โยคีเพลย์บอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Yokee Playboy)
โยคีเพลย์บอย (Yokee Playboy)
ที่เกิดประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงป็อป, ร็อก, ออลเทอร์นาทิฟร็อก, โซล
ช่วงปี2539 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงเบเกอรี่ มิวสิก, อาร์เอส, เพลนตี้ มิวสิก, สไปซีดิสก์
สมาชิกปิยะ ศาสตรวาหา
ฆ้อง มงคล
เฟาซี มามะ
ญานสิทธิ์ ศรีศศิวิไล
สุทัศน์ เพชรมี
พิทยา ศิริสวัสดิ์
อดีตสมาชิกภาณุ กันตะบุตร
ยิ่งใหญ่ หุณชนะเสวีย์
อาณัติ ทองก้อน
อดุลย์ รัชดาภิสิทธิ์
เว็บไซต์www.spicydisc.com www.facebook.com/YKPBPage

โยคีเพลย์บอย (Yokee Playboy) ถือศิลปินกลุ่มในยุคแรก ๆ ของสังกัดเบเกอรี่มิวสิค มีนักร้องนำคือ โป้ - ปิยะ ศาสตรวาหา ออกอัลบั้มชุดแรกในชื่อเดียวกับวง โยคีเพลย์บอยส์ ในปี พ.ศ. 2539 ก่อนที่วงจะยุบไป เหลือเพียงโป้คนเดียวในเวลาต่อมา มีผลงานที่เป็นที่รู้จักได้แก่ วันเกิด พรหมลิขิต ทำร้าย แผลเป็น คืนนี้ขอหอม อีกแล้ว และอยากมองเธอในแง่ร้าย ปัจจุบันโยคีเพลย์บอย นำโดย โป้ และมีเพื่อน ๆ นักดนตรี ยังคงผลิตงานเพลงอย่างต่อเนื่องในฐานะ ศิลปินอิสระ

ประวัติ[แก้]

เดิมเป็นมือเบสให้กับอรอรีย์ หลังจาดนั้นก็ออกมาทำวง โยคีเพลย์บอย
อัลบั้มชุดแรก โยคีเพลย์บอยส์ (2539)

ในอัลบั้มชุดนี้จะมีแนวดนตรีที่ผสมผสาน ร็อค, โซล, ฟังก์ โดยบางเพลงเองก็เน้นเนื้อหาตลก ยังไม่มีผลงานเพลงที่เป็นที่รู้จักมากนักและยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างสำหรับอัลบั้มชุดนี้ กลิ่นอายดนตรี 70’s แนวอินดี้ป็อป จากอัลบั้มชุดนี้ ทำให้ "โป้" ปิยะ ศาสตรวาหา กลายเป็นขวัญใจหนุ่มสาวด้วยลีลาการเต้น

อีพี อัลบั้ม Super Swinging (2541)

โยคีกลับมาอีกครั้งหลังห่างหายไปถึง 2 ปี โดยอัลบั้มชุดนี้เหลือโป้ โยคี ปีซึ่งเพลงมีแนวดนตรีที่แตกต่างจากชุดแรกและแหวกแนวดนตรีในยุคสมัยนั้น ด้วยลูกเล่นและแนวดนตรีที่มีกลิ่นของ ดิสโก้ และ Groove แต่ยังคงรักษาความเป็นโยคีเพลย์บอยไว้ได้อย่างชัดเจน ชุดนี้มีเพลง 5 เพียงแต่ทุกเพลงก็มีแนวทางที่แตกต่างกันออกมาไป มีเพลงอันเป็นที่รู้จัก คืนนี้ขอหอม

อัลบั้มชุดที่ 2 YKPB, เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง (2543)

โยคีกลับมาอีกครั้งหลังห่างไป 2 ปี ในอัลบั้มนี้มีผลงานแนว ป็อป ผสม โซล และ ริทึมแอนด์บลูส์ มีเพลงที่เป็นที่รู้จัก วันเกิด พรหมลิขิต (ของครูแก้ว อัจฉริยะกุล และ ครูเวส สุนทราจามร) ทำร้าย แผลเป็น และ ขอให้ผม ส่งผลให้โยคีเพลย์บอยเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากอัลบั้มชุดนี้[1]

อัลบั้มสาม Love Trend (2545)

อัลบั้มชุดนี้โยคีได้กลับมาอีกครั้งหลังห่างหายไปถึงสองปีโดยชุดนี้จะมีดนตรีที่เบากว่าชุดที่ผ่านมา อีกทั้งยังได้บอยตรัยมาช่วยเขียนเพลง โดยแต่ละผลงานเพลงจะเป็นแนวบรรเลงและแนวดนตรี ซอฟต์ร็อก มีผลงานเพลงที่เป็นที่รุ้จักในอัลบั้มนี้คือเพลง อีกแล้ว และอยากมองเธอในแง่ร้าย[2]

ย้ายสังกัดอาร์เอส, ออกอัลบั้มชุดที่สี่ (2551)

ในปี 2551 โป้ได้มาร่วมงานกับอดีตผู้ก่อตั้งค่าย เบเกอรี่มิวสิค สมเกียรติ อริชัยพาณิชย์ ภายใต้สังกัด เพลนตี้ มิวสิก ในเครือ อาร์เอส ออกอัลบั้มชุดที่สี่ Telepathy ซึ่งเป็นผลงานทางดนตรีและผสมผสานกับความปราณีตพิถีพิถันในการเรียบเรียง อัลบั้มนี้ไม่ได้รับการโปรโมทที่ดีนักจึงไม่ได้รับการรู้จักในวงกว้าง

ย้ายไปสไปซี่ดิสก์, ออกอัลบั้มฉลองครบรอบ 16 ปี (2554 - 2555)

ปี 2554 โยคีเพลย์บอยย้ายสังกัดมายัง สไปซีดิสก์ ซึ่งได้ปล่อยซิงเกิ้ลแรก คอลลาเจน และ ซิงเกิ้ลที่สอง อากาศ ก่อนที่ในปีต่อมาโยคีได้ออกอัลบั้ม Second Sun ฉลองครบ 16 ปีของทางวง[3] เป็นอัลบั้มที่อัดแน่นด้วยรายละเอียดของดนตรี เนื้อหา

เริ่มออกซิงเกิล และอัลบั้ม ในฐานะ ศิลปินอิสระ (2557-บัจจุบัน)

เดินหน้าแสวงหา และผลิตเพลงที่มีพัฒนาการกับแนวดนตรีที่แตกต่างตามความสนใจและยุคสมัย

อีพี ซิงเกิล เพลง "อาฮะ" และ เพลง "มี" (2557)

ครั้งแรกกับการทำงานอิสระ เพลงจึงอาจจะไม่เป็นที่รู้จักนัก เมื่อขาดแรงโปรโมทที่มากเพียงพอ อาฮะ เป็นเพลงสนุกสนาน เบา ๆ แบบสโลว์ ดิสโก้ (slow disco) ที่โป้ เลือกชวนศิลปินรุ่นน้องที่มีเสียงร้องและบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์อย่าง แจ๊บ เดอะ ริชแมนทอย มาร่วมขับร้อง มี เป็น เพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก  ซึ้ง ๆ น่ารัก ๆ  ซึ่งถูกถ่ายทอดบนท่วงทำนองและจังหวะช้าแบบเท่ ๆ สไตล์เพลงป๊อบที่มีลูกกรูฟ หรือ Groove Pop  

อัลบั้มที่หก We (2560) โดยทะยอยออกมาทีละ episode

- อีพี อัลบั้ม We Episode I (2560) ทั้งหมด 3 เพลง ในแนว Soul Pop และ Post Modern Rock แบบไทย ๆ แหวกสมัยด้วยชื่อเพลงยาวเหยียด ได้แก่ เพลง นอนคนเดียว กินคนเดียว ดูทีวีคนเดียว เพลง เธอรู้ไหมฉันไม่ชอบเวลาเธอพูดถึงเขา และ รักรอที่ฟลอร์เต้นรำ ซึ่งถือว่าครั้งนี้โยคีเพลย์บอยสามารถเรียกกระแสการตอบรับกลับมาได้มากพอสมควร และกลับมามีเพลงฮิตติดชาร์ตอีกครั้ง

ผลงาน[แก้]

อัลบั้ม[แก้]

4. Telepathy (พ.ศ. 2552)

5. Second Sun (พ.ศ. 2555)

อีพีและซิงเกิล[แก้]

  • อัลบั้มรวมเพลง "The Grandfather Greatest Hits"
  • อัลบั้มรวมเพลง "The Grandfather Greatest Hits - The Conclusive Collection Volume 4"

ผลงานอื่น[แก้]

  • 2538 "ทางออก" จากอัลบั้ม Zequence ร่วมกับ สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ (เป็นเพลงประกอบละคร ไอ้คุณผี)
  • 2539 "I'm Free" และ "เที่ยงคืน" จากอัลบั้ม Simplified ร่วมกับ บอย โกสิยพงษ์
  • 2540 "โปรดเถอะ" แต่งโดยบอย โกสิยพงษ์ เป็นเพลงประกอบละครเรื่อง เก็บใจไว้เพื่อรัก ร้องร่วมกับ รัดเกล้า อามระดิษ
  • 2540 "คนที่เดินผ่าน" จากอัลบั้ม Bakery On Vacation ร่วมกับ สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์
  • 2540 "ฝัน" จากอัลบั้ม Rare Grooves 2
  • 2543 "UHF" จากอัลบั้ม Return To Retro ร่วมกับ สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์
  • 2543 "ช่วงชีวิต" จากอัลบั้มBakery Y2Gether ร่วมกับ บอย โกสิยพงษ์
  • 2543 "ทำร้าย" เพลงประกอบละครเรื่อง แม่น้ำ จากอัลบั้ม YKPB
  • 2544 อัลบั้ม "Time Machine" และ “The Last show on their Playground” ในนามวง ทูเดย์ส อะโกคิดส์
  • 2547 "กาแฟ" จากอัลบั้ม Singing in the Playground
  • 2547 "เท่ากับที่เดิม" จากอัลบั้ม Love is 1
  • 2548 A DAY Album 4 – เพลง โดย โยคีเพลย์บอย (แต่งร่วมกับบอย ตรัย)
  • 2549 แสดงภาพยนตร์เรื่อง เก๋า เก๋า กำกับโดย วิทยา ทองอยู่ยง แสดงเป็น โบ้ มือกีตาร์ วง Possible โดยมี โจอี้ บอย แสดงเป็น ต๋อย นักร้องนำ
  • 2550 “มันอยู่ที่จังหวะ” (Up To The Beatz) จากอัลบั้ม My Name is DOS ร่วมกับ Cyndi Seui
  • 2551 “รักติ๋มคนเดียว” เพลงเอกในภาพยนตร์ของผู้กำกับยุทธเลิศ สิปปภาคเรื่อง “อีติ๋มตายแน่” เรียบเรียงใหม่ในนามโยคีเพลย์บอย จากเพลง “ไม่เคยรักใครเท่าติ๋ม” แต่งโดย ชลธี ธารทอง ขับร้องโดย สายัณห์ สัญญา
  • 2554 “Morning Moon” ของฟักกลิ้งฮีโร่ (ร่วมแต่งและร้อง) เป็นเพลงหลักของคอนเสิร์ตเทศกาลงาน SAD
  • 2566 "ทำร้าย" เพลงประกอบละครเรื่อง โชกุน

อ้างอิง[แก้]