ข้ามไปเนื้อหา

การประท้วงในประเทศซูดาน พ.ศ. 2561–2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประท้วงในประเทศซูดาน พ.ศ. 2561–2562
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงในโลกอาหรับ พ.ศ. 2561–2562
กลุ่มผู้ชุมนุมฉลองในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2019
วันที่19 ธันวาคม 2561 (2018-12-19) – 5 กรกฎาคม 2562
(6 เดือน 2 สัปดาห์ 2 วัน)
การประท้วงประปรายยังคงดำเนินต่อไป
สถานที่
สาเหตุ
เป้าหมาย
วิธีการ
ผล
  • อัลบะชีรประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน, ยุบรัฐบาลกลางและภูมิภาค, จัดตั้งรัฐบาลใหม่ และเลื่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งจะเปิดทางให้เขาสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีต่อไปได้อีกสมัย[5][6]
  • หลังการประท้วง กองทัพก่อรัฐประหาร; อัลบะชีรถูกโค่นอำนาจและถูกคุมขัง[7]
  • อะห์มัด อะวัฎ อิบน์ เอาฟ์ หัวหน้าคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองและประมุขแห่งรัฐโดยพฤตินัย ซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีกลาโหมและพันธมิตรของอัลบะชีร[7] ยอมลงจากตำแหน่งหลังถูกประท้วง โดยส่งต่ออำนาจให้แก่อับดุลฟัตตาห์ อัลบุรฮาน[8]
  • ผู้ประท้วงเรียกร้องให้มีการถ่ายโอนอำนาจสู่รัฐบาลพลเรือนทันที การประท้วงยังดำเนินต่อไป[9]
  • การสังหารหมู่คาร์ทูมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2562[10]
  • สหภาพแอฟริการะงับสมาชิกภาพของซูดานหลังการสังหารหมู่คาร์ทูม[11]
คู่ขัดแย้ง

ขบวนการพลเรือนกลุ่มต่าง ๆ และปัจเจกบุคคล

 ซูดาน

ผู้นำ
ไม่มีแกนนำแบบรวมศูนย์

ธันวาคม 2561 – เมษายน 2562
อุมัร อัลบะชีร
ประธานาธิบดี

มุฮัมมัด ฏอฮิร อะยะลา
นายกรัฐมนตรี

มุอ์ตัซซ์ มูซา
นายกรัฐมนตรี

มุฮัมมัด ฮัมดาน ดะเกาะลู
หัวหน้ากองกำลังสนับสนุนฉับไว

อะห์มัด อะวัฎ อิบน์ เอาฟ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เศาะลาห์ มุฮัมมัด อับดุลลอฮ์
หัวหน้าสำนักงานข่าวกรองและความมั่นคงแห่งชาติ


เมษายน 2562 – ปัจจุบัน
อะห์มัด อะวัฎ อิบน์ เอาฟ์
ประธานสภาทหารระยะเปลี่ยนผ่าน (11–12 เมษายน)

อับดุลฟัตตาห์ อัลบุรฮาน
ประธานสภาทหารระยะเปลี่ยนผ่าน (12 เมษายน–)
ความเสียหาย
เสียชีวิตมากกว่า 208 คน[12][13]
ถูกจับกุมมากกว่า 800 คน

ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เกิดเหตุการณ์เดินขบวนประท้วงขึ้นในหลายเมืองของประเทศซูดาน ส่วนหนึ่งเนื่องจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและสภาพเศรษฐกิจที่เสื่อมถอยในทุกระดับของสังคม[14] วัตถุประสงค์ของการประท้วงเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วจากการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนมาสู่การเรียกร้องให้ประธานาธิบดีอุมัร อัลบะชีร ก้าวลงจากตำแหน่ง[15][16]

ปฏิกิริยาที่รุนแรงของรัฐบาลซูดานต่อชุดการประท้วงดังกล่าวก่อให้เกิดความกังวลในระดับนานาชาติ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 อัลบะชีรประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและยุบรัฐบาลทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐต่าง ๆ แทน[17] ในวันที่ 8 มีนาคม อัลบะชีรประกาศว่าผู้หญิงทุกคนที่ถูกคุมขังจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลจะได้รับการปล่อยตัว[18] ในวันหยุดสุดสัปดาห์ของวันที่ 6–7 เมษายน เกิดการประท้วงขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน[19] ในวันที่ 10 เมษายน มีผู้พบเห็นทหารกำลังปกป้องกลุ่มผู้ประท้วงจากกองกำลังรักษาความมั่นคง[20] และในวันที่ 11 เมษายน กองทัพซูดานก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากอัลบะชีร

หลังการปลดอัลบะชีรออกจากตำแหน่ง การประท้วงตามท้องถนนที่จัดขึ้นโดยสมาคมวิชาชีพซูดาน (Sudanese Professionals Association) และกลุ่มต่อต้านที่นิยมประชาธิปไตยยังคงดำเนินต่อไป โดยเรียกร้องให้สภาทหารระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Military Council) ซึ่งกุมอำนาจอยู่นั้นหลีกทาง "โดยทันทีและไม่มีเงื่อนไข" ให้แก่รัฐบาลชั่วคราวที่นำโดยพลเรือน และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปอื่น ๆ ในซูดาน[21][9] การเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลร่วมชั่วคราวระหว่างสภาทหารฯ กับพลเรือนฝ่ายต่อต้านเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนเมษายนและในเดือนพฤษภาคม แต่ยุติลงเมื่อกองกำลังสนับสนุนฉับไว (Rapid Support Forces) และกองกำลังรักษาความมั่นคงอื่น ๆ ของสภาทหารฯ ใช้ความรุนแรงในการปราบปรามผู้ประท้วงในวันที่ 3 มิถุนายน จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 118 ราย[22] และยังมีผู้ถูกทำร้ายและถูกข่มขืนอีกด้วย[10]

ฝ่ายต่อต้านตอบโต้เหตุสังหารหมู่และการจับกุมหลังเหตุสังหารหมู่ด้วยการนัดหยุดงานทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 9–11 มิถุนายน[23] และเรียกร้องให้มีการขัดขืนอย่างสงบและการต่อต้านโดยสันติวิธีต่อไปจนกว่าสภาทหารฯ จะถ่ายโอนอำนาจแก่รัฐบาลที่เป็นพลเรือน[10][24] ในวันที่ 12 มิถุนายน กลุ่มต่อต้านตกลงที่จะยุติการนัดหยุดงาน และสภาทหารฯ ตกลงที่จะปล่อยตัวนักโทษการเมือง มีการวางแผนจัดการเจรจาครั้งใหม่เพื่อจัดตั้งรัฐบาลพลเรือน[25]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Aya Elmileik, What prompted the protests in Sudan?, Al Jazeera (December 26, 2018).
  2. Kimiko de Freytas-Tamura, Sudanese Protests, After Days of Violence, Turn Anger Over Bread Toward Bashir, New York Times (December 24, 2018).
  3. Khalid Abdelaziz, Explainer: Protesters in Sudan want end to Bashir's 30-year rule, Reuters (January 15, 2019).
  4. Declan Walsh, On Sudan's Streets, Young Professionals Protest Against an Autocrat, New York Times (January 24, 2019).
  5. "Bashir Calls on Parliament to Delay Amendments Allowing Him Another Term". Haaretz. Reuters. 22 February 2019. สืบค้นเมื่อ 22 February 2019.
  6. "Sudan Call Launch Campaign Against Al Bashir Re-Election". allAfrcia. 9 October 2018. สืบค้นเมื่อ 9 October 2018.
  7. 7.0 7.1 Declan Walsh & Joseph Goldstein (April 11, 2019). "Sudan's President Omar Hassan al-Bashir Is Ousted, but Not His Regime". New York Times.
  8. Sudan coup leader Awad Ibn Auf steps down, BBC News (April 13, 2019).
  9. 9.0 9.1 Sudan: huge crowds call for civilian rule in biggest protest since Bashir ousting, Reuters (April 18, 2019).
  10. 10.0 10.1 10.2 "Complete civil disobedience, and open political strike, to avoid chaos". Sudanese Professionals Association. 4 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2019. สืบค้นเมื่อ 7 June 2019.
  11. Sudan crisis: African Union membership suspended
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-02. สืบค้นเมื่อ 2019-06-29.
  13. https://www.thecut.com/2019/06/sudanese-influencer-spreads-awareness-of-massacre.html
  14. "Several killed in Sudan as protests over rising prices continue". Al Jazeera. 21 December 2018. สืบค้นเมื่อ 21 December 2018.
  15. "Sudanese police fire on protests demanding president step down". The Guardian. 17 January 2019. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
  16. Osha Mahmoud (25 December 2018). "'It's more than bread': Why are protests in Sudan happening?". Middle East Eye. สืบค้นเมื่อ 2 January 2019.
  17. David Hearst; Simon Hooper; Mustafa Abu Sneineh (1 March 2019). "EXCLUSIVE: Sudanese spy chief 'met head of Mossad to discuss Bashir succession plan'". Middle East Eye. สืบค้นเมื่อ 20 March 2019.
  18. "Soudan: les femmes en première ligne des manifestations anti-Béchir" (ภาษาฝรั่งเศส). 9 March 2019. สืบค้นเมื่อ 19 March 2019.
  19. Jean-Philippe Rémy (8 April 2019). "Le mouvement de protestation embrase le Soudan" (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 8 April 2019. [Selon] une bonne source soudanaise: "Un scénario de cauchemar se profile, avec des affrontements. Or, l’armée n’est pas aussi bien équipée que l’ensemble constitué par les hommes des FSR et les nombreuses milices secrètes."
  20. "Troops shield protesters as Sudan President Omar al-Bashir faces mounting pressure to go", South China Morning Post, 10 April 2019.
  21. Samy Magdy, New ruling Sudan military council promises civilian Cabinet เก็บถาวร 2019-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Associated Press (April 14, 2019).
  22. Abdelaziz, Khalid; Georgy, Michael (10 June 2019). "Sudan sit-in bloodshed cripples uprising". Thomson Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2019. สืบค้นเมื่อ 10 June 2019.
  23. "Field Report – Evaluation on the General Strike and Civil Disobedience in the Professional, Vocational, Service and Local Sectors". Sudanese Professionals Association. 13 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2019. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.
  24. "Sudan protesters begin civil disobedience campaign against military rulers". Daily Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). The Telegraph/AFP. 9 June 2019. ISSN 0307-1235. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2019. สืบค้นเมื่อ 9 June 2019.
  25. "Sudan army, protesters to resume talks on transitional council". Al Jazeera English. 12 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2019. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.