กลุ่มภาษาปาหารี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กลุ่มภาษาปาหารี | |
---|---|
पहाड़ी, ਪਹਾੜੀ, پہاڑی | |
ภูมิภาค | อินเดีย (อุตตรขัณฑ์, หิมาจัลประเทศ, ปัญจาบ, ชัมมูและกัษมีระ, สิกขิม, เบงกอลตะวันตก), เนปาล, ปากีสถาน, ทิเบต |
ตระกูลภาษา | อินโด-ยูโรเปียน
|
ระบบการเขียน | อักษรเทวนาครี, อักษรคุรมุขี, อักษรชาห์มุขี |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | อินเดีย (อุตตรขัณฑ์, หิมาจัลประเทศ, ชัมมูและกัษมีระ, สิกขิม และ เบงกอลตะวันตก), เนปาล |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | – |
กลุ่มภาษาปาหารีเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาอินโดอารยันเหนือ เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันที่ใช้พูดในบริเวณที่ราบของเทือกเขาหิมาลัยจากเนปาลทางตะวันออก ไปจนถึงรัฐหิมาจัลประเทศทางตะวันตก ภาษาในกลุ่มนี้แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มตะวันออกประกอบด้วยสำเนียงต่างๆของภาษาเนปาล เช่น โดขาลี กุรขาลี คาสกุรา กลุ่มกลาง ประกอบไปด้วยภาษาที่พูดในรัฐอุตรขัณฑ์และกลุ่มตะวันตกพูดในรัฐหิมาจัลประเทศ
ในเนปาล ภาษาเนปาลเป็นภาษาแม่ของชนกลุ่มอินโด-อารยันส่วนใหญ่ที่อยู่ในหุบเขาทางเหนือของอินเดียจนถึงเขตสูงสุดที่สามารถปลูกข้าวได้ ภาษาแม่ของชนเผ่าในบริเวณภูเขาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มภาษาทิเบต-พม่า ภาษาเนปาลมีความแตกต่างจากภาษาปาหารีกลางเพราะได้รับอิทธิพลทั้งทางไวยากรณ์และคำศัพท์จากภาษากลุ่มทิเบต-พม่า ผู้พูดภาษาปาหารีกลางและตะวันตกไม่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับภาษากลุ่มทิเบต-พม่า จึงรักษาเอกลักษณ์ของกลุ่มภาษาอินโด-อารยันได้ แม้ว่าชาวปาหารีจะได้พัฒนารูปแบบของตนเองและมีการใช้อย่างแพร่หลาย แต่บางครั้งก็จัดภาษาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของภาษาฮินดี ชื่อเรียกของภาษาเหล่านี้มีมาก เช่น เนปาลี (ภาษาของชาวเนปาล) กุรขาลี (ภาษาของชาวกุรข่า) ปัรภติยะ (ภาษาของชาวภูเขา) ภาษาปัลปาเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเนปาล บางครั้งถูกแยกเป็นอีกภาษาหนึ่งต่างหาก
มีผู้พูดภาษากลุ่มปาหารีจำนวนมากในหุบเขาทางเหนือของปากีสถาน ระหว่างแคชเมียร์และอัฟกานิสถาน ภาษาเหล่านี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาษาประจำชาติในบริเวณนั้นเช่น ภาษาอูรดูและภาษาปัญจาบ