ข้ามไปเนื้อหา

อติพจน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อติพจน์ (บางตำราก็ว่า อธิพจน์[1]) เป็นโวหารภาพพจน์อย่างหนึ่งที่มีลักษณะในการกล่าวเกินจริงเพื่อสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่รุนแรงเกินจริง มักพบบ่อยในงานวรรณกรรม และงานศิลป์หลากหลายรูปแบบ ทว่าผู้เขียนไม่ได้จงใจที่จะหลอกผู้อ่าน และผู้อ่านควรจะเข้าใจว่าผู้เขียนกำลังใช้ลักษณะภาพพจน์นี้อยู่[2] อติพจน์พบในภาษาไทยและภาษาอื่นทั่วโลก โดยตามหลักภาษาศาสตร์แล้วไม่ควรมีข้อยกเว้น อติพจน์สามารถแบ่งออกเป็นอติพจน์ และอวพจน์

อติพจน์

[แก้]

อติพจน์ คือการกล่าวมากเกินจริง มีความหมายตรงกับคำว่า Hyperbole เช่น

  • คิดถึงใจจะขาด (คือ ไม่ได้จะขาดจริง ๆ)
  • คอแห้งเป็นผง (คือ ไม่ได้แห้งเป็นผงจริง ๆ)
  • หนาวกระดูกจะหลุด (คือ ไม่ได้จะหลุดจริง ๆ)
  • มีข้อผิดพลาดเป็นล้าน (คือ ไม่ได้ถึงล้านจริง ๆ)
  • รักคุณเท่าฟ้า
  • คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก

อวพจน์

[แก้]

อวพจน์ คือการกล่าวน้อยเกินจริงหรือการใช้โวหารต่ำเกินจริง[3] มีความหมายตรงกับคำว่า Meiosis หรือ Understatement เช่น

  • เล็กเท่าขี้ตาแมว
  • เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว
  • รอสักอึดใจเดียว
  • ขอเวลาสักวินาที
  • เรื่องขี้ผง

อ้างอิง

[แก้]
  1. ทีมงานทรูปลูกปัญญา (2013-10-17). "ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย". trueplookpanya. สืบค้นเมื่อ 2024-09-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. Oxford Advanced Learner's Dictionary. Retrieved February 15, 2012.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-15. สืบค้นเมื่อ 2013-08-30.