ยฺหวิ่นซื่อ
ยฺหวิ่นซื่อ (29 มีนาคม 1680 - 5 ตุลาคม 1726) พระนามเมื่อแรกประสูติคือ อิ้นซื่อ เป็นเจ้าชายแมนจูของราชวงศ์ชิง เป็นโอรสองค์ที่ 8 ของจักรพรรดิคังซี พระองค์เป็นบุคคลสำคัญในความขัดแย้งเรื่องการสืบราชสมบัติของพระราชบิดา เจ้าชายยฺหวิ่นซื่อเชื่อกันว่าพระองค์เป็นที่ชื่นชอบของขุนนางส่วนใหญ่ในราชสำนักที่จะเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป แต่ท้ายที่สุดก็พ่ายแพ้ให้กับเจ้าชายอิ้นเจิ้นพระเชษฐาองค์ที่ 4 ของพระองค์ ผู้ต่อมากลายเป็นจักรพรรดิยงเจิ้ง
หลังจากจักรพรรดิยงเจิ้งเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติในปี ค.ศ. 1723 เจ้าชายยฺหวิ่นซื่อได้รับการเสนอพระนามให้เป็นที่ปรึกษาระดับสูงขององค์จักรพรรดิและอัครมหาเสนาบดี พระองค์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เหลียงชินหวัง พระองค์ถูกถอดออกจากตำแหน่งสี่ปีต่อมา บรรดาศักดิ์ของพระองค์ถูกริบจากนั้นพระองค์ก็ถูกขับออกจากราชวงศ์ พระองค์ถูกตั้งข้อหาก่ออาชญากรรมและถูกส่งตัวเข้าคุกซึ่งเป็นสถานที่พระองค์สิ้นพระชนม์ พระองค์ได้รับการคืนความยุติธรรมย้อนหลังในรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง
พระประวัติ
[แก้]เจ้าชายยฺหวิ่นซื่อประสูติแต่จักรพรรดิคังซี และเหลียงเฟย (เมื่อแรกเกิดคือ เว่ย ชวงเจี๋ย) มารดาคือสตรีชาวแมนจูจากกองธงเหลือง และถูกเลี้ยงดูโดยพระมเหสีฮุ่ยพระมารดาของเจ้าชายอิ้นจื่อโอรสองค์ใหญ่ของจักรพรรดิคังซี เหลียงเฟยถูกนักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่ามาจากปูมหลังที่เสียเปรียบ เพราะพระนางเป็นซินเจ๋อกู้ (จีน: 辛者庫) หมายถึงวรรณะทาสก่อนที่พระนางจะกลายเป็นนางสนมของจักรพรรดิคังซี[1] ในขณะที่สถานะอันต่ำต้อยของครอบครัวพระมารดาของพระองค์ได้ส่งผลกระทบต่อเจ้าชายยฺหวิ่นซื่อ[1] และมันก็เป็นแรงผลักดันให้เจ้าชายยฺหวิ่นซื่อเอาชนะอุปสรรคผ่านการทำงานหนัก เมื่อเวลาผ่านไปเจ้าชายยฺหวิ่นซื่อก็กลายเป็นหนึ่งในโอรสองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี พระองค์ได้รับความนิยมจากขุนนางในราชสำนัก และพระปิตุลา (ลุง) ของพระองค์คือฟู่เฉวียน (โอรสองค์ที่ 2 ของจักรพรรดิชุ่นจื้อ และเป็นพระเชษฐาต่างพระราชมารดาของจักรพรรดิคังซี) มักจะสรรเสริญพระองค์ต่อหน้าพระบิดา[2] เมื่อพระชนมายุเพียง 18 พรรษา เจ้าชายยฺหวิ่นซื่อได้รับพระราชทานพระยศเป็น ตัวหลัวเป้ยเล่อ (多罗贝勒) ซึ่งเป็นอันดับสามของเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Xia, Xin (12 October 2012). "揭秘康熙所有兒子們的下場 (Revealing The Ending Of All Of Kangxi's Sons)". Xinhuanet.com (ภาษาจีน). Huasheng Online (華聲在線). สืบค้นเมื่อ 28 July 2014.
- ↑ 2.0 2.1 Wang, Jia (9 February 2011). "歷史上真實的胤禩 (The True Yinsi In History)". Huaxia.com (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-11. สืบค้นเมื่อ 28 July 2014.