ข้ามไปเนื้อหา

พระนางราชธาตุกัลยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Yaza Datu Kalaya)
พระนางราชธาตุกัลยา
ရာဇ ဓာတု ကလျာ
พระราชานุสาวรีย์นะฉิ่นเหน่าง์กับราชธาตุกัลยาที่ตองอู
พระชายาในพระมหาอุปราชแห่งเกตุมะดี
ดำรงพระยศ21 มีนาคม [ตามปฎิทินเก่า: 11 มีนาคม] 1603 – พฤศจิกายน ค.ศ. 1603
ราชาภิเษก21 มีนาคม [ตามปฎิทินเก่า: 11 มีนาคม] 1603
ก่อนหน้าพระนางเมงเกงสอ
ถัดไปไม่ทราบ
พระวรชายาในพระมหาอุปราชา
ดำรงพระยศป. พฤศจิกายน ค.ศ. 1586 – 8 กุมภาพันธ์ [ตามปฎิทินเก่า: 29 มกราคม] 1593
ก่อนหน้าพระนางนะชีนแมดอ
ถัดไปไม่ทราบ
ประสูติ12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1559
วันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน นะดอ 921 ME
พะโค
จักรวรรดิตองอู
สิ้นพระชนม์พฤศจิกายน ค.ศ. 1603
เดือน ดะซองโม่น 965 ME (ประมาณ 44 พรรษา)
ตองอู
คู่อภิเษกมังกยอชวา (ค.ศ. 1586–1593, พระองค์สวรรคต)
นะฉิ่นเหน่าง์ (ค.ศ. 1603)
พระราชบุตรไม่มี
ราชวงศ์ตองอู
พระราชบิดาพระเจ้าบุเรงนอง
พระราชมารดาพระนางราชเทวี
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระนางราชธาตุกัลยา (พม่า: ရာဇ ဓာတု ကလျာ, ออกเสียง: [jàza̰ dàdṵ kələjà]; 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1559 – พฤศจิกายน ค.ศ. 1603) เป็นพระวรชายาในพระมหาอุปราชาใน ค.ศ. 1586 ถึง 1593 และพระชายาในพระมหาอุปราชแห่งตองอูเป็นเวลาเจ็ดเดือนใน ค.ศ. 1603 พระนางเป็นที่รู้จักจากพระสิริโฉมที่งดงามซึ่งนะฉิ่นเหน่าง์ พระสวามีองค์ที่ 2 ได้นิพนธ์บทกวีถึงความงามของพระนาง[1]

พระประวัติช่วงต้น

[แก้]

พระนางราชธาตุกัลยาประสูติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1559 ที่พะโค เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าบุเรงนองที่ประสูติจากพระนางราชเทวี[2] พระนางมีพระนามว่า ราชธาตุกัลยา เพราะพระนางเสด็จพระราชสมภพในวันที่การอุทิศพระธาตุในเจดีย์มหาเจดีย์ที่พะโคครั้งแรก[2][note 1] จากทางฝั่งของพระมารดา พระนางสืบเชื้อสายจากอาณาจักรอังวะโดยพระนางมีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระบิดาพระมารดาเดียวกันอีก 2 พระองค์ พระเชษฐาคือ นรธาเมงสอ และพระอนุชา สิริสุธรรมราชา[3] ซึ่งทั้งสามพระองค์เจริญพระชนม์ที่พระราชวังกัมโพชธานีในหงสาวดี และได้เลื่อนขึ้นเป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1563 เมื่อพระมารดาได้รับการสถาปนาเป็นพระมเหสีองค์ที่ 3 และองค์สุดท้ายของพระเจ้าบุเรงนอง[4]

พระนางได้รับการศึกษาในพระราชวังซึ่งพระนางโปรดการแต่งกลอน (และต่อมากลายเป็นกวีที่มีชื่อเสียง)[5] เมื่อพระชนมายุ 15 พรรษาพระนางได้เข้าพิธีชินบยู หรือพิธีเจาะหูของเด็กผู้หญิงเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1574[6]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ของที่ถวายให้กับหอพระธาตุ ส่วนใหญ่เป็นทอง เงิน เครื่องเพชร หินล้ำค่า และพระพุทธรูป ถูกเรียกว่า ทัด-ดอว์ (ဓာတ်တော်) โดยคำว่า ทัด มาจากคำในภาษาบาลีว่า ธาตุ (Rhys Davids, Stede 1993: 340) ส่วนกัลยะ (ကလျာ) เป็นรูปภาษาพม่าของกัลยาณะ (Rhys Davids, Stede 1993: 199)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Htin Aung 1967: 138
  2. 2.0 2.1 Hmannan Vol. 2 2003: 330
  3. Hmannan Vol. 3 2003: 68
  4. Hmannan Vol. 2 2003: 344
  5. Ohn Shwe 1966: xvi
  6. (Maha Yazawin Vol. 3 2006: 37): วันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน Tabaung 935 ME = วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1574

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
  • Kala, U (1724). Maha Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2006, 4th printing ed.). Yangon: Ya-Pyei Publishing.
  • Ohn Shwe, U; Natshinnaung (1920). Natshinnaung Yadu Collection (ภาษาพม่า) (1966, 3rd printing ed.). Yangon: Hanthawaddy.
  • Rhys Davids, Thomas William; William Stede (1993). Pali–English Dictionary (reprint ed.). Delhi: Motilal Banarsidass. ISBN 9788120811447.
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.