จารึกเมียเซดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จารึกเมียเซดี
วัสดุหิน
ตัวหนังสือพม่า มอญ ปยู บาลี
สร้างค.ศ. 1113
ที่อยู่ปัจจุบันพุกาม ประเทศพม่า
จารึกเมียเซดี *
  ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก
ที่เก็บรักษาเมียเซดี (หลักที่ 1)
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีพุกาม (หลักที่ 2)
ประเทศ พม่า
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
อ้างอิง[1]
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2558
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีความทรงจำแห่งโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

จารึกเมียเซดี (พม่า: မြစေတီ ကျောက်စာ, ออกเสียง: [mja̰.zè.dì t͡ɕaʊ̯ʔ.sà]), จารึกยาซะโกนมา (ရာဇကုမာရ် ကျောက်စာ) หรือ จารึกกู-บเยาะจี้ (ဂူပြောက်ကြီး ကျောက်စာ) ซึ่งจารึกไว้เมื่อ ค.ศ. 1113 เป็นจารึกหินภาษาพม่าที่เก่าแก่ที่สุดที่หลงเหลืออยู่ เมียเซดี แปลว่า "เจดีย์มรกต" ส่วนชื่อจารึกนั้นมาจากเจดีย์ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง จารึกมีทั้งหมดสี่ภาษาได้แก่ พม่า มอญ ปยู และบาลี[1]: 158  ซึ่งทั้งหมดบอกเล่าเรื่องราวของเจ้าชายยาซะโกนมาและพระเจ้าจานซิต้า ความสำคัญหลักของจารึกเมียเซดีคือ จารึกนี้ทำให้สามารถถอดรหัสอักษรของภาษาปยูได้

จารึกมีภาษาพม่า 39 บรรทัด ภาษาบาลี 41 บรรทัด ภาษามอญ 33 บรรทัด และภาษาปยู 26 บรรทัด สามารถแบ่งออกได้เป็นสามประเภท คือ การบริจาค ความปรารถนา และการสาปแช่ง

ปัจจุบันมีจารึกสองหลักอยู่ในประเทศพม่า หลักหนึ่งอยู่ที่บริเวณเมียเซดีในหมู่บ้านมยี่นกะบา (ทางใต้ของพุกาม) ภาคมัณฑะเลย์ อีกหลักได้รับการค้นพบโดย ดร.เอมานูเอ็ล ฟอร์ชฮัมเมอร์ นักวิชาการภาษาบาลีชาวเยอรมัน ใน ค.ศ. 1886–1887 และปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีพุกาม จารึกเมียเซดีได้ขึ้นทะเบียนเป็นความทรงจำแห่งโลกจากยูเนสโก

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  • "Myazedi". Myanmar Travel information 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-01. สืบค้นเมื่อ 2006-08-13.
  • Khin Maung Nyunt (December 2000). "Myazedi and Rosetta Stone Inscriptions". Perspective. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-08. สืบค้นเมื่อ 2006-08-13.
  • "Myazedi Pagoda". Myanmar's NET. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-12. สืบค้นเมื่อ 2006-08-13.
  • Nishida Tatsuo 西田龍雄 (1955) "Myazedki 碑文における中古ビルマ語の研究 Myazedi hibu ni okeru chūko biruma go no kenkyū. Studies in the later ancient Burmese Language through Myazedi Inscriptions." 古代學 Kodaigaku Palaeologia 4.1:17-31 and 5.1: 22-40.
  • Yabu Shirō 藪 司郎 (2006). 古ビルマ語資料におけるミャゼディ碑文<1112年>の古ビルマ語 / Kobirumago shiryō ni okeru myazedi hibun senhyakujūninen no kobirumago ōbī / Old Burmese (OB) of Myazedi inscription in OB materials. Osaka: Osaka University of Foreign Studies.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

Myazedi Inscription at AncientBagan.com [2]

Myazedi Inscription A at Zenodo [3]

Myazedi Inscription B at Zenodo [4]