ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มมิตรผล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มมิตรผล
อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
พลังงานชีวภาพ
ก่อตั้ง2489 (78 ปี)
สำนักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พื้นที่ให้บริการไทย จีน ลาว
บุคลากรหลักอิสระ ว่องกุศลกิจ
ผลิตภัณฑ์น้ำตาล
รายได้ลดลง 99,793 ล้านบาท (2561)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 169,091 ล้านบาท (2561)
เว็บไซต์www.mitrphol.com

กลุ่มมิตรผล (อังกฤษ: Mitr Phol Group) เป็นบริษัทผลิตน้ำตาลสัญชาติไทย[1]

ประวัติ

[แก้]

กลุ่มมิตรผล ถือกำเนิดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2489 ที่ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนขนาดเล็กที่ผลิตน้ำเชื่อมเข้มข้นส่งขายให้โรงงานผลิตน้ำตาลทราย จนกระทั่งพัฒนาเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถผลิตน้ำตาลทรายได้เองในปี พ.ศ. 2499 ต่อมาได้ขยายกิจการโรงงานเพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลอันดับหนึ่งของประเทศ[ต้องการอ้างอิง]

  • พ.ศ. 2489 น้ำตาลมิตรผล ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรีโดยเริ่มจากอุตสาหกรรมครัวเรือนขนาดเล็กที่ผลิตน้ำเชื่อมเข้มข้น ส่งขายให้โรงงานน้ำตาลผลิตน้ำตาลทราย
  • พ.ศ. 2499 น้ำตาลมิตรผลก้าวสู่การพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมโรงงาน ที่สามารถผลิตน้ำตาลทรายได้เองเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2526 ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลมิตรผลภูเขียว อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
  • พ.ศ. 2533 ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลมิตรผล อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และก่อตั้งธุรกิจปาร์ติเกิลบอร์ดขึ้นเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2536 เริ่มต้นขยายการลงทุนธุรกิจน้ำตาลสู่มณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ปัจจุบัน มีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 7 แห่ง
  • พ.ศ. 2538 ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลมิตรผลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
  • พ.ศ. 2540 ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลมิตรผล กาฬสินธุ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ ก่อตั้งบริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด
  • พ.ศ. 2545 ก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งแรก ที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และแห่งที่ 2 ที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
  • พ.ศ. 2548 ก่อตั้งโรงงานผลิตเอทานอลแห่งแรก มิตรผล ไบโอฟูเอล ที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
  • พ.ศ. 2549 ก่อตั้งโรงงานผลิตเอทานอล มิตรผล ไบโอฟูเอล แห่งที่ 2 ที่อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • พ.ศ. 2550 ก่อตั้งโรงงานผลิตเอทานอล แห่งที่ 3 ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โครงการร่วมทุนกับบริษัท ผาแดง อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
  • พ.ศ. 2552 ก่อตั้งโรงงานผลิตเอทานอล มิตรผล ไบโอฟูเอล ที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • พ.ศ. 2553 ก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลจากชานอ้อยแห่งแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เมืองฝูหนาน
  • พ.ศ. 2554 ก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลจากชานอ้อยแห่งแรกในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลอีกแห่งที่อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
  • พ.ศ. 2555 ขยายการลงทุนธุรกิจน้ำตาลสู่รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
  • พ.ศ. 2557 ก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและการวิจัยแห่งที่ 2 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี ก่อตั้งโรงงานรีไฟน์เนอรี่ระบบอัตโนมัติ อำเภอภูเวียงจังหวัดขอนแก่น
  • พ.ศ. 2558 ก่อตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยผสมคุณภาพสูงร่วมกับบริษัท ศักดิ์สยาม จำกัด ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

ก่อตั้งโรงงานผลิตยีสต์สำหรับอาหารสัตว์ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ก่อตั้งโรงเอทานอลกุฉินารายณ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อผลิตเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง

  • พ.ศ. 2559 ก่อตั้ง MPESCO ที่ปรึกษาด้านการออกแบบติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar farm)
  • พ.ศ. 2560 ก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล พาเนล พลัส ไบโอ-เพาเวอร์ ที่ผลิตไฟฟ้าจากไม้ยางพาราเป็นโรงแรกของกลุ่มมิตรผล ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • พ.ศ. 2561 ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลฉงจั่ว 2 มีกำลังการผลิตน้ำตาลดิบกว่า 312,000 ตันต่อปี, น้ำตาลทรายขาว 303,000 ตันต่อปี
  • พ.ศ. 2562 ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลมิตรอำนาจเจริญ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

ในปี 2551 มิตรผลได้รับสัมปทานเป็นพื้นที่ 20,000 เฮกตาร์ในประเทศกัมพูชา แต่มีรายงานในหนังสือพิมพ์กัมพูชาว่ามีการใช้พื้นที่ปลูกอ้อยจริงเพียง 219 เฮกตาร์ ส่วนที่เหลือเป็นการไล่ที่ชาวบ้าน เมื่อปี 2556 หลังการตรวจสอบของบริษัทโคคาโคลาทำให้บริษัทยอมคืนสัมปทานให้[1] มีการยื่นฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคลจากข้อกล่าวหาการไล่ที่ของบริษัทในช่วงปี 2551 ถึง 2552[2] ซึ่งนับเป็นคดีตัวอย่างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคลข้ามแดนครั้งแรก[3]

โรงงานน้ำตาลในกลุ่มมิตรผล

[แก้]

ปัจจุบัน กลุ่มมิตรผล มีโรงงานผลิตน้ำตาลในประเทศไทย รวม 8 แห่ง ประกอบด้วย

  1. โรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ก่อตั้งปี พ.ศ. 2526
  2. โรงงานน้ำตาลมิตรผล จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อตั้งปี พ.ศ. 2533
  3. โรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ก่อตั้งปี พ.ศ. 2538
  4. โรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อตั้งปี พ.ศ. 2540
  5. โรงงานสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ก่อตั้งปี พ.ศ. 2540 (ถือหุ้นปี พ.ศ. 2546)
  6. โรงงานน้ำตาลมิตรภูหลวง จังหวัดเลย ก่อตั้งปี พ.ศ. 2555
  7. โรงงานน้ำตาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ก่อตั้งปี พ.ศ. 2562[4]
  8. โรงงานน้ำตาลมิตรเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ก่อตั้งปี พ.ศ. 2567

กลุ่มธุรกิจอื่นๆของบริษัทนอกจากธุรกิจน้ำตาล มิตรผลยังมีการต่อยอดไปในธุรกิจต่อเนื่อง เช่น กลุ่มธุรกิจพลังงาน กลุ่มธุรกิจปุ๋ย กลุ่มธุรกิจวัสดุทดแทนไม้ และได้มีการขยายฐานการผลิตไปอีก 4 ประเทศ ดังนี้

  • ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2536 โดยเข้าร่วมลงทุนกับโรงงานน้ำตาลในเขตปกครองตนเองกว่างซี ในนาม Guangxi Nanning East Asia Sugar Co.,Ltd จวบจนปัจจุบัน

กลุ่มมิตรผลมีโรงงานผลิตน้ำตาลรวม 6 แห่ง ในเมืองฉงจั่ว ฝูหนาน ทั่วหลู หนิงหมิง และไห่ถัง และได้มีการก่อตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวลอีก 3 แห่ง

  • ประเทศลาว ในปีพ.ศ. 2549 ได้ขยายธุรกิจโดยได้รับสัมปทานพื้นที่ปลูกอ้อยและก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำตาลจากรัฐบาลลาวในแขวงสะหวันเขต ภายใต้ชื่อ บริษัท น้ำตาลมิตรลาว จำกัด และได้ขยายธุรกิจไฟฟ้าชีวมวลต่อเนื่องจากธุรกิจน้ำตาล
  • ประเทศออสเตรเลีย ในปี2554 เข้าถือหุ้นใน MSF Sugar หนึ่งในผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของออสเตรเลีย โดยมีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 4 แห่ง ในรัฐควีนส์แลนด์
  • ประเทศอินโดนีเซีย ในปี2560 ได้ขยายการลงทุนเข้าไปยังเกาะชวา ปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาล 3 แห่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Dogged by abuse allegations, Mitr Phol pulls out of Cambodia". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2 July 2021.
  2. "กัมพูชาฟ้อง บ.มิตรผล บังคับไล่เกษตรกรจากถิ่นที่อยู่". ไทยรัฐ. 3 April 2018. สืบค้นเมื่อ 2 July 2021.
  3. "Thai Appeal Court decision paves the way for Asia's first transboundary class". Malaysiakini (ภาษาอังกฤษ). 3 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2 July 2021.
  4. https://www.thebangkokinsight.com/251858/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]