ข้ามไปเนื้อหา

สะบักลอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาการสะบักลอย
อาการสะบักขวาลอย

อาการสะบักลอย (อังกฤษ: winged scapula) หรือ สะคาปูลาอะลาทา (scapula alata) เป็นอาการทางการแพทย์ของกระดูกที่ซึ่งกระดูกหัวไหล่หลุดออกจากหลังของผู้ป่วยเมื่ออยู่ในการจัดวางตำแหน่งที่ผิดปกติ

อาการนี้ส่งผลต่อการทำงานที่ต้องใช้ไหล่และแขนของผู้ป่วย เช่น การยก การดัง และการผลักวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ในกรณีที่ร้ายแรงมากนั้น อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายและสระผม ชื่อของอาการในภาษาอังกฤษ “winged scapula” นั้นมีที่มาจากลักษณะของหลังที่นูนขึ้นมาที่คล้ายกับปีก อันเกิดจากขอบมีเดียลของกระดูกสะบักติดและพุ่งออกมาบริเวณหลัง อาการสะบักหลุดยังส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อไหล่-แขน อันทำให้การเฟล็กซ์ และ แอ็บดักชั่น ของท่อนบนร่างกายทำได้ลดลง เช่นเดียวกับเกิดความเจ็บปวดและไม่มีแรง[1]

ความรุนแรงและการแสดงออกของอาการชึ้นอยู่กับบุคคลและกล้ามเนื้อและ/หรือเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ[2][3]

ในกรณีส่วนใหญ่ของผู้ป่วย มักเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อเซอร์ราตัสแอนทีเรีย ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่บริเวณขอบด้านมีเดียลของกระดูกสะบัก และโดยปกติมีหน้าที่ยึดกระดูกสะบักเข้ากับซี่โครง นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการยกแขนเหนือศีรษะเมื่อหดตัว[4] เส้นประสาทลองธอราซิกเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อเซอร์ราตัสแอนทีเรีย ดังนั้นการเสื่อมสลายหรือการรบกวนเส้นประสาทนี้จะส่งผลให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อนี้[5] และเมื่อเกิดขึ้น จะส่งผลให้กระดูกสบักหลุดออกจากโครงซี่โครง ส่งผลให้เกิดลักษณะอาการแสดงดังที่เผ็นอยู่ ลักษณะอาการแสดงออกนี้จะยิ่งชัดเจนขึ้นหากให้ผู้ป่วต้านทานแรงผลักต่อแขน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Martin RM, Fish DE (March 2008). "Scapular winging: anatomical review, diagnosis, and treatments". Current Reviews in Musculoskeletal Medicine. 1 (1): 1–11. doi:10.1007/s12178-007-9000-5. PMC 2684151. PMID 19468892.
  2. Lee SG, Kim JH, Lee SY, Choi IS, Moon ES (June 2006). "Winged scapula caused by rhomboideus and trapezius muscles rupture associated with repetitive minor trauma: a case report". Journal of Korean Medical Science. 21 (3): 581–4. doi:10.3346/jkms.2006.21.3.581. PMC 2729973. PMID 16778411.
  3. Giannini S, Faldini C, Pagkrati S, Grandi G, Digennaro V, Luciani D, Merlini L (October 2007). "Fixation of winged scapula in facioscapulohumeral muscular dystrophy". Clinical Medicine & Research. 5 (3): 155–62. doi:10.3121/cmr.2007.736. PMC 2111408. PMID 18056023.
  4. "Serratus Anterior". ExRx.net.
  5. Nath RK, Lyons AB, Bietz G (March 2007). "Microneurolysis and decompression of long thoracic nerve injury are effective in reversing scapular winging: long-term results in 50 cases". BMC Musculoskeletal Disorders. 8: 25. doi:10.1186/1471-2474-8-25. PMC 1831472. PMID 17343759.

แหล่งข้อมูล

[แก้]
การจำแนกโรค