กฤษฎา ตันเทอดทิตย์
กฤษฎา ตันเทอดทิตย์ | |
---|---|
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวเเละกีฬา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 | |
นายกรัฐมนตรี | แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | สรวงศ์ เทียนทอง |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ก่อนหน้า | ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย |
ถัดไป | กระแสร์ ตระกูลพรพงศ์ |
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ.2566 – 3 กันยายน พ.ศ.2567 | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีว่าการ | ภูมิธรรม เวชยชัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กันยายน พ.ศ. 2524 อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
ชื่อเล่น | ชีโร่ |
กฤษฎา ตันเทอดทิตย์ (เกิด 11 กันยายน พ.ศ. 2524) เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายสรวงศ์ เทียนทอง) อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย เขต 1 สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นอดีตประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหนองคาย [1]
ประวัติ
[แก้]กฤษฎา ตันเทอดทิตย์ จบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท จากประเทศสหรัฐอเมริกา Bachelor of Business Administration Middle Tennessee State University ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Master of Business Administration Middle Tennessee State University ประเทศสหรัฐอเมริกา [2]
การทำงาน
[แก้]กฤษฎา ตันเทอดทิตย์ เป็นกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วาระปี 2561-2563 [3] และเป็นรองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วาระปี 2561-2563 [4]
งานการเมือง
[แก้]กฤษฎา ตันเทอดทิตย์ ไม่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาก่อน และ ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2562 สังกัด พรรคเพื่อไทย
ปี พ.ศ. 2562 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดหนองคาย เขตการเลือกตั้งที่ 1 ใน อำเภอสระใคร, อำเภอเมืองหนองคาย (ยกเว้นตำบลเวียงคุกและตำบลพระธาตุบังพวน) และอำเภอโพนพิสัย (เฉพาะตำบลเหล่าต่างคำ ตำบลทุ่งหลวง และตำบลสร้างนางขาว) และได้รับรองการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แล้ว [5]
กฤษฎา ตันเทอดทิตย์ มีบทบาทเป็นคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทย[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]กฤษฎา ตันเทอดทิตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ครั้งแรก คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข่าวมหาวิทยาลัยขอนแก่น[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข่าวการหาเสียง
- ↑ ประกาศสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง รายนามกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยวาระปี 2561-2563[ลิงก์เสีย]
- ↑ "รายชื่อกองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย วาระปี 2561-2563". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-09. สืบค้นเมื่อ 2019-05-09.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2019-05-09.
- ↑ พท.อัดรัฐอย่าขวางเอกชนนำเข้าวัคซีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔