ปลาแลมป์เพรย์
ปลาแลมป์เพรย์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ดีโวเนียนตอนปลาย-ปัจจุบัน | |
---|---|
ภาพวาดแสดงกายภาคและการดูดเลือดปลาแซลมอนของปลาแลมป์เพรย์ | |
ปากและฟันของปลาแลมป์เพรย์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้นใหญ่: | Agnatha |
ชั้น: | Petromyzontida และ Hyperoartia |
อันดับ: | Petromyzontiformes |
วงศ์: | Petromyzontidae |
วงศ์ย่อย | |
ปลาแลมป์เพรย์ (อังกฤษ: Lamprey, Lamprey eel) เป็นปลาที่อยู่ในชั้นใหญ่ปลาไม่มีขากรรไกร จัดอยู่ในอันดับ Petromyzontiformes และวงศ์ Petromyzontidae
ปลาแลมป์เพรย์มีลำตัวยาวลักษณะคล้ายปลาไหล ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะเป็นวงกลมใช้สำหรับดูด มีฟันแหลมคมจำนวนมากที่เจริญดีอยู่ในอุ้งปาก รูจมูกมี 1 รูซึ่งอยู่กึ่งกลางด้านบนของหัว มีตา 1 คู่ ถุงเหงือก 7 ถุง และมีช่องเหงือก 7 ช่อง หัวใจประกอบด้วยเวนตริเคิล 1 ห้อง และเอเตรียม 1 ห้อง โครงร่างเป็นกระดูกอ่อนและเส้นใย และยังคงมีโนโตคอร์ดอยู่ เส้นประสาทหลัง มีการพัฒนาเป็นสมองซึ่งมีเส้นประสาทสมอง 8-10 คู่ ทางเดินอาหารไม่มีกระเพาะอาหาร ส่วนลำไส้บิดเป็นเกลียว มีลักษณะเพศแยกออกเป็นเพศผู้และเพศเมียชัดเจน
ปลาแลมป์เพรย์พบได้ทั้งลำธารในน้ำจืด และในทะเล พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก ทั้งยุโรปตอนบน, อเมริกาเหนือ, อเมริกาใต้, แอฟริกาตะวันตก, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ชิลี, ออสเตรเลีย และเกาะแทสมาเนีย
ปลาแลมป์เพรย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จำพวกใหญ่ ๆ คือ แบบธรรมดา จะอาศัยอยู่ตามลำธาร ช่วงชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นระยะตัวอ่อนที่กินอาหารแบบกรอง ตัวเต็มวัยมีชิวิตอยู่ 3-4 สัปดาห์ โดยไม่กินอาหารเนื่องจากทางเดินอาหารสลายตัว เหลือเพียงสายของเนื้อเยื้อที่ไม่มีหน้าที่การทำงานและจะตายไปหลังวางไข่ ปลาแลมป์เพรย์จำพวกนี้สามารถดำรงชีวิตได้เอง โดยการกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 15-60 เซนติเมตร จะมีการวางไข่ที่ลำธารน้ำจืดที่มีพื้นเป็นทรายและก้อนกรวดเล็ก ๆ ตามพื้นท้องน้ำและวางไข่ในฤดูตัวผู้จะเริ่มสร้างแอ่งวางไข่โดยใช้ปากคาบเอาหินและกรวดจากพื้นโดยการแกว่งลำตัวทำให้ก้อนกรวดกระจายออกไปเกิดเป็นแอ่งรูปไข่ ตัวเมียจะตามมาและเกาะกับหินเหนือแอ่ง ตัวผู้เกาะทางด้านหัวของตัวเมีย ตัวเมียปล่อยไข่ลงในแอ่ง ตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อออกผสม ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะยึดเกาะกับก้อนกรวดในแอ่ง แล้วกลบด้วยทราย ลักษณะพิเศษคือ หลังวางไข่แล้วทั้งตัวผู้และเมียก็จะตายไป จากนั้น ไข่จะฟักออกในเวลา 2 สัปดาห์ เป็นตัวอ่อนขนาดเล็กตัวยาว เรียกว่า แอมโมซีทิส (Ammocoetes) ซึ่งจะคงอยู่ในแอ่งจนตัวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก็จะฝังตัวเข้าไปในทรายแล้วออกมาหากินในเวลากลางคืน ระยะตัวอ่อนแอมโมซีทีสจะยาวนานประมาณ 3-7 ปี จึงจะเจริญเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งตัวเต็มวัยจะคงอยู่ในน้ำจืดอีกประมาณ 1 ปี แล้วก็วางไข่ จากนั้นก็จะตายไป ส่วนชนิดที่เป็นปลาทะเลก็จะอพยพคืนถิ่นสู่ทะเล มีอายุยืนยาวกว่าชนิดที่เป็นปลาน้ำจืด เมื่อเข้ามาวางไข่ในน้ำจืดจะไม่กินอาหาร
และ ปลาแลมป์เพรย์ที่เป็นปรสิต จะมีปากคล้ายแว่นดูดและมีอุ้งปาก คล้ายถ้วยลึกลงไปในอุ้งปาก และลิ้นมีฟันที่เจริญดีอยู่ มันจะใช้ปากเกาะเหยื่อและใช้ฟันและลิ้นครูดเอาเนื้อออก และให้เลือดของเหยื่อไหลผ่านได้สะดวก ปลาแลมป์เพรย์จะสร้างสารป้องกันการตกตะกอนของเลือดส่งไปที่ปากแผล เมื่อดูดเลือดของเหยื่อจนตัวเหยื่อแห้งก็จะปล่อยแล้วหาเหยื่อใหม่ [1]
การจำแนก
[แก้]ได้มีการจำแนกชั้น, วงศ์, สกุลและชนิดของปลาแลมป์เพรย์ได้ออกเป็นดังนี้ ชั้น Cephalaspidomorphi.[2][3] [4] ชั้น Petromyzontida (หรือ Hyperoartia).[5] ชั้น Petromyzontiformes และวงศ์ Petromyzontidae.[6]
- วงศ์ย่อย Geotriinae
- สกุล Geotria J. E. Gray,1851
- Geotria australis (J. E. Gray,1851)
- สกุล Geotria J. E. Gray,1851
- วงศ์ย่อย Mordaciinae
- สกุล Mordacia J. E. Gray,1851
- วงศ์ย่อย Petromyzontinae
- สกุล Caspiomyzon Berg, 1906
- Caspiomyzon graecus (Renaud & Economidis, 2010)
- Caspiomyzon hellenicus (Vladykov, Renaud, Kott & Economidis, 1982)
- Caspiomyzon wagneri (Kessler, 1870)
- สกุล Eudontomyzon Regan, 1911
- Eudontomyzon danfordi Regan, 1911
- Eudontomyzon lanceolata (Kux & Steiner, 1972)
- Eudontomyzon mariae (Berg, 1931)
- Eudontomyzon stankokaramani M. Karaman, 1974
- Eudontomyzon vladykovi Oliva & Zanandrea, 1959
- สกุล Ichthyomyzon Girard, 1858
- Ichthyomyzon bdellium (D. S. Jordan, 1885)
- Ichthyomyzon castaneus Girard, 1858
- Ichthyomyzon fossor Reighard & Cummins, 1916
- Ichthyomyzon gagei Hubbs & Trautman, 1937
- Ichthyomyzon greeleyi Hubbs & Trautman, 1937
- Ichthyomyzon unicuspis Hubbs & Trautman, 1937
- สกุล Lampetra Bonnaterre, 1788
- Lampetra aepyptera (Abbott, 1860)
- Lampetra alaskensis (Vladykov & Kott, 1978)
- Lampetra appendix (DeKay, 1842)
- Lampetra ayresii (Günther, 1870)
- Lampetra fluviatilis (Linnaeus, 1758)
- Lampetra folletti (Vladykov & Kott, 1976)
- Lampetra geminis (Alvarez, 1964)
- Lampetra hubbsi (Vladykov & Kott, 1976)
- Lampetra lamottei (Lesueur, 1827)
- Lampetra lethophaga (Hubbs, 1971)
- Lampetra macrostoma (Beamish, 1982)
- Lampetra minima (C. E. Bond & Kan, 1973)
- Lampetra morii Berg, 1931
- Lampetra planeri (Bloch, 1784)
- Lampetra richardsoni (Vladykov & Follett, 1965)
- Lampetra similis (Vladykov & Kott, 1979)
- Lampetra spadiceus (Bean, 1887)
- Lampetra tridentata (J. Richardson , 1836)
- Lampetra zanandreai (Vladykov, 1955)
- สกุล Lethenteron Creaser & Hubbs, 1922
- Lethenteron camtschaticum (Tilesius, 1811)
- Lethenteron kessleri (Anikin, 1905)
- Lethenteron matsubarai (Vladykov & Kott, 1978)
- Lethenteron ninae Naseka, Tuniyev & Renaud, 2009
- Lethenteron reissneri (Dybowski, 1869)
- สกุล Petromyzon Linnaeus, 1758
- Petromyzon marinus Linnaeus, 1758
- สกุล Caspiomyzon Berg, 1906
ซึ่งในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้จะมีการปรุงปลาแลมป์เพรย์เป็นอาหารด้วย[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ปลาไม่มีขากรรไกร ( ( SuperClass Agnatha)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-13. สืบค้นเมื่อ 2011-09-24.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Cephalaspidomorpha ในบางแหล่งจะถือเป็นชั้นย่อยของ Cephalaspidomorphi.
- ↑
Forey, Peter, & Janvier, Philippe (2000). "Agnathans and the origin of jawed vertebrates". ใน Gee, Henry (บ.ก.). Shaking the tree: readings from Nature in the history of life. USA: University of Chicago Press; Nature/Macmillan Magazines. pp. 251–266. ISBN 9780226284972.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Janvier, Philippe (2008). "Early Jawless Vertebrates and Cyclostome Origins". Zoological Science. 25 (10): 1045–1056. doi:10.2108/zsj.25.1045. PMID 19267641.
- ↑
Nelson, J. S. (2006). Fishes of the World (4th ed.). New York: John Wiley and Sons, Inc. pp. 601 pp. ISBN 0-471-25031-7.
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ปลาแลมป์เพรย์วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Petromyzontidae
- ↑ Petromyzoniformes และ Petromyzonidae ซึ่งในบางแหล่งอาจใช้เป็นชื่อเดียวกัน
- ↑ "They Actually Eat That:" Lampreys. (อังกฤษ)