ข้ามไปเนื้อหา

คำสัตย์ปฏิญาณเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอห์น รอเบิตส์ ประธานศาลสูงสุด เป็นผู้กล่าวนำคำสัตย์ปฏิญาณเข้ารับตำแหน่งของโจ ไบเดิน เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021

คำสัตย์ปฏิญาณเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐ (อังกฤษ: oath of office of the President of the United States) เป็นคำสัตย์ปฏิญาณหรือคำยืนยันที่ประธานาธิบดีสหรัฐกล่าวไว้หลังจากรับตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ยังไม่ปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ถ้อยคำของคำสัตย์ปฏิญาณระบุไว้ในหมวด 2 มาตรา 1 ข้อ 8 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐ

หนึ่งในสองของข้อ คำสัตย์ปฏิญาณหรือคำยืนยัน ที่จริงแล้วเป็นเพียงการระบุคำที่ต้องพูด แต่หมวด 6 ข้อ 3 ต้องการให้บุคคลที่ระบุไว้ในนั้น "ผูกมัดโดยคำสัตย์ปฏิญาณหรือคำยืนยันเพื่อสนับสนุนรัฐธรรมนูญนี้" ในทางตรงกันข้าม คำสัตย์ปฏิญาณต้องการมากกว่าคำสาบานทั่วไปและความจงรักภักดี ข้อนี้ทำให้ประธานาธิบดีคนใหม่ต้องสาบานหรือยืนยันว่าเขา "จะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อปกปักรักษา คุ้มครอง และปกป้องรัฐธรรมนูญสหรัฐ"[1]

ข้อความ

[แก้]

ก่อนที่จะเข้าสู่การรับตำแหน่ง เขาจะต้องทำตามคำสัตย์ปฏิญาณหรือคำยืนยันต่อไปนี้:

—"ข้าพเจ้า (ชื่อ) ขอให้คำสาบาน (หรือยืนยัน) อย่างจริงจังว่า จะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอย่างซื่อสัตย์ และจะพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อปกปักรักษา คุ้มครอง และปกป้องรัฐธรรมนูญสหรัฐ [ขอพระเจ้าทรงโปรด]"[2]

การใช้คัมภีร์ไบเบิล

[แก้]

ตามแบบแผนนั้น ประธานาธิบดียกมือขวาขึ้นแล้ววางมือซ้ายไว้บนคัมภีร์ไบเบิลหรือหนังสืออื่น ๆ ขณะกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณเข้ารับตำแหน่ง ใน ค.ศ. 1789 จอร์จ วอชิงตันกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณเข้ารับตำแหน่งกับแท่นบูชาพระคัมภีร์ที่ยืมมาจาก เซนต์จอห์นลอดจ์เลขที่ 1ในนิวยอร์ก และเขาจูบพระคัมภีร์หลังจากนั้น[3][4] ประธานาธิบดีต่อจากนั้นและรวมถึง แฮร์รี เอส. ทรูแมน ได้ปฏิบัติตามด้วย[5] ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ เป็นผู้สิ้นสุดประเพณีนี้ใน ค.ศ. 1953 เมื่อเขากล่าวคำอธิษฐานแทนที่จะจูบพระคัมภีร์[6]

ธีโอดอร์ รูสเวลต์ ไม่ได้ใช้พระคัมภีร์ในการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณ เมื่อ ค.ศ. 1901[7] ทั้งจอห์น ควินซี แอดัมส์ และแฟรงกลิน เพียร์ซ[8] สาบานด้วยหนังสือกฎหมายด้วยความตั้งใจที่จะสาบานต่อรัฐธรรมนูญ[9] ลินดอน บี. จอห์นสัน สาบานด้วยตำราสวดมนต์ของโรมันคาทอลิกบนแอร์ฟอร์ซวัน[10] แฮร์รี ทรูแมน, ดไวต์ ไอเซนฮาวร์ , ริชาร์ด นิกสัน, จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช, บารัก โอบามา และดอนัลด์ ทรัมป์ แต่ละคนสาบานด้วยพระคัมภีร์สองเล่ม[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kesavan, Vasan. "Essays on Article II: Oath of Office". The Heritage Foundation. สืบค้นเมื่อ July 20, 2016.
  2. "The Constitution of the United States of America: Analysis and Interpretation, Centennial Edition, Interim Edition: Analysis of Cases Decided by the Supreme Court of the United States to June 26, 2013" (PDF). Washington, DC: U.S. Government Printing Office. 2013. p. 13.
  3. http://www.stjohns1.org/portal/gwib "St. John's Lodge No. 1, Ancient York Masons".
  4. Joint Congressional Committee on Inauguration Ceremonies website: "Inauguration of President George Washington, 1789" เก็บถาวร 2009-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 2009-02-16.
  5. McCullough, David (1992). Truman. New York: Simon and Schuster. pp. 347, 729. ISBN 0-671-86920-5. Harry Truman is a notable example, as he bent and kissed the Bible upon taking the oath for the first time, on April 12, 1945, as well as at his second inauguration.
  6. "Inaugural fun facts". Toledo, OH: WTOL.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-16. สืบค้นเมื่อ 2010-08-07.
  7. 7.0 7.1 "Bibles Used in Inaugural Ceremonies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2015. สืบค้นเมื่อ March 24, 2015. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  8. Wallner (2004), pp. 249–255.
  9. Kennon, Donald (2005). "Presidential Inaugurations Past and Present". สืบค้นเมื่อ 2006-12-06.
  10. Glass, Andrew J. (February 26, 1967). "Catholic Church Missal, Not Bible, Used by Johnson for Oath at Dallas" (PDF). The Washington Post. สืบค้นเมื่อ June 15, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]