อาการปวดประสาทไทรเจมินัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Trigeminal neuralgia)
อาการปวดประสาทไทรเจมินัล
ชื่ออื่นตีค ดูลูโร (Tic douloureux),[1] พรอซอพอลเกีย (prosopalgia),[2] โรคฟอเธอร์กีลล์ส์ (Fothergill's disease),[3] โรคฆ่าตัวตาย (suicide disease)[4]
ภาพเขียน เดอะสครีม โดยเอดวอร์ด มุงก์ มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการเจ็บปวดที่ใบหน้าโดยทั่วไป[5] และใช้โดยเฉพาะมนอาการปวดประสาทไทรเจมินัล[6]
สาขาวิชาประสาทวิทยา
อาการทั่วไป: อาการเจ็บรุนแรงคล้ายอาการช็อกที่ข้างหนึ่งของใบหน้าอาจเป็นไปนานเป็นวินาทีหรือนาที[1]
พบน้อย: อาการเจ็บร้อนต่อเนื่อง[1]
ภาวะแทรกซ้อนอาการซึมเศร้า[7]
การตั้งต้นอายุ > 50 ปี[1]
ประเภทอาการปวดเส้นประสาทไทรเจมินอลผิดปกติและทั่วไป[1]
สาเหตุเชื่อว่าเกี่ยวของกับไมยีลินของเส้นประสาทไทรเจมินัล[1][8]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันอาการปวดประสาทหลังการบำบัด[1]
การรักษายา, ผ่าตัด[1]
ยาคาร์บามาเซปีน, ออกซ์คาร์บาเซปีน[8]
พยากรณ์โรค80% ดีขึ้นหลังการรักษาแรก[8]
ความชุก1 ใน 8,000 คนต่อปี[1]

อาการปวดประสาทไทรเจมินัล หรือ ไทรเจมินัลนีวรอลเกีย (อังกฤษ: Trigeminal neuralgia; TN หรือ TGN) เป็นโรคที่แสดงอาการปวดระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทไทรเจมินัล[1] อาการนี้เป็นชนิดหนึ่งของความเจ็บปวดจากพยาธิสภาพของเส้นประสาท[9] และแบ่งออกเป็นสองชินด ได้แก่: ทั่วไป (typical) และ ไม่ทั่วไป[1] รูปแบบทั่วไปนั้นมีอาการคือชุดความเจ็บปวดที่รุนแรง ฉับพลัน และคล้ายการช็อกบนข้างหนึ่งของใบหน้า และค้างอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานับวินาทีหรือนาที[1] กลุ่มความเจ็บปวดนี้อาจเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นชั่วโมงได้[1] รูปแบบไม่ทั่วไปมีอาการคือปวดร้อนตลอดเวลาแต่อาการปวดรุนแรงน้อยกว่า[1] การเจ็บปวดอาจถูกกระตุ้นได้จากการสัมผัสใบหน้า[1] และผู้ป่วยอาจมีอาการทั้งแบบทั่วไปและไม่ทั่วไปเกิดขึ้นพร้อมกัน[1] อาการนี้เป็นหนึ่งในความเจ็บป่วยที่มีความเจ็บปวดมากที่สุดในการแพทย์ และมักส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วย[7]

สาเหตุของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าเกิดจากการเสื่อมสลายของไมยีลินที่หุ้มเส้นประสาทไทรเจมินัล[1][8] รวมถึงอาจเกิดจากการกดทับของเส้นเลือดขณะที่เส้นประสาทเดินทางออกจากก้านสมอง, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาการเจ็บปวด[1] สาเหตุที่พบได้น้อยรองลงมา เช่น เนื้องอก หรือ การผิดรูปยองหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 "Trigeminal Neuralgia Fact Sheet". NINDS. November 3, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2016. สืบค้นเมื่อ 1 October 2016.
  2. Hackley, CE (1869). A text-book of practical medicine. D. Appleton & Co. p. 292. สืบค้นเมื่อ 2011-08-01. prosopalgia.
  3. Bagheri, SC; และคณะ (December 1, 2004). "Diagnosis and treatment of patients with trigeminal neuralgia". Journal of the American Dental Association. 135 (12): 1713–7. doi:10.14219/jada.archive.2004.0124. PMID 15646605. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2012. สืบค้นเมื่อ 2011-08-01.
  4. Adams, H; Pendleton, C; Latimer, K; Cohen-Gadol, AA; Carson, BS; Quinones-Hinojosa, A (May 2011). "Harvey Cushing's case series of trigeminal neuralgia at the Johns Hopkins Hospital: a surgeon's quest to advance the treatment of the 'suicide disease'". Acta Neurochirurgica. 153 (5): 1043–50. doi:10.1007/s00701-011-0975-8. PMID 21409517. S2CID 28245294.
  5. Williams, Christopher; Dellon, A.; Rosson, Gedge (5 March 2009). "Management of Chronic Facial Pain". Craniomaxillofacial Trauma and Reconstruction. 2 (2): 067–076. doi:10.1055/s-0029-1202593. PMC 3052669. PMID 22110799.
  6. "Facial Neuralgia Resources". Trigeminal Neuralgia Resources / Facial Neuralgia Resources. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2013. สืบค้นเมื่อ 8 May 2013.
  7. 7.0 7.1 Okeson, JP (2005). "6". ใน Lindsay Harmon (บ.ก.). Bell's orofacial pains: the clinical management of orofacial pain. Quintessence Publishing Co, Inc. p. 114. ISBN 0-86715-439-X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-12.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ob2010
  9. Cruccu, Giorgio; Di Stefano, Giulia; Truini, Andrea (2020-08-20). Ropper, Allan H. (บ.ก.). "Trigeminal Neuralgia". New England Journal of Medicine (ภาษาอังกฤษ). 383 (8): 754–762. doi:10.1056/NEJMra1914484. ISSN 0028-4793. PMID 32813951.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก