ข้ามไปเนื้อหา

Th (ทวิอักษร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Th ในอักษรละตินเป็นทวิอักษรหรืออักษรสองตัวที่ใช้แทนเสียงเดียว โดยพบได้ในระบบการเขียนหลายภาษาของยุโรป ที่ใช้อักษรโรมันและกรีกเป็นหลัก

ในภาษาอังกฤษ อักษร th มักจะออกเสียงในแบบเสียงเสียดแทรกจากฟันได้สองลักษณะ คือ ลักษณะเสียงก้อง ออกเสียงเป็น [ð] (ในคำว่า this) และลักษณะเสียงไม่ก้อง ออกเสียงเป็น [θ] (ในคำว่า think) อย่างไรก็ตาม ในภาษาอังกฤษสมัยกลาง (Middle English) มีการใช้อักษรสำหรับแต่ละเสียงโดยเฉพาะ นั่นคือ อักษร [ð] และ [θ] {ด้วยเหตุนี้ จึงมีการนำอักษรดังกล่าวมาใช้ในระบบ สัทอักษรสากล (IPA) ด้วย}

สำหรับในภาษาอื่น เช่น ภาษาเยอรมัน th ออกเสียงเป็นเสียง [t] ในภาษาแอลเบเนีย ออกเสียง [θ] และยังคงถือว่าตัวอักษร Th เป็นตัวอักษรที่ 29 ของตัวอักษรทั้งหมด โดยอยู่ระหว่าง T และ U

ในภาษาไทย เนื่องจากไม่มีเสียงอักษรไทยที่ใกล้เคียงกับ [ð] และ [θ] ตามกฎของราชบัณฑิตยสถานที่ใช้ในเอกสารของทางราชการไทย กำหนดให้ การถอดเสียงภาษาอังกฤษ มาเป็นภาษาไทย ให้ถอดตัวอักษร th มาเป็นตัวอักษร หรือ ขึ้นอยู่กับการออกเสียง (ซึ่งออกเสียง [d] และ [t] ใกล้เคียงกับเสียง [ð] และ [θ] ตามลำดับ) ในบางครั้งจะเกิดปัญหาที่คำทับศัพท์มีการซ้ำซ้อน เช่นคำว่า "thank" และ "tank" เมื่อทับศัพท์ออกมาตามหลัก แล้วรูปจะเหมือนกัน คือ "แทงก์" แต่การออกเสียงแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีบางกลุ่มที่ถอดเสียง [θ] เป็น ธ ธง เพื่อเปรียบต่างกับเสียง [t] ที่เป็น ท ทหาร เช่นในคำว่า มาราธอน (marathon) โดย ธ ธง สำหรับในคำทับศัพท์นี้แสดงถึงเสียง [θ]

สำหรับการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง กำหนดให้ตัวอักษร ถอดเป็นตัวอักษร th ในภาษาอังกฤษ ซึ่งออกเสียง [tʰ ]

ดูเพิ่ม

[แก้]