ข้ามไปเนื้อหา

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2565

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2565

← 2563 14 สิงหาคม และ 25 กันยายน พ.ศ. 2565  2566 →

จำนวนทั้งสิ้น 2 จังหวัดที่มีการเลือกตั้ง
  First party Second party Third party
 
Paetongtarn Shinawatra.jpg
Jurin Laksanawisit 2009 (cropped).jpg
พรรค เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ กลุ่มการเมืองอื่นๆ
ที่นั่งก่อนหน้า 9 1 66
ที่นั่งหลังเลือกตั้ง 11 1 64
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น2 ลดลง2
คะแนนเสียง 550,280
% 57.17
จังหวัดที่ชนะ 2 0

แผนที่แสดงจังหวัดที่มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดใน พ.ศ. 2565
     มีการเลือกตั้ง      ไม่มีการเลือกตั้ง

     เพื่อไทย ได้ที่นั่ง      เพื่อไทย รั้งตำแหน่ง
     ประชาธิปัตย์ รั้งตำแหน่ง      ไม่สังกัดพรรคใด รั้งตำแหน่ง

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2565 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ทั้งสิ้น 2 จังหวัด โดยเป็นจังหวัดที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ได้แก่ กาฬสินธุ์ และจังหวัดที่มีการเลือกตั้งใหม่เนื่องจากนายก อบจ. ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ได้แก่ ร้อยเอ็ด

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ได้รับเลือกตั้ง

[แก้]
รูปแบบ ความหมาย
ดำรงสมาชิกภาพ
สิ้นสุดสมาชิกภาพ
กกต./ศาลอุทธรณ์ สั่งให้มีการเลือกตั้งนายก อบจ.ใหม่
สี พรรค
พรรคเพื่อไทย

แยกตามรายภาคตามการแบ่งของราชบัณฑิตยสถาน

จังหวัด นาม สังกัด หมายเหตุ
กาฬสินธุ์ เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล พรรคเพื่อไทย
ร้อยเอ็ด เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ พรรคเพื่อไทย

การเลือกตั้ง

[แก้]

เรียงลำดับตามวันที่จัดการเลือกตั้ง

กาฬสินธุ์ร้อยเอ็ด

กาฬสินธุ์

[แก้]

จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ (นายก อบจ. กาฬสินธุ์) ครั้งที่ 5 สืบเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลอุธรณ์ที่ระบุว่าการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2563 มิได้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์เที่ยงธรรม

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล จากพรรคเพื่อไทย ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายเหนือกว่า ชานุวัฒน์ วรามิตร ด้วยคะแนนเสียงรวมกว่า 60 เปอร์เซ็นต์[1]

คะแนนเสียง
เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล
  
60.27%
ชานุวัฒน์ วรามิตร
  
36.40%
เขมจิรา อนันทวรรณ
  
3.33%
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2565
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
เพื่อไทย เฉลิมขวัญ หล่อตระกูล (2) 249,093 60.27 +15.58
กลุ่มกาฬสินธุ์ต้องดีกว่านี้ ชานุวัฒน์ วรามิตร (1) 150,443 36.40 –15.50
อิสระ เขมจิรา อนันทวรรณ (3) 13,784 3.33
ผลรวม 413,320 100.00
บัตรดี 413,320 95.24
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 9,724 2.24
บัตรเสีย 10,940 2.52
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 433,984 55.73
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 778,788 100.00
เพื่อไทย ได้ที่นั่งจาก อิสระ

ร้อยเอ็ด

[แก้]

จัดขึ้นในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด (นายก อบจ. ร้อยเอ็ด) ครั้งที่ 5 สืบเนื่องจากการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนสิทธิสมัครและสิทธิรับเลือกตั้งของ เอกภาพ พลซื่อ ดำรงตำแหน่งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด ขณะนั้น ด้วยข้อหาปราศรัยใส่ร้ายผู้สมัครคู่แข่งด้วยความเท็จ จึงทำให้ตำแหน่งนายก อบจ. ของเอกภาพเป็นอันสิ้นสุดลง

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ ผู้สมัครสังกัดพรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับที่หนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งนายก อบจ. ร้อยเอ็ด[2][3]

คะแนนเสียง
เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์
  
54.84%
จุรีพร สินธุไพร
  
23.06%
รัชนี พลซื่อ
  
21.13%
โยทกา โคตุระพันธ์
  
0.97%
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2565
พรรค ผู้สมัคร คะแนนเสียง % ±
เพื่อไทย เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ (2) 301,187 54.84 +16.47
อิสระ จุรีพร สินธุไพร (4) 126,649 23.06
อิสระ รัชนี พลซื่อ (1) 116,027 21.13 –18.34
อิสระ โยทกา โคตุระพันธ์ (3) 5,306 0.97
ผลรวม 549,169 100.00
บัตรดี 549,169 95.34
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 12,260 2.13
บัตรเสีย 14,588 2.53
ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 576,017 55.25
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,042,552 100.00
เพื่อไทย ได้ที่นั่งจาก อิสระ

หมายเหตุ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พิราบข่าวกาฬสินธุ์ (2022-08-15). "ไข่มุกในนามพรรคเพื่อไทยชนะใส! คะแนนทิ้งห่างคู่แข่งเกือบ 1 แสนคะแนน ว่าที่นายก อบจ.หญิง อายุน้อยที่สุดในกาฬสินธุ์". กาฬสินธุ์นิวส์ดอตคอม l Kalasinnews.com.
  2. "ผลเลือกตั้งนายก อบจ.ร้อยเอ็ดอย่างเป็นทางการ"เศกสิทธิ์"ชนะแลนด์สไลด์". bangkokbiznews. 2022-09-26.
  3. Ltd.Thailand, VOICE TV (2022-09-26). "แบรนด์ 'เพื่อไทย' แลนด์สไลด์ 'ร้อยเอ็ด' ส่งสัญญาณไม่เอา 'ลุง' ตั้งธงกวาด ส.ส.ยกจังหวัด". VoiceTV.