การสุขาภิบาล
การสุขาภิบาล (อังกฤษ: sanitation) เป็นวิธีการทางสุขอนามัยของการส่งเสริมสุขภาพโดยผ่านการป้องกันมนุษย์มิให้สัมผัสกับภัยจากปฏิกูล เช่นเดียวกับการบำบัดและการกำจัดที่เหมาะสมของของเสียและน้ำเสีย. ภัยนั้นอาจเป็นทั้งตัวการของโรคทางกายภาพ, ทางจุลินทรีย์ชีวภาพ, ทางชีววิทยาหรือทางเคมี. ปฏิกูลที่สามารถก่อปัญหาสุขภาพได้ได้แก่ อุจจาระของมนุษย์หรือมูลของสัตว์, ปฏิกูลของแข็ง, น้ำทิ้งจากครัวเรือน(น้ำเสีย, สิ่งโสโครก, ปฏิกูลอุตสาหกรรมและปฏิกูลเกษตรกรรม. วิธีการทางสุขอนามัยในการป้องกันอาจเป็นการใช้วิธีการทางวิศวกรรม (เช่น การบำบัดน้ำเสีย, การบำบัดสิ่งปฏิกูล, การระบายน้ำท่วมจากพายุ, การจัดการปฏิกูลของแข็ง, การจัดการอุจจาระ), เทคโนโลยีเรียบง่าย (เช่น ส้วมหลุม, ส้วมแห้ง, UDDT, และถังเกรอะ) หรือแม้แต่การปฏิบัติสุขลักษณะส่วนตัวง่ายๆ (เช่นการล้างมือด้วยสบู่, การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม).
องค์การอนามัยโลกระบุว่า
"การสุขาภิบาลโดยทั่วไปหมายถึงการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการสำหรับการกำจัดที่ปลอดภัยของปัสสาวะและอุจจาระของมนุษย์. การสุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคทั่วโลกและการปรับปรุงการสุขาภิบาลเป็นที่รู้จักกันว่าจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งในครัวเรือนและในทั้งชุมชน. คำว่า 'การสุขาภิบาล' ยังหมายถึงการบำรุงรักษาของสภาพทางสุขอนามัย, ผ่านการบริการเช่นการเก็บขยะและการกำจัดน้ำเสีย[1].
การสุขาภิบาลประกอบด้วยสี่รายการวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ (แม้ว่าอันแรกเท่านั้นที่มักจะมีการเชื่อมโยงอย่างมากกับคำว่า "สุขา+อภิบาล"):
- ระบบการจัดการของเสีย
- ระบบการจัดการน้ำเสีย
- ระบบการจัดการปฏิกูลของแข็ง
- ระบบระบายน้ำสำหรับน้ำฝน, ที่มักถูกเรียกว่าการระบายน้ำจากพายุฝน
แม้จะมีความจริงที่ว่าการสุขาภิบาลรวมถึงการบำบัดน้ำเสีย, ทั้งสองคำนี้มักจะถูกใช้เคียงข้างกัน: คนมีแนวโน้มที่จะพูดถึงเรื่องการสุขาภิบาลและการจัดการน้ำเสียซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจะต้องมีการแบ่งแยกในหัวข้อย่อยในบทความนี้. คำว่าการสุขาภิบาลได้รับการเชื่อมต่อกับหลายตัวอธิบายเพื่อให้คำว่าการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน, การสุขาภิบาลที่ปรับปรุงแล้ว, การสุขาภิบาลที่ยังไม่ปรับปรุง, การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม, การสุขาภิบาลนสถานที่ทำงาน, การสุขาภิบาลนิเวศวิทยา, การสุขาภิบาลแห้ง ทั้งหมดนี้ถูกใช้ในปัจจุบัน. การสุขาภิบาลควรได้รับพูดถึงว่าเป็นวิธีการที่เป็นระบบซึ่งรวมถึงการเก็บรวบรวม/การบรรจุ, การลำเลียง/การขนส่ง, การบำบัดและการกำจัดหรือนำมาใช้ใหม่[2].
การจัดการน้ำเสีย
[แก้]การจัดเก็บรวบรวม
[แก้]สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ ดูน้ำเสีย
เทคโนโลยีการสุขาภิบาลมาตรฐานในพื้นที่เขตเมืองคือการจัดเก็บรวบรวมน้ำเสียในท่อระบายน้ำ, การบำบัดมันในโรงบำบัดน้ำเสียเพื่อนำมาใช้ใหม่หรือกำจัดมันในแม่น้ำ, ทะเลสาบหรือในทะเล. ท่อระบายน้ำจะรวมเข้ากับท่อระบายน้ำฝนหรือแยกออกต่างหากเป็นท่อระบายน้ำสุขาภิบาล. ท่อระบายน้ำแบบรวมกันมักจะพบในภาคกลาง, ส่วนที่เก่าหรือพื้นที่ในเมือง. ฝนที่ตกหนักและการบำรุงรักษาไม่เพียงพอสามารถทำให้ท่อระบายน้ำแบบรวมกันมีน้ำล้นออกมา ทำให้ของเสียหลุดออกมาสู่สภาพแวดล้อม. งานด้านอุตสาหกรรมมักจะปล่อยน้ำเสียลงไปในท่อระบายน้ำ, ซึ่งสามารถทำให้การบำบัดน้ำเสียยุ่งยากขึ้นเว้นแต่อุตสาหกรรมจะมีการบำบัดก่อนปล่อยพวกมันออกมา[3].
ค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่สูงของระบบรวบรวมน้ำเสียแบบเดิมเป็นเรื่องยากที่จะจ่ายสำหรับประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ. บางประเทศจึงมีการส่งเสริมระบบรวบรวมน้ำเสียทางเลือกเช่นการระบายน้ำทิ้งแบบคอนโดมิเนียม, ซึ่งใช้ท่อที่มีขนาดที่เล็กกว่าที่ระดับความลึกที่ต่ำกว่าด้วยรูปแบบที่แตกต่างจากเครือข่ายการระบายน้ำทิ้งแบบเดิม.
การบำบัด
[แก้]สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ ดูน้ำเสีย ของเสีย.
การบำบัดที่ส่วนกลาง
[แก้]ในประเทศพัฒนาแล้ว การบำบัดน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองมีการทำอยู่ในขณะนี้อย่างกว้างขวาง, แต่ยังไม่เป็นสากล (สำหรับภาพรวมของเทคโนโลยี ดูการบำบัดน้ำเสีย). ในประเทศกำลังพัฒนา น้ำเสียส่วนใหญ่ยังคงถูกปล่อยออกโดยที่ยังไม่ได้รับการรักษาเข้าสู่สภาพแวดล้อม. ยกตัวอย่างเช่น, ในลาตินอเมริกามีประมาณ 15% เท่านั้นของน้ำเสียที่ถูกเก็บรวบรวมจะได้รับการบำบัด (ดูน้ำและสุขาภิบาลในละตินอเมริกา)
การบำบัด on-site, การกระจายการบำบัดออกจากศูนย์กลาง
[แก้]ในพื้นที่ชานเมืองและชนบทหลายแห่ง, ครัวเรือนจำนวนมากยังไม่ได้เชื่อมต่อกับท่อระบายน้ำ. พวกเขาปล่อยน้ำเสียของพวกเขาเข้าสู่ถังส้วมหรือชนิดอื่นๆของการสุขาภิบาล on-site. ระบบ on-site จะรวมพื้นที่หลายแห่งเพื่อใช้ระบายน้ำเข้าไปด้วย, ซึ่งต้องใช้พื้นที่อย่างมากของแผ่นดิน. นี้จะทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียไม่เหมาะสมสำหรับเมืองส่วนใหญ่.
พื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นด้วยมือมนุษย์เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งสำหรับตัวเลือกการบำบัดที่เป็นไปได้ในการกระจายออกจากศูนย์กลาง.
การกำจัดหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ของน้ำเสียที่ได้รับการบำบัดแล้ว
[แก้]การนำมาใช้ใหม่ของน้ำเสียที่ยังไม่ได้รับการบำบัดหรือได้รับการบำบัดบางส่วนในภาคเกษตรที่มีการชลประทานเป็นเรื่องธรรมดาในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย. การนำมาใช้ใหม่สำหรับน้ำเสียที่บำบัดแล้วในการจัดสวน, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสนามกอล์ฟ, การเกษตรที่มีการชลประทานและสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมจะกลายเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น.
ประเภทของการสุขาภิบาล
[แก้]คำว่าการสุขาภิบาลเชื่อมต่อกับคำอธิบายต่างๆที่มีความหมายเป็นบางประเภทของระบบสุขาภิบาลดังนี้:
สุขาภิบาลแห้ง
[แก้]คำว่า "สุขาภิบาลแห้ง" จะค่อนข้างเข้าใจผิดว่าสุขาภิบาลจะรวมถึงการล้างมือและไม่สามารถจะ "แห้ง" ได้. ความหมายที่แม่นยำยิ่งขึ้นจะเป็น "การบริหารจัดการอุจจาระแห้ง". เมื่อมีคนพูดถึง "การสุขาภิบาลแห้ง" พวกเขามักจะหมายถึงระบบสุขาภิบาลที่มีห้องสุขาแห้งที่มีโถปัสสาวะแยกต่างหาก, โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องน้ำแห้งปัสสาวะแยก (UDDT)[4].
การสุขาภิบาลเชิงนิเวศวิทยา
[แก้]การสุขาภิบาลเชิงนิเวศวิทยา, มักจะเรียกว่า Ecosan, เป็นวิธีการหนึ่ง, มากกว่าจะเป็นเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ที่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยความปรารถนาที่จะ "ครบวงจร" (ส่วนใหญ่สำหรับสารอาหารและสารอินทรีย์) ระหว่างการสุขาภิบาลและการเกษตรในลักษณะที่ปลอดภัย. พูดอีกทีหนึ่ง : "ระบบ Ecosan จะรีไซเคิลอย่างปลอดภัยสำหรับแหล่งที่มาของอุจจาระ (ธาตุอาหารจากพืชและสารอินทรีย์) เพื่อการผลิตพืชในลักษณะที่การใช้ทรัพยากรไม่หมุนเวียนจะมีน้อยที่สุด". เมื่อได้รับการออกแบบและดำเนินการอย่างเหมาะสม, ระบบ Ecosan จะให้ความปลอดภัยที่ถูกสุขลักษณะ, ประหยัด, และระบบครบวงจรเพื่อการแปลงอุจจาระของมนุษย์ให้เป็นสารอาหารกลับไปยังดิน, และแปลงน้ำให้กลับไปยังแผ่นดิน. Ecosan จะถูกเรียกว่าการสุขาภิบาลที่มุ่งเน้นทรัพยากรอีกด้วย.
การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
[แก้]การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเป็นการควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สร้างการเชื่อมโยงกับส่งผ่านเชื้อโรค. หมวดย่อยนี้เป็นการจัดการของเสียแบบแข็ง, การบำบัดน้ำและน้ำเสีย, การบำบัดของเสียจากอุตสาหกรรมและการควบคุมเสียงและมลพิษ.
การสุขาภิบาลที่ปรับปรุงแล้วและยังไม่ได้ปรับปรุง
[แก้]การสุขาภิบาลที่ปรับปรุงแล้วและยังไม่ได้ปรับปรุงหมายถึงการบริหารจัดการของอุจจาระของมนุษย์ในระดับครัวเรือน. คำศัพท์นี้เป็นตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการอธิบาย 'เป้าหมายของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ' ในการสุขาภิบาล, โดย 'โครงการร่วมตรวจสอบสำหรับน้ำประปาและสุขาภิบาล' ของ WHO/UNICEF.
การขาดสุขาภิบาล
[แก้]การขาดสุขาภิบาลหมายถึงการที่ไม่มีการสุขาภิบาล. ในแง่การปฏิบัติ มันมักจะหมายถึงการขาดห้องน้ำหรือการขาดห้องสุขาที่ถูกสุขอนามัยที่ทุกคนน่าจะต้องการที่จะใช้อย่างสมัครใจ. ผลจากการขาดสุขาภิบาลมักจะมีการถ่ายอุจจาระในที่สาธารณะ (และการถ่ายปัสสาวะในที่สาธารณะ แต่การนี้เป็นที่กังวลน้อยกว่า) ที่มีปัญหาต่อสุขภาพของประชาชนที่เกี่ยวข้องอย่างร้ายแรง.
การสุขาภิบาลในสถานที่
[แก้]การสุขาภิบาลภายในสถานเป็นการเก็บรวบรวมและการบำบัดของเสียจะถูกดำเนินการในสถานที่ที่เก็บมัน. ตัวอย่างเช่นการใช้ส้วมหลุม, ถังบำบัดน้ำเสีย, และถัง Imhoff.
การสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน
[แก้]การสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนเป็นคำที่ได้ถูกกำหนดให้กับห้าเกณฑ์ของความยั่งยืนโดย'พันธมิตรสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน'. เพื่อที่จะมีความยั่งยืน, ระบบสุขาภิบาลจะต้องเป็นไม่เพียงแต่ (i) มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ (ii) ได้รับการยอมรับทางสังคม, และ (iii) เหมาะสมในทางเทคนิคและ (iv) ในทางสถาบัน, มันก็ควรยัง (v) ปกป้องสภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ[5]. วัตถุประสงค์หลักของระบบสุขาภิบาลคือการป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์โดยการจัดหาสภาพแวดล้อมที่สะอาดและทำลายวงจรของการเกิดโรค.
การกำจัดของเสียที่เป็นของแข็ง
[แก้]สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ ดู'การจัดการของเสีย'
การกำจัดของเสียที่เป็นของแข็งจะดำเนินการมากที่สุดในหลุมฝังกลบ, แต่การเผา, การรีไซเคิล, การหมักและการแปลงเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพก็ยังทำอยู่เช่นกัน. ในกรณีของการฝังกลบ, ประเทศที่ก้าวหน้าแล้วมักจะมีหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดสำหรับการกลบหน้าทุกวัน (อังกฤษ: daily cover) ด้วยดิน, ในขณะที่ประเทศด้อยพัฒนาปกติจะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่เข้มงวดน้อย[6]. ความสำคัญของการกลบหน้าทุกวันอยู่ที่การลดลงของการติดต่อและการแพร่กระจายของเชื้อโรค. การกลบหน้าทุกวันยังช่วยลดการปล่อยกลิ่นและลดการการจายขยะเนื่องจากลมพัด. ในทำนองเดียวกัน, ประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมีข้อกำหนดสำหรับการปิดผนึกปริมณฑลของการฝังกลบด้วยดินเหนียวเพื่อลดการย้ายถิ่นของน้ำชะขยะที่อาจไปปนเปื้อนน้ำใต้ดิน (และด้วยเหตุนี้เป็นอันตรายต่อบางแหล่งของน้ำดื่ม).
เมื่อเลือกการเผา, การปล่อยมลพิษทางอากาศ, รวมทั้งส่วนประกอบของสารพิษบางอย่างเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์ต่อผู้อยู่อาศัย. การรีไซเคิลและการแปลงเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นตัวเลือกที่ยั่งยืนที่โดยทั่วไปมีค่าใช้จ่ายในวงจรชีวิตที่เหนือกว่า, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผลกระทบของระบบนิเวศทั้งหมดถูกนำมาพิจารณา[7]. ค่าของการหมักในท้ายที่สุดจะถูกจำกัดโดยความต้องการของตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์จากการหมัก.
การเตรียมอาหาร
[แก้]สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ ดู'ความปลอดภัยของอาหาร'
การสุขาภิบาลภายในอุตสาหกรรมอาหารหมายถึงการปรนนิบัติที่เพียงพอของพื้นผิวที่สัมผัสอาหารโดยกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์ของจุลินทรีย์ของพืชที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน, และในการลดจำนวนของจุลินทรีย์ที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่ออาหารหรือความปลอดภัยของสำหรับผู้บริโภค (องค๋การอาหารและยาสหรัฐ, รหัสของกฎระเบียบของรัฐบาลกลาง, หมายเลข 21CFR110, สหรัฐอเมริกา). ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลมีผลบังคับใช้สำหรับอุตสาหกรรมอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกา, ซึ่งถูกควบคุมโดย 9 CFR ส่วน 416 ร่วมกับ 21 CFR ส่วน 178.1010. ในทำนองเดียวกันในประเทศญี่ปุ่น, สุขอนามัยอาหารจะต้องมีผ่านการปฏิบัติตามกฎหมายสุขาภิบาลอาหาร[8].
ในอุตสาหกรรมอาหารและชีวเวชภัณฑ์, คำว่า "เครื่องสุขภัณฑ์" หมายความว่าอุปกรณ์ที่สามารถทำความสะอาดได้อย่างเต็มที่โดยใช้การทำความสะอาดในสถานที่ (อังกฤษ: clean-in-place (CIP)) และฆ่าเชื้อในสถานที่ (อังกฤษ: sterilization-in-place (SIP)): ที่สามารถปล่อยทิ้งได้ทั้งหมดจากสารละลายและของเหลวทำความสะอาดอื่นๆ. การออกแบบควรจะมีจำนวนของ deadleg (หมายถึงส่วนของท่อ ซึ่งอยู่ในระบบ ที่มีของเหลวขังนิ่งไม่เคลื่อนที่ ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ และมีโอกาสการปนเปื้อนไปกับผลิตภัณฑ์[9]) น้อยที่สุดหรือบริเวณทำความสะอาดมีความสับสนวุ่นวายเกินกว่าที่จะชะล้างสิ่งสกปรกที่ติดค้างอยู่ได้[10]. โดยทั่วไป, ในการปรับปรุงความสามารถในการทำความสะอาด, อุปกรณ์นี้จะทำจากสแตนเลสสตีล 316L (โลหะผสมที่มีโมลิบดีนัมจำนวนน้อย). พื้นผิวมักจะมีการขัดด้วยไฟฟ้าให้มีความขรุขระของผิวที่มีประสิทธิภาพหนาน้อยกว่า 0.5 ไมโครเมตรเพื่อลดความเป็นไปได้ของการยึดเกาะของแบคทีเรีย.
ผลกระทบต่อสุขภาพ
[แก้]สำหรับการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจใดๆ, การสุขาภิบาลอย่างเพียงพอร่วมกับสุขอนามัยที่ดีและน้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสุขภาพที่ดี. การขาดสุขอนามัยที่เหมาะสมทำให้เกิดโรค. ส่วนใหญ่ของโรคที่เกิดจากการสุขาภิบาลมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความยากจน. การขาดน้ำสะอาดและสุขอนามัยที่ไม่ดีได้ก่อให้เกิดโรคต่างๆและการแพร่กระจายของโรค. สุขาภิบาลเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี. หนึ่งในโรคที่สำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นจากการสุขาภิบาลที่ไม่ดีคือโรคท้องร่วง. การเสียชีวิตที่เกิดจากการท้องเสียคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 1.6 และ 2.5 ล้านคนทุกปี. ส่วนใหญ่ของผู้ได้รับผลกระทบคือเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบ. โรคอื่นๆที่เกิดจากการสุขาภิบาลที่ไม่ดีรวมถึง โรคพยาธิใบไม้ในเลือด, ริดสีดวงตาและการติดเชื้อหนอนในลำไส้ (helminthiases).
การสุขาภิบาลที่ไม่ดีเป็นผลให้เด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าปกติเกือบร้อยละ 50 ตั้งแต่มันมีการเชื่อมโยงโดยตรงกับโรคท้องร่วง. เด็กที่ทุกข์ทรมานจากโรคท้องร่วงมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นมีน้ำหนักต่ำซึ่งทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ เช่นการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันและโรคมาลาเรีย. การขาดการสุขาภิบาลเป็นปัญหาร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาและประเทศระหว่างการเปลี่ยนผ่านส่วนใหญ่.
ความสำคัญของการแยกอุจจาระและของเสียอยู่ในความพยายามที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่สามารถส่งผ่านทางของเสียของมนุษย์, ซึ่งทำให้เสียใจทั้งกับประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นเดียวกับประเทศที่กำลังพัฒนาในดีกรีที่แตกต่างกัน. มันคาดว่าสูงถึง 5 ล้านคนตายในแต่ละปีจากโรคที่มากับน้ำที่สามารถป้องกันได้[11], เป็นผลมาจากการปฏิบัติด้านสุขาภิบาลและด้านสุขอนามัยไม่เพียงพอ. ผลกระทบของการสุขาภิบาลมีผลกระทบต่อสังคมของผู้คนตลอดประวัติศาสตร์[12]. การสุขาภิบาลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตที่มีสุขภาพดี[13].
โรคที่เกี่ยวข้องและเงื่อนไขที่เกิดจากการขาดสุขาภิบาลและสุขอนามัยรวมถึง:
- โรคที่มากับน้ำ, ที่สามารถปนเปื้อนน้ำดื่ม
- โรคติดต่อทางโดยเส้นทางอุจจาระ-ช่องปาก
- การติดเชื้อพยาธิในลำไส้ (หนอน) - ประมาณสองพันล้านคนทั่วโลกได้ติดเชื้อพยาธิที่ไปกับดิน. พวกมันจะถูกส่งมาโดยการวางไข่ในอุจจาระของมนุษย์ซึ่งเป็นผลให้ปนเปื้อนดินในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี[14].
- การเจริญเติบโตเป็นแคระในเด็ก
- การขาดสารอาหาร, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก
รายชื่อของโรคที่อาจจะทำให้ลดลงได้ด้วยการเข้าถึงที่เหมาะสมกับการปฏิบัติด้านสุขาภิบาลและสุขอนามัยจะมีรายการที่ยาวมาก. ยกตัวอย่างเช่นในประเทศอินเดีย, 15 โรคถูกเรียงลำดับลงไปซึ่งอาจจะถูกขีดฆ่าออกโดยการสุขาภิบาลที่ปรับปรุงแล้ว[15]:
- โรคโลหิตจาง, ขาดสารอาหาร
- โรคพยาธิไส้เดือน (ประเภทหนึ่งของการติดเชื้อหนอนในลำไส้)
- Campylobacteriosis
- อหิวาตกโรค
- สารพิษไซยาโนแบคทีเรีย
- ไข้เลือดออก
- โรคตับอักเสบ
- โรคไข้สมองอักเสบญี่ปุ่น (JE)
- โรคฉี่หนู
- มาลาเรีย
- กลากเกลื้อนหรือโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา
- หิด
- โรคพยาธิใบไม้ในเลือด
- ริดสีดวงตา
- ไทฟอยด์และไข้รากสาดเทียมลำไส้
โปลิโอในความเป็นจริงโรคอื่นที่เกี่ยวข้องกับสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม
การเข้าถึงทั่วโลกที่กำลังปรับปรุง
[แก้]เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) ของสหประชาชาติจะรวมถึงเป้าหมายเพื่อลดลงครึ่งหนึ่งของสัดส่วนของคนที่ไม่สามารถเข้าถึงสุขอนามัยขั้นพื้นฐานในปี 2015. ในเดือนธันวาคมปี 2006, สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศว่าปี 2008 จะเป็น "ปีสากลแห่งการสุขาภิบาล", เพื่อระลึกถึงความคืบหน้าที่ช้าในการไปสู่เป้าหมายทางสุขาภิบาลของ MDGs[16]. ปีดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความตระหนักและการดำเนินการเพิ่อให้ได้ตามเป้าหมาย. ความกังวลที่ชัดเจนคือ:
- การลบทิ้งความอัปยศรอบๆการสุขาภิบาล, เพื่อที่ว่าความสำคัญของการสุขาภิบาลสามารถกล่าวถึงได้ง่ายขึ้นและในทางสาธารณะยิ่งขึ้น
- การเน้นเพื่อการลดความยากจน, สุขภาพและผลประโยชน์อื่นๆที่ไหลจากสุขอนามัยที่ดีขึ้น, การจัดสุขาภิบาลและการบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน
'โครงการตรวจสอบร่วมกันสำหรับน้ำประปาและสุขาภิบาล' (JMP) ของ WHO และองค์การยูนิเซฟได้กำหนดนิยามของคำว่าสุขาภิบาลที่ปรับปรุงแล้วดังนี้[17]:
- ห้องน้ำชักโครก หรือส้วมแบบชักโครก/เทน้ำล้างลงไปยังหลุมส้วมที่มีการเชื่อมต่อกับระบบระบายน้ำสุขาภิบาลหรือระบบบำบัดน้ำเสีย
- หลุมส้วมที่ปรับปรุงแล้วมีช่องระบายอากาศ
- หลุมส้วมมีแผ่นปิด
- ห้องน้ำหมัก
เจเอ็มพีเผยแพร่รายงานการประมาณที่อัปเดตทุกสองปีเกี่ยวกับประเภทต่างๆของแหล่งน้ำดื่มและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขาภิบาลในระดับชาติ, ระดับภูมิภาคและระดับโลก. ในเดือนมีนาคม 2012, JMP เผยแพร่อัปเดตล่าสุด[18]. ตามนิยามข้างต้น, 1.8 พันล้านคนได้ใช้การสุขาภิบาลที่ปรับปรุงแล้วในปี 2010 มากว่าในปี 1990, ทำให้อัตราร้อยละของผู้ที่ใช้สุขาภิบาลที่ปรับปรุงแล้วถึง 63% ทั่วโลก. อย่างไรก็ตาม โลกยังคงหลุดจากเป้าหมายการสุขาภิบาลตามโปรแกรมของ 'เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ'. 2.5 พันล้านคนยังขาดสุขาภิบาลที่ปรับปรุงแล้ว[19]. ตาม JMP, ถ้าแนวโน้มปัจจุบันยังคงต่อเนื่อง, ในปี 2015 2.4 พันล้านคนจะขาดการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกของสุขาภิบาลที่ปรับปรุงแล้ว. ร้อยละ 15 ของประชากรที่ยังคงถ่ายอุจจาระกลางแจ้ง, หมายถึงการถ่ายอุจจาระในสนาม, ป่า, พุ่มไม้, กลางแหล่งน้ำหรือที่ว่างเปล่าที่เปิดโล่งอื่นๆ. ตัวเลขนี้เท่ากับ 1.1 พันล้านคน. แม้ว่าสัดส่วนของคนที่ถ่ายอุจจาระกลางแจ้งจะลดลง, จำนวนที่แน่นอนยังคงอยู่ที่มากกว่าหนึ่งพันล้านเป็นเวลาหลายปี, เนื่องจากการเติบโตของประชากร[20]. ในปี 2011 มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์เปิดตัว 'ประดิษฐกรรมห้องสุขาแบบท้าทาย'เพื่อส่งเสริมวิธีที่ปลอดภัยกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าในการบำบัดน้ำเสียของมนุษย์. โปรแกรมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่อาจช่วยลดช่องว่างทางด้านสุขอนามัยของโลก.
ผลที่ออกมานี้นำเสนอความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญเมื่อของเสียอาจปนเปื้อนน้ำดื่มและก่อให้เกิดรูปแบบที่คุกคามชีวิตจากโรคอุจจาระร่วงกับทารก. เมืองส่วนใหญ่ไม่สามารถจ่ายเงินสำหรับสร้างระบบระบายน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสีย, อย่างที่ Sunita Narain เขียนออกมาในนิตยสารD+C Development and Cooperation. การสุขาภิบาลที่ปรับปรุงแล้ว, รวมทั้งการล้างมือและการทำน่ำให้บริสุทธิ์, สามารถช่วยชีวิตเด็ก 1.5 ล้านคนที่ตายจากโรคอุจจาระร่วงในแต่ละปี[21].
การวิจัยจาก'สถาบันพัฒนาโพ้นทะเล'แนะนำว่าการสุขาภิบาลและการส่งเสริมสุขอนามัยจำเป็นจะต้องถูก"ผลักดัน" อย่างหนักในการพัฒนา, ถ้า MDG ด้านสุขำภิบาลจะต้องตอบสนอง. ในปัจจุบันการส่งเสริมสุขาภิบาลและสุขอนามัยส่วนใหญ่ดำเนินการผ่านสถาบันเกี่ยวกับน้ำ. การวิจัยแย้งว่ามี, ในความเป็นจริง, หลายสถาบันที่ควรดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุขาภิบาลและสุขอนามัยให้ดีขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา. ตัวอย่างเช่นสถาบันการศึกษาสามารถสอนเกี่ยวกับสุขอนามัย, และสถาบันสุขภาพสามารถอุทิศทรัพยากรให้กับงานในเชิงป้องกัน (เพื่อหลีกเลี่ยง, เช่น, การระบาดของอหิวาตกโรค)[22]. นอกจากนี้ยังมีองค์กรภาคประชาสังคมทีบริจาคโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในขณะที่รัฐบาลกลางไม่สามารถทำเช่นนั้นด้วยตัวเองได้. ในประเทศกานา, มีเป็นองค์กรใหณ่สำหรับโปรแกรมเหล่านั้น, เรียกว่า CONIWAS (ความร่วมมือขององค์กรพัฒนาเอกชนเรื่องน้ำและการสุขาภิบาล) ตามที่ได้รายงานในนิตยสาร D+C Development and Cooperation.
โครงการวิจัยเชิงประสานงานด้านการสุขาภิบาลรวมโดยการนำของชุมชน (CLTS) ของ สถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนา (IDS) เป็นวิธีการที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเพื่อการสุขาภิบาลในชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและได้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จที่สัญญาไว้อย่างมากในขณะที่โปรแกรมการสุขาภิบาลในชนบทแบบดั้งเดิมได้ล้มเหลว. CLTS เป็นวิธีการสุขาภิบาลชนบทที่ไม่ได้รับการอุดหนุนทางการเงินที่อำนวยความสะดวกชุมชนในการรับรู้ปัญหาของการถ่ายอุจจาระกลางแจ้งและทำกิกรรมการจัดเก็บรวบรวมในการทำความสะอาดและกลายเป็น "ปราศจากการถ่ายอุจจาระกลางแจ้ง". มันใช้วิธีนำโดยชุมชนเช่นการทำแผนที่แบบมีส่วนร่วมและการวิเคราะห์ทางเดินระหว่างอุจจาระถึงปากเพื่อเป็นมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปฏิบัติ. นโยบาย IDS แนะนำว่าในหลายประเทศ MDG สำหรับสุขาภิบาลจะออกนอกเส้นทางและถามถึงวิธีการที่ CLTS จะสามารถใช้เป็นแนวทางและแพร่กระจายในขนาดใหญ่ในหลายประเทศและภูมิภาคในพื้นที่ที่การถ่ายอุจจาระในที่โล่งยังคงชนะอยู่[23].
ประวัติ
[แก้]ข้อมูลเพิ่มเติม: ประวัติศาสตร์ของน้ำประปาและสุขาภิบาล
หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของการสุขาภิบาลเมืองจะห็นได้ในหะรัปปา, Mohenjo-Daro, และที่ค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้ Rakhigarhi แห่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ. แผนของเมืองเหล่านี้ได้รวมระบบสุขาภิบาลเมืองแห่งแรกของโลก. ภายในเมือง, บ้านแต่ละหลังหรือกลุ่มของบ้านจะได้รับน้ำจากบ่อ. จากห้องหนึ่งที่ดูเหมือนจะได้รับสร้างสำรองไว้สำหรับการอาบน้ำ, น้ำเสียจะถูกพาไปท่อระบายน้ำที่ปิดไว้, ซึ่งเรียงรายถนนสายหลัก.
เมืองโรมันและโรมันวิลล่ามีองค์ประกอบของระบบสุขาภิบาล, การส่งมอบน้ำในถนนของเมืองเช่นเมืองปอมเปอี, และการสร้างทางระบายหินและทางระบายน้ำที่ทำจากไม้ในการเก็บรวบรวมและระบายทิ้งน้ำเสียจากพื้นที่ประชากรหนาแน่น, เช่นระบายจาก Cloaca Maxima ลงไปสู่แม่น้ำไทเบอร์ในกรุงโรม. แต่มีบันทึกเล็กๆของสุขาภิบาลอื่นๆในส่วนใหญ่ของยุโรปจนถึง'ยุคกลางสูง'. สภาวะที่ไม่มีสุขาภิบาลและการแออัดยัดเยียดได้มีอยู่แพร่หลายไปทั่วยุโรปและเอเชียในช่วงยุคกลาง, เป็นผลให้เกิดการระบาดกลียุคที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆเช่นโรคระบาดจัสติเนียน (ปี 541-542) และกาฬโรค (ปี 1347-1351) ซึ่งฆ่าคนหลายสิบล้านคนและ สังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง[24].
มีการตายของทารกและเด็กที่สูงมากในยุโรปตลอดยุคกลาง, เนื่องจากไม่เพียงแต่จะมีข้อบกพร่องในการสุขาภิบาลเท่านั้นแต่เนื่องจากแหล่งอาหารที่ไม่เพียงพอสำหรับประชากรซึ่งได้ขยายตัวเร็วกว่าการเกษตร[25]. เรื่องนี้ถูกซับซ้อนมากขึ้นจากสงครามที่เกิดขึ้นบ่อยและการแสวงหาผลประโยชน์ของพลเรือนโดยผู้ปกครองเผด็จการ.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ who.int
- ↑ Tilley, E., Ulrich, L., Lüthi, C., Reymond, Ph. and Zurbrügg, C. (2014). Compendium of Sanitation Systems and Technologies (2nd Revised Edition). Swiss Federal Institute of Aquatic Science and Technology (Eawag), Duebendorf, Switzerland
- ↑ Environmental Biotechnology: Advancement in Water And Wastewater Application, edited by Z. Ujang, IWA Proceedings, Malaysia (2003)
- ↑ "AKUT Sustainable Sanitation in Peru". 13 October 2014. สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.
- ↑ SuSanA (2008). Towards more sustainable sanitation solutions - SuSanA Vision Document. Sustainable Sanitation Alliance (SuSanA)
- ↑ George Tchobanoglous and Frank Kreith Handbook of Solid Waste Management, McGraw Hill (2002)
- ↑ William D. Robinson, The Solid Waste Handbook: A Practical Guide, John Wiley and sons (1986)
- ↑ Japan External Trade Organization. "Food Sanitation Law in Japan" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 1 March 2008.
- ↑ http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3196/dead-leg[ลิงก์เสีย]
- ↑ Treatment of deadleg plumbing areas
- ↑ Gleick, P. (2002) Dirty Water: Estimated Deaths from Water-Related Diseases 2000-2020, Pacific Institute for Studies in Development, Environment, and Security
- ↑ Ehlers, Victor (1943). Municipal and rural sanitation. New York: McGraw-Hill book company, inc.
- ↑ George, Rose (2008). The Big Necessity: The Unmentionable Worls of Human Waste and Why it Matters. New York: Metropolitan Books/Henrey Holt and Company.
- ↑ WHO (2014) Soil-transmitted helminth infections, Fact sheet N°366
- ↑ "Article in Hindustan Times: 15 diseases India can stamp out by improving sanitation". 1 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-09. สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.
- ↑ "Peri-urban Water and Sanitation Services". Springer. 2010.
- ↑ WHO and UNICEF types of improved drinking-water source on the JMP website เก็บถาวร 2011-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, WHO, Geneva and UNICEF, New York, accessed on June 10, 2012
- ↑ WHO and UNICEF Progress on Drinking-water and Sanitation: 2012 Update เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, WHO, Geneva and UNICEF, New York
- ↑ WHO and UNICEF Progress on Drinking-water and Sanitation: 2012 Update เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, WHO, Geneva and UNICEF, New York, page 2
- ↑ WHO and UNICEF Progress on Drinking-water and Sanitation: 2012 Update เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, WHO, Geneva and UNICEF, New York, page 5
- ↑ World Health Organization and UNICEF. Progress on Drinking Water and Sanitation: Special Focus on Sanitation.
- ↑ "Sanitation and Hygiene: knocking on new doors" (PDF). Overseas Development Institute. 2006. สืบค้นเมื่อ 2007.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 'Beyond Subsidies - Triggering a Revolution in Rural Sanitation' Institute of Development Studies (IDS) In Focus Policy Brief 10 July 2009.
- ↑ Carlo M. Cipolla, Before the Industrial Revolution: European Society and Economy 1000-1700, W.W. Norton and Company, London (1980) ISBN 0-393-95115-4
- ↑ Burnett White, Natural History of Infectious Diseases