กระทรวงบริหารกลางสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระทรวงบริหารกลาง (อังกฤษ: federal executive department) เป็นหน่วยงานชั้นต้นของฝ่ายบริหารแห่งรัฐบาลกลางสหรัฐ เป็นอย่างเดียวกับกระทรวง (ministry) ที่มีอยู่ทั่วไปในระบบรัฐสภาหรือระบบกึ่งประธานาธิบดี เพียงแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นหัวหน้ารัฐบาลซึ่งดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐด้วยเพราะใช้ระบบประธานาธิบดี กระทรวงบริหารเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการปกครองของประธานาธิบดีสหรัฐ ปัจจุบัน มี 15 กระทรวง

ในภาษาอังกฤษ ตำแหน่งหัวหน้ากระทรวงบริหารเรียกว่า "เซคริทรี" (secretary) ซึ่งเป็นอย่างเดียวกับ "รัฐมนตรี" (minister) เว้นแต่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐที่มีหัวหน้าเรียกว่า "อัยการสูงสุด" (Attorney-General) และในอดีต กระทรวงสำนักงานไปรษณีย์สหรัฐก็มีหัวหน้าที่เรียกว่า "นายไปรษณีย์ใหญ่" (Postmaster General) หัวหน้ากระทรวงบริหารมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี เข้าดำรงตำแหน่งหลังได้รับการรับรอง (confirmation) จากวุฒิสภาตามข้อกำหนดการแต่งตั้ง (Appointments Clause) ในรัฐธรรมนูญสหรัฐ และปฏิบัติหน้าที่ตามอัธยาศัยของประธานาธิบดี (at the pleasure of the President) นอกจากนี้ ข้อกำหนดความเห็น (Opinion Clause) ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คือ มาตรา 2 ส่วนที่ 2 ข้อ 1 (Article II, section 2, clause 1) ยังเรียกหัวหน้ากระทรวงว่า "เจ้าพนักงานหลักในกระทรวงบริหารแต่ละแห่ง" (principal Officer in each of the executive Departments)

หัวหน้ากระทรวงยังได้รับการจัดไว้ในลำดับการสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในกรณีที่ตำแหน่งประธานาธิบดีว่างลง โดยอยู่ในลำดับถัดจากรองประธานาธิบดีสหรัฐ, ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ, และประธานชั่วคราวแห่งวุฒิสภาสหรัฐ

กระทรวงบริหาร[แก้]

ข้างล่างนี่คือรายการกระทรวงในสหรัฐที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน

กระทรวง
ก่อตั้ง
จำนวนสืบทอดหน่วยงาน[1] หมายเหตุ การใช้งบประมาณในปี ค.ศ. 2009 (พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
เจ้าหน้าที่ประจำการ (คน)
ต่างประเทศ 1789[2] 4 ชื่อตอนแรกคือ "กระทรวงการต่างประเทศ" (อังกฤษ: Department of Foreign Affairs) 16.39 18,900
การคลัง 1789[3] 5 19.56 115,897
ยุติธรรม 1870[4] 7 มีหน่วยงานก่อนหน้านี้คืออัยการสูงสุด ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1789 แต่ยังไม่ได้เป็นหน่วยงานระดับกระทรวงจนถึงปี ค.ศ. 1870 46.20 113,543
มหาดไทย 1849[5] 8 90.00 71,436
เกษตร 1889[6] 9 ยกขึ้นเป็นระดับกระทรวงในปี ค.ศ. 1889 134.12 109,832
พาณิชย์ 1903[7] 10 เดิมใช้ชื่อว่ากระทรวงพาณิชย์และแรงงาน เนื่องจากแยกกระทรวงกันแล้ว 15.77 43,880[8]
แรงงาน 1913[9] 11 137.97 17,347
กลาโหม 1947[10] 6 ก่อตั้งตามรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ ค.ศ. 1947 ซึ่งก่อตั้งในชื่อว่า "สถาบันการทหารแห่งชาติ" (อังกฤษ: National Military Establishment) และใช้ชื่อนี้จนถึงปี ค.ศ. 1949 การก่อตั้งในครั้งนี้เป็นการรวมระหว่างกระทรวงการสงครามและกระทรวงทหารเรือเข้าด้วยกัน 651.16 3,000,000
สาธารณสุขและบริการประชาชน 1953[9] 12 หน่วยงานแรกของกระทรวงคือกระทรวงสาธารณสุข ศึกษาธิการ และสวัสดิการสหรัฐ ต่อมาได้แยกกระทรวงศึกษาธิการออก 879.20 67,000
การเคหะและพัฒนาเมืองสหรัฐ 1965[11] 13 40.53 10,600
คมนาคม 1966[12] 14 73.20 58,622
พลังงาน 1977[13] 15 24.10 109,094
ศึกษาธิการ 1979[14] 16 45.40 4,487
การทหารผ่านศึก 1989[15] 17 เดิมเป็นหน่วยงานอิสระที่เป็นหน่วยงานเกี่ยวกับทหารผ่านศึก 97.70 235,000
ความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ 2002[16] 18 ก่อตั้งตามรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ค.ศ. 2002 40.00 240,000
รวมงบประมาณ และเจ้าหน้าที่:         2,311.30Bn 4,214,652 คน

อดีตกระทรวงที่เคยดำเนินงาน[แก้]

กระทรวง ระยะเวลา หมายเหตุ
การสงคราม 1789–1947 ต่อมาแยกเป็นกระทรวง 2 กระทรวง ได้แก่ ทหารบก และ ทหารเรือ ตามรัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ ค.ศ. 1947
สำนักงานไปรษณีย์สหรัฐ 1792–1971 ต่อมามีมติให้ลดระดับจากกระทรวงลงเป็นรัฐวิสาหกิจโดยใช้ชื่อว่า สำนักงานบริการไปรษณีย์สหรัฐ
พาณิชย์และแรงงาน 1903–1913 แยกกระทรวงกัน; กระทรวงพาณิชย์ และ กระทรวงแรงงาน
ทหารบก 1947–1949 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 ถึง 2492 กระทรวงทั้งสามถูกตั้งขึ้นมาโดยไม่ได้ถูกจัดอยู่ในระดับรัฐมนตรี มีผู้บัญชาการที่มาจากพลเรือน ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 กระทรวงทั้งสามถูกลดฐานะและมาอยู่รวมกัน โดยถูกควบคุมโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐ[17]
ทหารเรือ 1798–1949
ทหารอากาศ 1947–1949
สาธารณสุข ศึกษาธิการ และสวัสดิการ 1953–1979 แยกออกเป็นกระทรวงสาธารณสุขและบริการประชาชน และกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐ

อ้างอิง[แก้]

  1. Wilson, Reid (October 20, 2013). "The Presidential order of succession". The Washington Post. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ November 10, 2015.
  2. "Office of the Historian - Milestones - 1776-1783 - Articles of Confederation". History.state.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-08. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  3. "History". Treasury.gov. 2012-10-22. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  4. "USDOJ: About DOJ". Justice.gov. 2009-09-30. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  5. "History of Interior". Doi.gov. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-15. สืบค้นเมื่อ 2018-05-19.
  7. "Secretaries | Department of Commerce". Commerce.gov. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  8. "Department of Commerce FY 2009 Budget in Brief". Osec.doc.gov. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  9. 9.0 9.1 "The U.S. Department of Labor Historical Timeline - U.S. Department of Labor". Dol.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  10. "About The Department of Defense (DOD)". Defense.gov. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  11. "HUD History/U.S. Department of Housing and Urban Development (HUD)". Portal.hud.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-03. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  12. [1] เก็บถาวร สิงหาคม 9, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. "Department of Energy Organization Act" (PDF). U.S. Department of the Interior. U.S. Bureau of Reclamation. August 4, 1977. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-04-30. สืบค้นเมื่อ 2018-05-19.
  14. "Overview and Mission Statement | U.S. Department of Education". .ed.gov. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  15. Department of Veterans Affairs. "History - VA History - About VA". Va.gov. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  16. "Creation of the Department of Homeland Security | Homeland Security". Dhs.gov. สืบค้นเมื่อ 2012-12-29.
  17. Stewart, Richard W., บ.ก. (2005). "Chapter 24: Peace Becomes Cold War, 1945-1950". American Military History. Army Historical Series. Vol. II. United States Army. pp. 531–533. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-18. สืบค้นเมื่อ 2011-03-23.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]