การ์ตูนล้อการเมือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฟล์:ภาพล้อฝีพระหัตถ์-บุรฉัตรไชยากร.jpg
ภาพการ์ตูนล้อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ขณะเป็นกรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ฝีพระหัตถ์โดย รัชกาลที่ 6 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนล้อการเมืองภาพแรกๆ ของไทย
โรสเวลต์เสนอแทฟต์เป็นมกุฎราชกุมาร: หน้าปกนิตยสาร Puck, ค.ศ. 1906

การ์ตูนล้อการเมือง (อังกฤษ: Political Cartoon) หรือ การ์ตูนบรรณาธิการ (อังกฤษ: Editorial Cartoon) คือภาพการ์ตูนที่วาดและตีพิมพ์ลงสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ โดยใช้ทักษะทางศิลปะ, อติพจน์ และการเสียดสีเพื่อตั้งคำถามถึงผู้มีอำนาจและดึงดูดความสนใจต่อการทุจริต, ความรุนแรงทางการเมือง และประเด็นสังคมอื่น ๆ[1][2]

ผู้บุกเบิกการ์ตูนล้อการเมืองคือเจมส์ กิลเรย์ ผู้อาศัยอยู่ในอังกฤษช่วงหลังคริสต์ศตวรรษที่ 18[3]

ประวัติ[แก้]

จุดเริ่มต้น[แก้]

การ์ตูนล้อการเมือง เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ โดยชาวอังกฤษ ชื่อ เจมส์ กิลล์เรย์ (ค.ศ. 1757-1815) ได้เขียนภาพล้อเลียนพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศอังกฤษ ที่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ศีลธรรมของชนชั้นสูง และการทำงานของรัฐบาล ทำให้ประชาชนคลายความเครียดจากภาวะสงครามในขณะนั้น

การ์ตูนล้อการเมืองในประเทศไทย[แก้]

สำหรับในประเทศไทย การ์ตูนล้อการเมืองเริ่มขึ้นมาพร้อม ๆ กับวิวัฒนาการการ์ตูนในประเทศไทย ยิ่งโดยเฉพาะในยุครัชกาลที่ 6 ที่สื่อสิ่งพิมพ์และประชาธิปไตยเฟื่องฟู ในยุคนี้มีการ์ตูนล้อการเมืองเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

นักเขียนการ์ตูนการเมืองคนแรกของไทยคือ ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) ซึ่งมีโอกาสเดินทางไปศึกษาวิชาศิลปะการวาดภาพที่ยุโรป ได้นำเทคนิคจากต่างประเทศ วาดภาพการ์ตูนเป็นลายเส้น ได้รับรางวัลการประกวดภาพล้อจากรัชกาลที่ 6 โดยการเขียนการ์ตูนล้อเลียนนักการเมืองสำคัญๆ ในยุคนั้น

นอกจากนี้แล้วชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ ไอ เคียว คาวา ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองไทยสนับสนุนให้ นักเขียนการ์ตูน วาดภาพการ์ตูนลงใน หนังสือพิมพ์ยาโมโต จวบจนสมัยรัชกาลที่ 7 การ์ตูนเริ่มซบเซาเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดปัญหาการขาดแคลนกระดาษพิมพ์

จนกระทั่งยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 วงการการ์ตูนเริ่มฟื้นฟูขึ้นพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่ก็มีการ์ตูนที่วาดล้อเลียนจนเกินขอบเขต ทำให้มีกฎหมายของคณะราษฎรออกมาควบคุม

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประยูร จรรยาวงศ์ ได้วาดภาพการ์ตูนที่มีตัวแสดงชื่อ "ศุขเล็ก" ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำตัว เขียนการ์ตูนขำขันและการ์ตูนล้อการเมือง ได้รับรางวัลจากการประกวดการ์ตูนสันติภาพโลก เมื่อ พ.ศ. 2503 ที่นิวยอร์ก ชื่อภาพ การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย (The Last Nuclear Test) และได้รับรางวัลแมกไซไซ ที่ประเทศฟิลิปปินส์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sterling, Christopher (2009). Encyclopedia of Journalism. Thousand Oaks: Sage Publications, Inc. pp. 253–261. ISBN 978-0-7619-2957-4.
  2. Shelton, Mitchell. "Editorial Cartoons: An Introduction | HTI". hti.osu.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-06-28.[ลิงก์เสีย]
  3. "Satire, sewers and statesmen: why James Gillray was king of the cartoon". The Guardian. 16 June 2015.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]