การสังเคราะห์นิวเคลียสของมหานวดารา
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก Supernova nucleosynthesis)
การสังเคราะห์นิวเคลียสของมหานวดารา (อังกฤษ: Supernova nucleosynthesis) คือการสร้างธาตุทางเคมีชนิดใหม่ๆ ขึ้นจากภายในมหานวดารา โดยพื้นฐานแล้วเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์นิวเคลียสที่ระเบิดขึ้นระหว่างการเผาผลาญออกซิเจนและซิลิกอน[1] ปฏิกิริยาฟิวชันเหล่านี้ทำให้เกิดธาตุใหม่คือ ซิลิกอน ซัลเฟอร์ คลอรีน อาร์กอน โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม สแกนเดียม ไททาเนียม และ ธาตุจำพวกเหล็ก เช่น วาเนเดียม โครเมียม แมงกานีส เหล็ก โคบอลต์ นิกเกิล เป็นต้น การระเบิดของมหานวดาราแต่ละครั้งจะส่งสสารธาตุมากมายฟุ้งกระจายออกไปในมวลสารระหว่างดาว สำหรับธาตุหนักอื่นๆ (ที่หนักกว่านิกเกิล) เชื่อว่าเกิดขึ้นจากกระบวนการจับตัวของนิวตรอนในการสังเคราะห์นิวเคลียสประเภทอื่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Woosley, S.E., W. D. Arnett and D. D. Clayton (1973). "Explosive burning of oxygen and silicon". THE ASTROPHYSICAL JOURNAL SUPPLEMENT. 26: 231–312. doi:10.1086/190282.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Atom Smashers Shed Light on Supernovae, Big Bang เก็บถาวร 2008-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sky & Telescope Online, April 22, 2005
- G. Gonzalez, D. Brownlee, P. Ward (2001). "The Galactic Habitable Zone: Galactic Chemical Evolution" (PDF). Icarus. 152: 185–200. doi:10.1006/icar.2001.6617. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-12. สืบค้นเมื่อ 2010-08-01.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)