กรดซินนามิก
ชื่อ | |
---|---|
Preferred IUPAC name
(2E)-3-Phenylprop-2-enoic acid | |
ชื่ออื่น
Cinnamic acid
trans-Cinnamic acid Phenylacrylic acid Cinnamylic acid 3-Phenylacrylic acid (E)-Cinnamic acid Benzenepropenoic acid Isocinnamic acid | |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
เคมสไปเดอร์ | |
ECHA InfoCard | 100.004.908 |
KEGG | |
ผับเคม CID
|
|
UNII | |
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
| |
คุณสมบัติ | |
C9H8O2 | |
มวลโมเลกุล | 148.161 g·mol−1 |
ลักษณะทางกายภาพ | ผลึกสีขาว |
ความหนาแน่น | 1.2475 g/cm3[1] |
จุดหลอมเหลว | 133 องศาเซลเซียส (271 องศาฟาเรนไฮต์; 406 เคลวิน)[1] |
จุดเดือด | 300 องศาเซลเซียส (572 องศาฟาเรนไฮต์; 573 เคลวิน)[1] |
500 mg/L[1] | |
pKa | 4.44 |
ความอันตราย | |
NFPA 704 (fire diamond) | |
จุดวาบไฟ | >100 °C (212 °F; 373 K)[1] |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
กรดซินนามิก (อังกฤษ: cinnamic acid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ C9H8O2 จัดอยู่ในกลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกไม่อิ่มตัว ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายน้ำได้บ้างและละลายในตัวทำละลายอินทรีย์หลายชนิด[2] พบในพืชหลายชนิดในรูปไอโซเมอร์แบบซิส (cis) และทรานส์ (trans) โดยพบแบบหลังมากกว่า[3]
กรดซินนามิกพบในน้ำมันอบเชย, เนยเชียและยางไม้สไตแรกซ์ (Styrax balsam) กรดซินนามิกมีกลิ่นคล้ายน้ำผึ้ง[4] เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวสังเคราะห์ชิกิเมตและฟีนิลโพรพานอยด์ ชีวสังเคราะห์ดังกล่าวเกิดจากการทำปฏิกิริยาของเอนไซม์ ฟีนิลอะลานีน แอมโมเนีย-ไลเอส (PAL) กับฟีนิลอะลานีน
วิธีการสังเคราะห์กรดซินนามิกดั้งเดิมเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเพอร์กิน ซึ่งเป็นการควบแน่นที่เร่งปฏิกิริยาด้วยเบสของแอซีติกแอนไฮไดรด์และเบนซาลดีไฮด์ เรเนอร์ ลุดวิจ ไคลเซน นักเคมีชาวเยอรมัน คิดค้นการสังเคราะห์เอสเทอร์ของซินนาเมตจากการทำปฏิกิริยาของเบนซาลดีไฮด์และเอสเทอร์[5] ปฏิกิริยานี้รู้จักในชื่อการควบแน่นอัลดอล (ร่วมกับปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของแอนไฮไดรด์) นอกจากนี้ยังสามารถเตรียมได้จากซินนามาลดีไฮด์และเบนซาลคลอไรด์[3]
กรดซินนามิกใช้ในการเสริมรสชาติอาหาร การย้อมสี อุตสาหกรรมน้ำหอมและอุตสาหกรรมยา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Cinnamic acid - GESTIS
- ↑ "Open Notebook Science Challenge: Solubilities of Organic Compounds in Organic Solvents" (PDF). Nature Precedings: 33. December 12, 2009. doi:10.1038/npre.2010.4243.3.
- ↑ 3.0 3.1 Dorothea Garbe "Cinnamic Acid" in Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry, 2000, Wiley-VCH, Weinheim. doi:10.1002/14356007.a07_099
- ↑ Cinnamic acid, flavornet.org
- ↑ Claisen, L. (1890) "Zur Darstellung der Zimmtsäure und ihrer Homologen" (On the preparation of cinnamic acid and its homologues), Berichte der deutschen chemischen Gesellschaft, 23 : 976–978.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กรดซินนามิก
- Cinnamic acid - MSDS - Science Lab เก็บถาวร 2016-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน