺส มหนฺต คุ (17) ณสญฺจยํ กาเรตฺว สตฺถุโน พิมฺพํ สพฺพโสวณฺณ (18) ยํ สุภํ // |
(พระราชกุมาร) ทรงระลึกถึงพระกรุณาธิคุณอันมากมายของพระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงธรรม จึงให้สร้างพระพุทธรูปอันทำแล้วด้วยทองทั้งปวง อันงดงาม |
19. ဥပသင်္ကမ္မ ရာဇာနံ အာဟ စိန္တိတမတ္တနော။ ဘာဝံ ကတွာ |
19. upasaṅkamma rājanam āha cintitamattano. Bhavamkatvā |
คเหตฺวา ตํ มหนฺเตน สกฺกาเรน สุมานโส (19) อุปสงฺกมฺม ราชานํ อาห จินฺติตมตฺตโน // |
ผู้มีพระหฤทัยเบิกบาน ได้นำเอาพระพุทธรูปนั้นพร้อมเครื่องสักการะมากมาย เข้าไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน ได้กราบทูลตามความคิดเห็นของพระองค์ว่า |
20. နိဒံ သတ္ထုဗိမ္ဗံ သောဝဏ္ဏယံ သုဘံ အကာသိံ ဝေါ ဝ 21. ရံ ပုညံ သာမိ တုမှေ နူမောဒထ။ ဂါမတ္တယံ ပိ ဝေါ |
20. nidam satthubimbam sovaṇṇyam subham akāsim vo va- 21. -ram puññam sāmi tumhe nūmodatha. Gāmattayam pivo |
ภาคํ กตฺวา (20) น อิทํ สตฺถุพิมฺพํ โสวณฺณยํ สุภํ อกาสึ โว ว (21) รํ ปุญฺญํ สามิ ตุมฺเห”นุโมทถ // |
ข้าพระพุทธเจ้า ได้สร้างพระพุทธรูปที่ทำแล้วด้วยทองอันงดงามนี้ ขอแบ่งส่วนบุญให้ข้าแต่พระองค์ ขอพระองค์จงอนุโมทนาบุญอันประเสริฐด้วยเถิด |
22. သာမိ ပုဗ္ဗေ ဒိန္နန္တု မေ အဟံ ဣမဿေဝ မုနိန္ဒဿ ဒေမိ တ 23. ည္စာ နူမောဒထ။ ဧဝံ ဝုတ္တေ မဟီပါလော ရောဂေ |
22. sāmi pubbe dinnantu me again imasseva munidassa demi ta 23. ññcā nūmodatha. Evam vutte mahipālo roge |
คามตฺตฺยํ ปิ โว (22) สามิ ปุพฺเพ ทินฺนนฺตุ เม อหํ อิมสฺเสว มุนินฺทสฺส เทมิ ต (23) ญฺจานุโมทถ // |
ข้าแต่พระองค์ สำหรับหมู่บ้านทั้งสาม ที่พระองค์พระราชทานแก่ข้าพระพุทธเจ้านั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายแด่พระพุทธเจ้า (พระพุทธรูป) องค์นี้ ขอพระองค์จงอนุโมทนาบุญนั้นด้วยเถิด |
24. နာတုရမာနသော သာဓု သာဓူတိ ဝတွာန တုဌဟတ္ထော 25. ပမောဒိတော။ ဒယာ ပရော မဟာထေရော ထေရော မုဂ္ဂလိ |
24. nāturamānaso sadhu, sadhūti vatvāna tuṭhahattho 25. pamodito. Dayā payo mahātheyo theyo muggali |
เอวํ วุตฺเต มหีปาโล โรเค (24) นาตุรมานโส สาธุ สาธูติ วตฺวาน ตุฏฺฐหตฺโถ (25) ปโมทิโต // |
ครั้นพระราชกุมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าแผ่นดินถึงจะมีพระทัยกระสับกระส่ายเพราะโรคภัย ก็ยังทรงยกพระหัตถ์เปล่า ตรัสอนุโททนาว่า ดีแล้ว ดีแล้ว |
26. ပုတ္တကော သုမေဓတ္တ သုမေဓောတိ လဒ္ဓနာမော စ ပဏ္ဍိတော |
26. puttako sumedhatta sumedhoti laddhanāmo ca paṇṭito |
ทยาปโร มหาเถโร เถโร มุคฺคลิ (26) ปุตฺตโก สุเมธตฺต สุเมโธติ ลทฺธนาโม จ ปณฺฑิโต // |
พระมุคคลิปุตตกเถระ เป็นพระมหาเถระที่มากไปด้วยความเอ็นดู และท่านผู้เป็นบัณฑิตนามว่า สุเมธ เพราะมีปัญญาดี |
27. ဗြဟ္မပါလော တထာ ဗြဟ္မဒေဝေါ သမ္ပန္နသီလဝါ သော နော 28. ဗဟုဿုတော သံဃသေနဝှေါ ဝရပဏ္ဍိတော။ ဧတေသံ ပ |
27. brahmapālo tathā brhamadevo sampanna silavā so no 28. bahussuto samghasena vho varapaṇṭito. Etesam pa- |
(27) พฺรหฺมปาโล ตถา พฺรหฺมเทโว สมฺปนฺนสีลวา โสโน (28) พหุสฺสุโต สํฆเสนาวฺโห วรปณฺฑิโต // |
พระพรหมปาละ และพระพรหมเทวะ ผู้มีศีล พระโสนะ ผู้เป็นพหูสูตร พระผู้เป็นวรบัณฑิตนามว่า สังฆเสนะ |
29. န ဘိက္ခူနံ သံမုခါ သော သုမာနသော ဇလံ ပါတေသိ ကတွာန သ 30. က္ခိန္တု ဝသုဓါတလံ။ တတော သော တံ မဟာမစ္စော ဗိမ္ဗံ သောဝ |
29. na bikkhūnam sammukhā so sumānaso jalam pātesi katavana sa- 30. kkhintu vasudhātalam. Tato so tan mahāmacco bibam so va- |
เอเตสํ ป (29) น ภิกฺขูนํ สํมุขา โส สุมานโส ชลํ ปาเตสิ กตฺวาน ส (30) กฺขินฺตุ วสุธาตลํ // |
และต่อหน้าพระภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น มีพระทัยยินดีทรงหลั่งน้ำ (ทักษิโณทก) ให้พื้นพสุธาเป็นพยาน |
31. ဏ္ဏယံ သုဘံ ပတိဌာပိယ ကာရေသိ ဂုဟံ ကည္စနထူပိကံ။ |
31. -ṇṇayam subham patiṭhāpiya kāresi guham kaññcanathūpikam. |
ตโต โส ตํ มหามจฺโจ พิมฺพํ โสว (31) ณฺณยํ สุภํ ปติฏฺฐาปิย กาเรสิ คุหํ กญฺจนถูปิกํ // |
ลำดับนั้น มหาอำมาตย์นั้นได้ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปทองอันงดงามนั้น แล้วให้สร้างคูหาอันเป็นสถูปทอง (ครอบทับ) |
32. ကတွာန မင်္ဂလံ ဗုဒ္ဓပတိမာယ ဂုဟာယစ အကာသေဝံ ပဏီ 33. ဓာနံ နိဗ္ဗိန္နော ဘဝသင်္ကတေ။ ကရောန္တေန မယာဧတံ ယံ ပု |
32. Katvāna maṅgalam Buddhapatimāya guhāyaca akāsevam paṇī 33. dhānam nibbinno bhavasaṅkate. Karonetana mayā etam yam pu- |
(32) กตฺวาน มงฺคลํ พุทฺธปติมาย คุหาย จ อกาเสวํ ปณี (33) ธานํ นิพฺพินฺโน ภวสงฺกเต // |
ครั้นทำมงคลแด่พระพุทธปฏิมาและพระคูหาแล้ว ได้ทำปณิธาน อย่างนี้ว่า |
34. ညံ တံ သမာစိတံ ဟောတု သဗ္ဗညုတညာဏ ပတိဝေဓာ 35. ယ ပစ္စယော။ ယတ္တကာ တု မယာ ဒါသာ ဂါမတ္တယနိဝါ |
34. -ññam tam samācitam hotu sabbaññuta ññaṇa pative dhā- 35. -yā paccayo. Yattakā ta maya dāsā gamattayaniva- |
กโรนฺเตน มยา เอตํ ยํ ปุ (34) ญฺญํ ตํ สมาจิตมฺ โหตุ สพฺพญฺญุตญาณปติเวธา (35) ย ปจฺจโย // |
ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าผู้กำลังกระทำอยู่ได้สะสมไว้แล้วนี้ จงเป็นปัจจัย เพื่อการตรัสรู้ สัพพัญญุตญาณ |
36. သိနော ဒိန္နာ ဂုဟာယ သောဝဏ္ဏပတိမာယ မဟေသိ 37. နော။ ပုတ္တော မေ ပါ ပပုတ္တောဝါ အညော ဝါ ပန ညာ |
36. -sino dinnā guhāya sovaṇṇapatimāya mahesi 37. no. Putto me va paputto va añño va panañña |
ยตฺตกา ตุ มยา ทาสา คามตฺตฺยนิวา (36) สิโน ทินฺนา คุหาย โสวณฺณปติมาย มเหสิ (37) โน // |
บรรดาทาสและผู้คนในสามหมู่บ้านมีจำนวนเท่าใด ที่ข้าพเจ้าได้ถวายแล้วแก่พระคูหาและแก่พระพุทธรูปทองคำ |
38. တကော ယော ကောစိ ပါပ သံကပ္ပေါ နရော အဿဒ္ဓ 39. မာနသော။ ကရေယျုပဒ္ဒုဝံ တေသံ ဒါသာနံ သော နရာဓမော |
38. tako yo koci pāpa samkappo naro assaddha 39. mānāso. Kareyyupadduvam tesam dāsānam si naramamo |
ปุตฺโต เม วา ปปุตฺโต วา อญฺโญ วา ปน ญา (38) ตโก โย โกจิ ปาปสํกปฺโป นโร อสฺสทฺธ (39) มานโส // |
บุตรหรือหลานหรือญาติคนอื่น ๆ ใครก็ตามที่มีความคิดชั่วช้า ไม่มีจิตใจศรัทธา |
40. မေတ္တေယျ (မိတ္တိယျ) ဒိပဒိန္ဒဿ ဒဿနံ နာထိဂစ္ဆတူ 41. တိ။ |
40. Metteya dipadindassa dassanam nāthigacchatū 41. ti |
กาเรยฺยุปทฺทุวํ เตสํ ทาสานํ โส นราธโม (40) เมตฺเตยฺยธิปทินฺทสฺส ทสฺสนํ นาถิคจฺฉตู (41) ติ //0 // |
คนผู้มืดบอด หากทำให้เกิดอุปัทวันตรายแก่ทาสทั้งหลายเหล่านั้น ขอคนนั้นจงอย่าได้เห็นพระ (ศรีอาริย) เมตไตรเลย |
ระเบียงภาพ
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- ↑ Blagden, C. (1914) The Myazedi Inscriptions. Journal of the Asiatic Society of Great Britain and Ireland, pp. 1063-1069. Retrieved from https://www.jstor.org/stable/25189254
- ↑ Burmese Literature. Myanmar: Ministry of Education of the government of Myanmar. 2018. p. 1.
- ↑ Burmese Encyclopedia,Volume 9
- ↑ 5.0 5.1 Ministry of Burmese Culture- Myanmar Inscriptions, Volume 1, p.6-7
- ↑ Burmese Translation Society (1965). Myazedi inscription. Yangon: Sarpay Beikman Burmese Translation Society.
- ↑ 7.0 7.1 จารึกมยะเจดีย์ หลักฐานสาคัญของประวัติศาสตร์พม่า ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
- "Myazedi". Myanmar Travel information 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-01. สืบค้นเมื่อ 2006-08-13.
- Khin Maung Nyunt (December 2000). "Myazedi and Rosetta Stone Inscriptions". Perspective. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-08. สืบค้นเมื่อ 2006-08-13.
- "Myazedi Pagoda". Myanmar's NET. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-12. สืบค้นเมื่อ 2006-08-13.
- Nishida Tatsuo 西田龍雄 (1955) "Myazedki 碑文における中古ビルマ語の研究 Myazedi hibu ni okeru chūko biruma go no kenkyū. Studies in the later ancient Burmese Language through Myazedi Inscriptions." 古代學 Kodaigaku Palaeologia 4.1:17-31 and 5.1: 22-40.
- Yabu Shirō 藪 司郎 (2006). 古ビルマ語資料におけるミャゼディ碑文<1112年>の古ビルマ語 / Kobirumago shiryō ni okeru myazedi hibun senhyakujūninen no kobirumago ōbī / Old Burmese (OB) of Myazedi inscription in OB materials. Osaka: Osaka University of Foreign Studies.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]Myazedi Inscription at AncientBagan.com [2]
Myazedi Inscription A at Zenodo [3]
Myazedi Inscription B at Zenodo [4]