จายาปูรา

พิกัด: 2°31′58.8″S 140°43′1.2″E / 2.533000°S 140.717000°E / -2.533000; 140.717000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จายาปูรา
นครจายาปูรา
Kota Jayapura
จากบนซ้ายไปขวา: ทิวทัศน์ของจายาปูรา สะพานยูเทฟา ป้ายบอกทางเมืองจายาปูรา ท่าเรือจายาปูราภายในอ่าวฮุมโบลดต์ มัลจายาปูรา และวิวเมืองจายาปูราในตอนกลางคืน
ธงของจายาปูรา
ธง
ตราราชการของจายาปูรา
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
Prasetya Adi Karya
(ความมุ่งมั่นเท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่ดีที่สุด)
ที่ตั้งของจายาปูราในจังหวัดปาปัว
ที่ตั้งของจายาปูราในจังหวัดปาปัว
OpenStreetMap
แผนที่
จายาปูราตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
จายาปูรา
จายาปูรา
ที่ตั้งของจายาปูราในประเทศอินโดนิเซีย
พิกัด: 2°31′58.8″S 140°43′1.2″E / 2.533000°S 140.717000°E / -2.533000; 140.717000
ประเทศ อินโดนีเซีย
จังหวัดปาปัว
ก่อตั้ง7 มีนาคม พ.ศ. 2453[1]
สถานะเมืองของประเทศอินโดนีเซีย2 สิงหาคม พ.ศ. 2536[2]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีเบ็นฮูร์ โตมี มาโน
 • รองนายกเทศมนตรีรุสตัน ซารู
พื้นที่
 • ทั้งหมด940.0 ตร.กม. (362.9 ตร.ไมล์)
ความสูง287 เมตร (942 ฟุต)
ประชากร
 (ประมาณกลางปี พ.ศ. ​​2564)
 • ทั้งหมด404,004 คน
 • ความหนาแน่น430 คน/ตร.กม. (1,100 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลาตะวันออกของอินโดนีเซีย)
ภูมิอากาศป่าฝนเขตร้อน
เอชดีไอเพิ่มขึ้น 0.801 (สูงมาก)
เว็บไซต์jayapurakota.go.id

จายาปูรา (อินโดนีเซีย: Jayapura) เป็นเมืองหลักและเมืองใหญ่สุดของจังหวัดปาปัว บนเกาะนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทางเหนือของเกาะนิวกินีและกินพื้นที่ 940.0 ตารางกิโลเมตร (362.9 ตารางไมล์) ขอบเขตทางเหนือติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกและอ่าวยซ ซูดาร์โซ ทางตะวันออกติดกับประเทศปาปัวนิวกินี ทางใต้ติดกับอำเภอเกอเออรม และทางตะวันตกติดกับอำเภอจายาปูรา

ด้วยจำนวนประชากร 398,478 คนตามสำมะโน พ.ศ. 2563 ทำให้จายาปูราเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในเกาะนิวกินี แซงหน้าพอร์ตมอร์สบี เมืองหลวงของประเทศปาปัวนิวกินี[3] และยังเป็นเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีประชากรเพิ่มขึ้น 55.23% จากสำมะโน พ.ศ. 2553[4] จำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงกลาง พ.ศ. 2564 อยู่ที่ 404,004 คน[5]

จายาปูราเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ในอินโดนีเซียตะวันออก (เป็นรองเพียงมากัซซาร์, เดนปาซาร์ และมานาโด) โดยมีจีดีพีประมาณการใน พ.ศ. 2559 อยู่ที่ 19.48 ล้านล้านรูปียะฮ์[6] ณ พ.ศ. 2560 เมืองนี้ยังเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดอันดับ 2 ของประเทศ เป็นรองเพียงจาการ์ตา[7] จายาปูรายังมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมากที่ 0.801[8]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ชื่อ จายาปูรา (Jayapura) มาจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า "นครแห่งชัยชนะ" (जय ชย: "ชนะ"; पुर ปุร: "นคร") และได้รับจากซูฮาร์โตในฐานะส่วนหนึ่งของการล้มล้างอิทธิพลของซูการ์โน ปัจจุบันมีการเรียกร้องจากประชาชน ข้าราชการ และนักวิชาการบางส่วนให้เปลี่ยนชื่อเมืองเพื่อให้สะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่นมากขึ้น เหมือนการตั้งชื่อสะพานยูเทฟา บางส่วนแนะนำให้รวมคำระหว่าง โกตาตาบี (Kota Tabi) เนื่องจากเมืองนี้อยู่ในเขตภูมิภาคตาบี กับ พอร์ตนุมบัย (Port Numbay) หรือสั้น ๆ ว่า Numbay เนื่องจากคำว่า "Port" เป็นภาษาอังกฤษ และไม่ใช่ภาษาท้องถิ่น คำว่า "Numbay" มาจากแม่น้ำ Numbay ที่ไหลผ่านตัวนคร โดยมีความหมายว่า "น้ำสะอาด" ส่วน "Tabi" หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" ในภาษาท้องถิ่นกาโยปูเลา[9][10]

ในสมัยอาณานิคมดัตช์ นครนี้มีชื่อเรียกว่า ฮอลลันเดีย (ดัตช์: Hollandia) ซึ่งอิงจากภูมิภาคฮอลแลนด์ ทางเนเธอร์แลนด์จัดให้นครนี้เป็นเมืองหลวงของนิวกินีของเนเธอร์แลนด์ใน พ.ศ. 2488 หลังจากยกดินแดนนี้ให้กับฝ่ายอำนาจบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 นครนี้จึงมีชื่อเมืองทั้งภาษาดัตช์/อินโดนีเซีย: ฮอลลันเดีย/โกตาบารู (เมืองใหม่) เมื่ออินโดนีเซียครอบครองนครนี้ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 จึงเหลือเพียงชื่อ โกตาบารู (Kota Baru) ต่อมาใน พ.ศ. 2507 นครนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ซูการ์โนปูรา (Sukarnopura)[11] ตามประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซูการ์โน จนกระทั่งได้รับชื่อปัจจุบันในช่วงปลาย พ.ศ. 2511

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ[แก้]

ภาพทางตะวันออกของอ่าวยซ ซูดาร์โซ ปรากฏหมู่บ้านลอยน้ำโตบาตี (ซ้าย) และเอิงรซ (ขวา) ซึ่งอยู่ทางใต้ของจายาปูรา

ภูมิประเทศของจายาปูรามีความหลากหลายจากหุบเขาสู่เนินเขา ที่ราบ และภูเขาที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลถึง 700 เมตร (2,300 ฟุต) จายาปูรามีพื้นที่ประมาณ 94,000 เฮกตาร์ (230,000 เอเคอร์) และแบ่งออกเป็น 5 อำเภอ มีผู้อาศัยประมาณ 30% นอกนั้นเป็นพื้นที่ขรุขระ หนองน้ำ และป่าอนุรักษ์

จายาปูรามีสภาพภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Af) ที่มีฝนชุกทั้งปี

ข้อมูลภูมิอากาศของจายาปูรา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.9
(87.6)
30.5
(86.9)
30.8
(87.4)
31.0
(87.8)
31.3
(88.3)
31.0
(87.8)
30.7
(87.3)
30.7
(87.3)
31.1
(88)
31.0
(87.8)
31.3
(88.3)
30.9
(87.6)
30.93
(87.68)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.9
(80.4)
26.6
(79.9)
26.8
(80.2)
26.9
(80.4)
27.1
(80.8)
26.9
(80.4)
26.7
(80.1)
26.6
(79.9)
26.9
(80.4)
27.0
(80.6)
27.1
(80.8)
26.9
(80.4)
26.87
(80.36)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 22.9
(73.2)
22.7
(72.9)
22.9
(73.2)
22.9
(73.2)
23.0
(73.4)
22.8
(73)
22.7
(72.9)
22.6
(72.7)
22.8
(73)
23.0
(73.4)
22.9
(73.2)
22.9
(73.2)
22.84
(73.12)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 288
(11.34)
272
(10.71)
315
(12.4)
209
(8.23)
161
(6.34)
173
(6.81)
126
(4.96)
158
(6.22)
154
(6.06)
143
(5.63)
182
(7.17)
244
(9.61)
2,425
(95.47)
แหล่งที่มา: Climate-Data.org[12]

เขตบริหาร[แก้]

อำเภอของจายาปูรา

นครนี้แบ่งออกเป็น 5 อำเภอ ตารางข้างล่างแบ่งข้อมูลตามพื้นที่และประชากรในสำมะโน พ.ศ. 2553[13] และสำมะโน พ.ศ. 2563[14] กับจำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงกลาง พ.ศ. 2564[15] และแสดงที่ตั้งของสำนักงานอำเภอ

อำเภอ พื้นที่
ตารางกิโลเมตร[16]
ประชากร
สำมะโน
2553[17]
ประชากร
สำมะโน
2563(a)
ประชากร
ประมาณการ
กลาง 2564
ศูนย์กลาง
เขตบริหาร
มัวราตามี 626.7 11,137 13,325 18,414 Skouw Mabo
อาเบอปูรา 155.7 73,157 86,251 123,811 โกตาบารู
เฮรัม 63.2 40,435 47,532 68,107 วาเออนา
จายาปูราดักซีนา (จายาปูราใต้) 43.4 66,937 79,554 100,181 เอินตรป
จายาปูราอูตารา (จายาปูราเหนือ) 51.0 65,039 77,098 93,491 ตันจุงรียา
รวม 940.0 256,705 303,760 404,004

อ้างอิง[แก้]

  1. "Sejarah Singkat Kota Jayapura – Dinas Komunikasi Dan Informatika". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2020. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
  2. RI, Setjen DPR. "J.D.I.H. - Dewan Perwakilan Rakyat". www.dpr.go.id. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2023-04-03.
  3. "Badan Pusat Statistik".
  4. "Badan Pusat Statistik".
  5. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2022.
  6. Badan Pusat Statistik (2017). Produk Domestik Regional Bruto Kabupaten/Kota di Indonesia 2012-2016. Jakarta: Badan Pusat Statistik.
  7. Fadli, Ahmad (5 February 2017). "BPS: Delapan Kota Ini dengan Biaya Hidup Paling Mahal di Indonesia". indsutry.co.id (ภาษาอินโดนีเซีย).
  8. "Badan Pusat Statistik".
  9. Jubi.co.id. "Nama Kota Jayapura Diusulkan Diganti Jadi Port Numbay". teras.id (ภาษาอินโดนีเซีย).
  10. "NUMBAY, JAYAPURA, TANAH TABI, NEGERI MATAHARI TERBIT". IMAJI PAPUA (ภาษาอินโดนีเซีย). 2019-09-18. สืบค้นเมื่อ 2022-10-15.
  11. ในรูปสะกด Sukarnapura อักษรท้าย "o" ในชื่อซูการ์โน (Sukarno) ถูกแทนที่ด้วยอักษร "a" เพื่อตั้งชื่อนครตามซูการ์โนในภาษาชวาที่อักษร "o" ออกเสียงเป็น [ɔ] แต่เขียนเป็น "a"
  12. "Climate: Jayapura". Climate-Data.org. สืบค้นเมื่อ 24 July 2020.
  13. Biro Pusat Statistik, Jakarta, 2011.
  14. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
  15. Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2022.
  16. Kota Jayapura
  17. www.citypopulation.de retrieved 2013-12-19

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]