ข้ามไปเนื้อหา

การชูสามนิ้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การชูสามนิ้ว เป็นการแสดงสัญลักษณ์ด้วยมือ โดยชูนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ประกบกัน ขณะที่กดนิ้วโป้งทับนิ้วก้อย เดิมเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในหนังสือและภาพยนตร์ชุด เกมล่าชีวิต ของซูซานน์ คอลลินส์ ภายหลังได้รับการนำมาใช้ในหมู่ผู้สนับสนุนประชาธิปไตย หลัก ๆ ในประเทศไทย ต่อมาแพร่หลายไปยังฮ่องกง ประเทศพม่า และที่อื่น ๆ

ความเป็นมา

[แก้]

สัญลักษณ์ดังกล่าวมีที่มาจาก เกมล่าชีวิต ชุดหนังสือและภาพยนตร์ของซูซานน์ คอลลินส์ ที่มีการประกบนิ้วชี้ กลาง และนาง ของมือซ้ายเข้าด้วยกันแล้วชูขึ้นฟ้าเป็นสัญลักษณ์ ปรากฏครั้งแรกใน เกมล่าชีวิต หนังสือและภาพยนตร์ลำดับแรกของชุด เกมล่าชีวิต ในคราวที่ตัวละคร แคตนิสส์ เอเวอร์ดีน แสดงสัญลักษณ์นี้ไว้อาลัยต่อพันธมิตรนาม รู เมื่อรูสิ้นชีพ ต่อมาใน ปีกแห่งไฟ หนังสือและภาพยนตร์ที่ลำดับที่สองของชุด เกมล่าชีวิต ชายชราผู้หนึ่งแสดงสัญลักษณ์นี้ท่ามกลามฝูงชนเพื่อสดุดีแคตนิสส์ระหว่างการออกตระเวนของผู้พิชิต และสัญลักษณ์ดังกล่าวก็กลายเป็นเครื่องสื่อถึงการปฏิวัติ พร้อม ๆ กับบทเพลง "มอกกิงเจย์" ที่แคตนิสส์บรรเลงด้วยการผิวปาก[1]

ขบวนการประชาธิปไตยในเอเชีย

[แก้]

ประเทศไทย

[แก้]

สัญลักษณ์นี้กลายเป็นเครื่องสื่อถึงการสนับสนุนประชาธิปไตยในโลกจริงเป็นครั้งแรกหลังจากที่เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557[2] และคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ผู้ก่อรัฐประหาร ได้ห้ามแสดงสัญลักษณ์ดังกล่าว[3] นับแต่นั้น ผู้ประท้วงได้เพิ่มเติมความหมายเชิงสัญลักษณ์ให้แก่การชูสามนิ้ว โดยระบุว่า หมายถึง แนวคิดเรื่องเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ในการปฏิวัติฝรั่งเศส[4] ภายหลัง ผู้ประท้วงใน พ.ศ. 2563 ได้นำสัญลักษณ์นี้กลับมาใช้อีก[5]

ฮ่องกง

[แก้]

มีการใช้สัญลักษณ์นี้อยู่หนึ่งครั้งในระหว่างขบวนการร่ม อันเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2557[6][7] และผู้ประท้วงใน พ.ศ. 2557 นำสัญลักษณ์นี้กลับมาใช้ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากผู้ประท้วงในประเทศไทยในช่วงเดียวกัน[8] และยังขยายการใช้สัญลักษณ์นี้ออกไปเป็นเครื่องสื่อถึงการต่อต้านรัฐบาลจีน[9]

พม่า

[แก้]

สัญลักษณ์นี้ได้กลายเป็นเครื่องแสดงออกถึงการต่อต้านรัฐประหาร พ.ศ. 2564[10]

กัมพูชา

[แก้]

มูร สุขหัว อดีตรองหัวหน้าพรรคสงเคราะห์ชาติ เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านใช้สัญลักษณ์นี้แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับพม่าและแสดงการต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบันของฮุน เซน กับทั้งพรรคประชาชนกัมพูชาของฮุน เซน[11] การเรียกร้องดังกล่าวถูกผู้แทนพรรคประชาชนประณามว่า เป็นการบ่อนทำลายประเทศชาติ[12]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gallup, Jasmine (20 March 2021). "Hunger Games: Why District 12 Uses A 3 Finger Salute (& What It Means)". ScreenRant. สืบค้นเมื่อ 14 April 2021.
  2. "'Hunger Games' salute back". Bangkok Post. 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  3. "Hunger Games salute banned by Thai military". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). Associated Press. 3 June 2014. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  4. Tharoor, Ishaan (20 November 2014). "Why are China and Thailand scared of the 'Hunger Games'?". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  5. Zheng, Sara (19 August 2020). "From Belarus to Thailand: Hong Kong's protest playbook is spreading everywhere". Inkstone (ภาษาอังกฤษ). Hong Kong: South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
  6. "HK Protesters Express Aspirations for Freedom With 3 Finger Salute - Bringing you Truth, Inspiration, Hope". Vision Times. 29 November 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2020. สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
  7. Sim, David (11 December 2014). "Hong Kong: Defiant protesters give Hunger Games' three-fingered salute as police clear camp". International Business Times UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
  8. Reuters (19 November 2020). "Campus march by Hong Kong graduates marks a year since university clashes". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
  9. Agence France-Presse (1 March 2021). "Crowds gather outside court after Hong Kong dissidents charged". Bangkok Post. Bangkok Post Public Company, Limited. สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
  10. Quinley, Caleb (8 February 2021). "Three-finger salute: Hunger Games symbol adopted by Myanmar protesters". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  11. "Cambodians urged to adopt three-finger salute - UCA News". ucanews.com (ภาษาอังกฤษ). 22 February 2021. สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
  12. Sokhean, Ben (18 February 2021). "Gov't slams ex-opposition's call to adopt 'three-finger salute'". Khmer Times. Phnom Penh. สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.