กาชาดฮ่องกง
ก่อตั้ง | 12 กรกฎาคม 1950 |
---|---|
ประเภท | หน่วยงานช่วยเหลือ, องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร |
ที่ตั้ง | |
ถิ่นดั้งเดิม | สร้างขึ้นในฐานะที่เป็นสาขาของสภากาชาดอังกฤษ[3] |
พื้นที่ให้บริการ | ฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่[4] ทั่วโลก[5] |
บริการ | ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม |
สมาชิก | ในเครื่องแบบ 365 หน่วยกับสมาชิก 22,580 คน[6] |
บุคลากรหลัก | Mr George Joseph Ho (ประธานกรรมการ) Mr Philip Tsai (ประธาน) Dr Lau Chor Chiu (รองประธาน) Ms Wendy W M Tsang (รองประธาน)[7] |
รายได้ | 588.17 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (รายได้ประจำทั้งหมดใน ค.ศ. 2012/13)[8] |
เงินบริจาค | เงินบริจาคสาธารณะและเอกชน |
อาสาสมัคร | 22,580 คน[9] |
เว็บไซต์ | www |
กาชาดฮ่องกง | |||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 香港紅十字會 | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 香港红十字会 | ||||||||||||||||
|
กาชาดฮ่องกง (จีน: 香港紅十字會; อังกฤษ: Hong Kong Red Cross อักษรย่อ: HKRC) ชื่อเต็มคือ สภากาชาดจีนของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง เป็นองค์กรการกุศล ก่อตั้งขึ้นในฮ่องกงในปี พ.ศ. 2493 ในฐานะองค์กรตัวแทนของขบวนกาชาดสากลและขบวนการเสี้ยววงเดือนแดงในฮ่องกง มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมชุมชน, การปกป้องชีวิต, ดูแลผู้ยากไร้ และรักษาศักดิ์ศรีในจิตวิญญาณแห่งมนุษยธรรมและการบริการโดยสมัครใจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 มีการดำเนินงานเป็นหน่วยงานทางกฎหมายในฮ่องกงภายใต้กฎหมายกาชาดฮ่องกง (บทที่ 1129 ของกฎหมายฮ่องกง)[10][11]
ตามบทบัญญัติของสภากาชาดสากล แต่ละประเทศสามารถมีองค์กรในเครือได้เพียงแห่งเดียวและจะต้องจัดตั้งขึ้นภายในดินแดนของประเทศเอกราช[12] ฮ่องกงเป็นอาณานิคมของอังกฤษเมื่อมีการจัดตั้งกาชาดฮ่องกงจึงกลายเป็นสาขาหนึ่งของสภากาชาดอังกฤษ ในเวลานั้นกาชาดฮ่องกงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สภากาชาดอังกฤษ (สาขาฮ่องกง)"[13] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 กาชาดฮ่องกงได้รับการยกระดับจากหน่วยงานในเครือของสภากาชาดอังกฤษในต่างประเทศ เป็นสาขาในระดับเดียวกับสกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ โดยมีความเป็นอิสระในการบริหารงานในระดับสูง[11]
จากการมีอำนาจอธิปไตยเหนือฮ่องกงของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ความสัมพันธ์เชิงสถาบันระหว่างสภากาชาดฮ่องกงและสภากาชาดอังกฤษได้เปลี่ยนเป็นการประสานงานกับ สภากาชาดจีนและองค์กรอาสาสมัครระหว่างประเทศอื่น ๆ ของฮ่องกงที่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันด้วย[14] เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2540 สภากาชาดจีนได้ออกประกาศยืนยันว่า สภากาชาดฮ่องกงกลายเป็นสาขาหนึ่งของสภากาชาดแห่งประเทศจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดยประกาศระบุว่า:
"สภากาชาดฮ่องกงในฐานะสาขาท้องถิ่นของสภากาชาดจีน มีความเป็นอิสระในระดับสูงที่จะกำหนดหรือแก้ไขธรรมนูญของสภากาชาดฮ่องกงให้สอดคล้องกับ "กฎหมายพื้นฐานของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของสาธารณรัฐประชาชนจีน " และกฎหมายของรัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกงรับผิดชอบในการจัดการกิจการทั้งหมดรวมถึง องค์กรภายใน การตัดสินใจด้านการบริหาร กระบวนการดำเนินการ การแต่งตั้งบุคลากร การจัดการทรัพย์สิน, เนื้อหา, บริการ และวิธีการ ฯลฯ "กฎหมายสภากาชาดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน" และ "ธรรมนูญแห่งสภากาชาดจีน" จะไม่บังคับใช้กับสภากาชาดฮ่องกง"[15]
สภานิติบัญญัติฮ่องกงได้ผ่านบทบัญญัติ "การปรับปรุงกฎหมาย (ฉบับที่ 17) ค.ศ. 1999" อย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 เพื่อให้สภากาชาดฮ่องกงมีพื้นฐานทางกฎหมายสำหรับการมีอิสระในระดับสูงในสภาพแวดล้อมทางการเมืองใหม่[16][17]
สัญลักษณ์กาชาดได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าเป็นสัญลักษณ์ของความช่วยเหลือ การคุ้มครอง และการบรรเทาทุกข์ และมีสถานะทางกฎหมาย การใช้สัญลักษณ์กาชาดได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวาและกฎหมายกาชาดฮ่องกง (บทที่ 1129 ของกฎหมายฮ่องกง)[18] สัญลักษณ์มีวัตถุประสงค์ในยามสงบเพื่อระบุว่า บุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหลักการและวัตถุประสงค์ของกาชาดสากล ในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้ง สัญลักษณ์มีวัตถุประสงค์ในการป้องกัน โดยเป็นเครื่องหมายแสดงต่อคู่กรณีของความขัดแย้งว่า เป็นบุคคลและวัตถุที่ได้รับการคุ้มครองตามอนุสัญญาเจนีวา รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ สิ่งอำนวยความสะดวก และวิธีการขนส่ง[19] ปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างประเทศลดลง และความขัดแย้งที่พบบ่อยเกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระดับชาติกับพลเมืองของตน สหประชาชาติได้มีการหารือเกี่ยวกับแนวทางฉันทามติที่เป็นไปได้ (Working Protocol) เพื่อขยายขอบเขตของอนุสัญญาเจนีวา เพื่อเสริมสร้างการคุ้มครองสิทธิของบุคลากรทางการแพทย์และพลเรือนในความขัดแย้งภายใน[20]
แตกต่างจากขบวนกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงทั่วโลก ที่มีความโดดเด่นในการอุทิศด้านมนุษยธรรม กาชาดฮ่องกงเป็นที่รู้จักกันดีในด้านกิจกรรมการถ่ายเลือดในฮ่องกง จากการที่ไม่ค่อยเกิดภัยพิบัติหรือความวุ่นวายทางการเมืองในภูมิภาค อีกทั้งมีประวัติการให้บริการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ซึ่งการถ่ายเลือดนี้ได้ดำเนินการภายใต้การบริหารจัดการของหน่วยงาน ฮอสพิทอลออโทริตี[21]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Mission & Core Values". Hong Kong Red Cross. 5 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2012. สืบค้นเมื่อ 5 July 2011.
- ↑ "Service Directory – Hong Kong Red Cross Headquarters". Hong Kong Red Cross. 9 September 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2016. สืบค้นเมื่อ 10 September 2009.
- ↑ "Brief History of the Hong Kong Red Cross". Hong Kong Red Cross. 8 ธันวาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2008.
- ↑ "Introduction of China Projects". Hong Kong Red Cross. 5 July 2011.
- ↑ "Introduction of International Projects". Hong Kong Red Cross. 5 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2012. สืบค้นเมื่อ 4 July 2011.
- ↑ "Volunteering" (PDF). Hong Kong Red Cross. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2022-12-01.
- ↑ "Patron & Office Bearers of the Hong Kong Red Cross". Hong Kong Red Cross. 8 December 2008.
- ↑ "Financial & Fund Raising Reports of Annual Report (2012/13)" (PDF). Hong Kong Red Cross. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2022-12-01.
- ↑ "Volunteering" (PDF). Hong Kong Red Cross. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2022-12-01.
- ↑ 香港法例第1129章《香港紅十字會條例》. www.elegislation.gov.hk. สืบค้นเมื่อ 2018-05-10.
- ↑ 11.0 11.1 呂大樂 (November 2000). 《山上之城:香港紅十字會的故事1950-2000》 [Light the Darkness: Hong Kong Red Cross 1950–2000]. 香港: 香港大學出版社. p. 72. ISBN 978-962-209-528-1. OCLC 47704730.
- ↑ International Committee of the Red Cross (ICRC). "The Movement". สืบค้นเมื่อ 2020-06-27.
- ↑ "香港紅十字會條例".
- ↑ Centre for Civil Society and Governance, the University of Hong Kong (2016). International & Cross-boundary Non-governmental Organizations in Hong Kong 2014:15: Report on the Capacity of Civil Society Organizations. Hong Kong.
- ↑ 中國紅十字會. "中國紅十字會公告(1997年4月15日)" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2020-06-27.
- ↑ 立法會 (1999-09-24). 《1999年法律適應化修改(第17號)條例草案》 (文件). 內務委員會. สืบค้นเมื่อ 2020-06-27.
- ↑ 立法會. "會議過程正式紀錄" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2020-06-27.
- ↑ "香港法例第1129章《香港紅十字會條例》". www.elegislation.gov.hk. สืบค้นเมื่อ 2018-05-10.
- ↑ "香港紅十字會:法定標誌的用途".
- ↑ 黃靜. "「什麼人訪問什麼人:香港需要一把人道的聲音」(2020年6月28日)". สืบค้นเมื่อ 2020-06-30.
- ↑ "History and Background". Hong Kong Red Cross Blood Transfusion Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2014.
บรรณานุกรม
[แก้]- CHAN Kai-ming, Knowledge of Red Cross (紅十字知識), 2004.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ในภาษาจีนและอังกฤษ)