ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดินีเซี่ยวเฉฺวียนเฉิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดินีเซี่ยวเฉฺวียนเฉิง
จักรพรรดินีหนิวฮูลู
จักรพรรดินีแห่งราชวงศ์ชิง
ดำรงพระยศ18 พฤศจิกายน 1834 – 13 กุมภาพันธ์ 1840
ก่อนหน้าสมเด็จจักรพรรดินีเสี้ยวเซิงเซียน
ถัดไปสมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวเจินเซียน
พระราชสมภพ24มีนาคม 1808
สวรรคต13 กุมภาพันธ์ 1840 (รวมพระชันษา 31 ปี)
พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง
พระราชสวามีสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง
ราชวงศ์ชิง


จักรพรรดินีเสี้ยวเฉฺวียนเฉิง (จีน: 孝全成皇后; อังกฤษ: Empress Xiàoquánchéng) เป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่สองในจักรพรรดิเต้ากวง และพระราชมารดาในจักรพรรดิเสียนเฟิง

พระราชประวัติ

[แก้]

จักรพรรดินีเสี้ยวเฉฺวียนเฉิง ประสูติในราชสกุล หนิวฮูลู่ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2351 ในรัชสมัยจักรพรรดิเจียชิ่ง ใช้ชีวิตในวัยพระเยาว์ในเมืองซูโจว และเมื่อปี 1820 จักรพรรดิเจียชิ่งสวรรคตและเจ้าชายหมินหนิงได้เสวยราชย์ต่อมาเป็นจักรพรรดิเต้ากวง และในปีต่อมาในการเลือกพระสนม หนิวฮูลู่ได้รับเลือกให้เป็น พระสนมเฉฺวียน พระนางได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นพระสนมเอกเฉฺวียน (全嫔) หนึ่งปีต่อมา เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 1823 พระนางหนิวฮูลู่ได้รับการเลื่อนพระยศขึ้นไปเป็นพระมเหสีเฉฺวียน (全妃)

สองปีต่อมาวันที่ 8 เมษายน 1825 พระนางหนิวฮูลู่ให้กำเนิดพระราชธิดาพระองค์ที่สามในจักรพรรดิเต้ากวง และประมาณหนึ่งเดือนต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พระนางหนิวฮูลู่ได้รับการเลื่อนยศเป็นเฉฺวียนกุ้ยเฟย (全贵妃)

ในช่วงฤดูร้อน พระนางหนิวฮูลู่ก็ทรงพระครรภ์ครั้งที่สองและเมื่อ 12 พฤษภาคม 1826 พระนางให้กำเนิดพระราชธิดาพระองค์ที่สี่ในจักรพรรดิเต้ากวง เมื่อ 17 กรกฎาคม 1831 พระนางหนิวฮูลู่ให้กำเนิดเจ้าชายอี้จู่ซึ่งต่อมาได้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิเสียนเฟิง

วันที่ 16 มิถุนายน 1833 สมเด็จจักรพรรดินีเสี้ยวเซิงเซียนทิวงคต พระนางหนิวฮูลู่จึงได้เป็นผู้ดูแลฝ่ายในต่อ เพราะตามพระยศพระนางหนิวฮูลู่ทรงอาวุโสที่สุดในบรรดาพระสนมของจักรพรรดิเต้ากวงและ 18 พฤศจิกายน 1834 ตอนพระชันษา 26 ปี พระนางหนิวฮูลู่ก็ได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดินี

ทิวงคต

[แก้]

จักรพรรดินีเสี้ยวเฉฺวียนเฉิงเสด็จทิวงคตในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1840 สาเหตุที่แท้จริงของการทิวงคตไม่ได้บันทึกไว้ในบันทึกประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ หกวันหลังจากพระนางเสด็จทิวงคต จักรพรรดิเต้ากวงทรงสถาปนาจิงกุ้ยเฟยเป็นจิงหวงกุ้ยเฟยปกครองฝ่ายในต่อมา

พระสาทิสลักษณ์ที่ยังคงเหลืออยู่

[แก้]