จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งภาควุยก๊กของสามก๊กจี่
กิชิวาจินเด็ง (ญี่ปุ่น : 魏志倭人伝 ; โรมาจิ : Gishi Wajinden ; "บันทึกรัฐวุยก๊ก ศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับชาววะ") หรือ เว่ย์จื้อวัวเหรินจฺว้าน (จีน : 魏志倭人伝 ; พินอิน : Wèi zhì Wōrén zhuàn ) เป็นข้อเขียนในบันทึกประวัติศาสตร์จีนสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ หรือจดหมายเหตุสามก๊ก ) เล่มที่ 30 ที่ว่าด้วยเรื่องชาววะ ซึ่งภายหลังรู้จักในฐานะชาวญี่ปุ่น โดยบรรยายถึงจารีต ภูมิศาสตร์ และแง่มุมอื่น ๆ เกี่ยวกับดินแดนวะ ผู้คนและผู้อาศัยในหมู่เกาะญี่ปุ่น ในเวลานั้น สามก๊กจี่ เขียนโดยตันซิ่ว ในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก ช่วงปลายศตวรรษที่ 3 (ระหว่างปี ค.ศ. 280 ที่เป็นปีที่ง่อก๊กล่มสลาย ถึงปี ค.ศ. 297 ซึ่งเป็นปีเสียชีวิตของตันซิ่ว)[ 1]
ไม่มีศาสตร์นิพนธ์ที่แยกเป็นอิสระที่เรียกว่า "กิชิวาจินเด็ง" ในสามก๊กจี่ และคำอธิบายเกี่ยวกับกับชาวยามาโตะ เป็นส่วนหนึ่งของภาควุยก๊ก (魏書 เว่ย์ชู ) เล่มที่ 30 "ศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับชาวออหวน (อูหฺวาน), เซียนเปย์ และตงอี๋ " ชื่อ "กิชิวาจินเด็ง" นั้นมาจากสำนักพิมพ์อิวานามิ บุงโกะ ของญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์ข้อเขียนนี้ในชื่อว่า กิชิวาจินเด็ง ในปี ค.ศ. 1951[ 2] ดังนั้นบางคนจึงเห็นว่าชื่อนี้ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาของข้อเขียน เพราะข้อเขียนไม่เพียงกล่าวถึงชาววะ แต่ยังกล่าวถึงชาวตงอี๋ ("อนารยชนทางตะวันออก") ทั้งหมด[ 3] โยชิฮิโระ วาตานาเบะนักวิจัยเรื่องสามก๊กกล่าวว่าบันทึกเกี่ยวกับคาบสมุทรเกาหลีและญี่ปุ่นไม่ได้อิงจากประสบการณ์โดยตรงของตันซิ่ว แต่เขียนขึ้นจากข่าวลือและรายงานจากผู้คนที่เดินทางไปคาบสมุทรเกาหลีและญี่ปุ่น ความถูกต้องของข้อมูลจึงเป็นที่น่าสงสัย โยชิฮิโระยังแนะนำเพิ่มเติมว่า "ควรตรวจสอบโลกทัศน์และสถานการณ์ทางการเมืองของตันซิ่ว ไม่เพียงแต่โดยการอ่านสามก๊กจี่ และอรรถาธิบาย อย่างครบถ้วนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำความคุ้นเคยกับคัมภีร์ในลัทธิขงจื๊อ ที่สร้างโลกทัศน์เพื่อทำความเข้าใจด้วย"[ 4]
กิชิวาจินเด็ง ถือเป็นครั้งแรกที่มีการเขียนบทความเกี่ยวกับหมู่เกาะญี่ปุ่นในบันทึกประวัติศาสตร์จีนอย่างเป็นทางการ ศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับชาวตงอี๋ในโฮ่วฮั่นชู มีลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่บันทึกในกิชิวาจินเด็ง แต่กิชิวาจินเด็ง เขียนขึ้นก่อน[ 5]
Hōga, Toshio (2015). There was no need for the Yamataikoku controversy. - An approach to solving the Yamataikoku location issue 邪馬台国論争は必要なかった-邪馬台国所在地問題の解決へのアプローチ- .
Okamoto, Kenichi (1995). Yamataikoku ronsō 邪馬台国論争 . Kōdansha sensho mechie. Tōkyō: Kōdansha. ISBN 978-4-06-258052-6 .
Kidder, Jonathan Edward (2007). Himiko and Japan's elusive chiefdom of Yamatai: archaeology, history, and mythology . Honolulu (T.H.): University of Hawai'i press. ISBN 978-0-8248-3035-9 .
Tōdō, Akiyasu; Takeda, Akira; Kageyama, Terukuni (2010). 倭国伝 中国正史に描かれた日本 . 講談社学術文庫 2010. Kōdansha. ISBN 978-4-06-292010-0 .
Nishio, Kanji (1999). Kokumin no rekishi . Atarashii-Rekishi-Kyōkasho-o-Tsukuru-Kai. Tōkyō: Sankei Shinbun Nyūsu Sābisu. ISBN 978-4-594-02781-0 .
Nishio, Kanji (2009). 国民の歴史(上) 決定版 . 文春文庫. 文藝春秋. ISBN 978-4-16-750703-9 .[ลิงก์เสีย ]
Furuta, Takehiko (November 1971). 「邪馬台国」はなかった 解読された倭人伝の謎 . 朝日新聞社.
Matsumoto, Seichō (1968). 古代史疑 . 中央公論社. ASIN B000JA64RY .
Yoshimura, Takehiko (November 2010). ヤマト王権 シリーズ 日本古代史② . 岩波新書(新赤版)1272. 岩波書店. ISBN 978-4-00-431272-7 .
Wada, Sei; Ishihara, Michihiro, บ.ก. (November 1951). 魏志倭人伝・後漢書倭伝・宋書倭国伝・隋書倭国伝 . 岩波文庫. 岩波書店. ASIN B000JBE2JU .
Ishihara, Michihiro, บ.ก. (1985). 魏志倭人伝・後漢書倭伝・ 宋書倭国伝・隋書倭国伝――中国正史日本伝1 . Iwanami-bunko (Shintei, dai 58 satsu hakkō ed.). Tōkyō: Iwanami-Shoten. ISBN 978-4-00-334011-0 .
Watanabe, Yoshihiro (May 2012). 魏志倭人伝の謎を解く 三国志から見る邪馬台国 . 中公新書 2164. 中央公論新社. ISBN 978-4-12-102164-9 .