เปดรู ฌูนีโยร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Pedro Júnior)
เปดรู ฌูนีโยร์
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม เปดรู บิสปู โมเรย์รา ฌูนีโยร์
วันเกิด (1987-01-29) 29 มกราคม ค.ศ. 1987 (37 ปี)
สถานที่เกิด ซังตานาดูอาราไกวยา รัฐปารา ประเทศบราซิล
ส่วนสูง 1.80 เมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว)
ตำแหน่ง กองหน้า
สโมสรเยาวชน
2003–2004 วีลานอวา
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2005 วีลานอวา
2005–2006เกรมียู (ยืมตัว)
2007ครูไซโร (ยืมตัว)
2007เซากาเอตานู (ยืมตัว)
2007–2009 โอมิยะ อาร์ดิจา 15 (2)
2008วีลานอวา (ยืมตัว) 18 (7)
2009อัลบิเร็กซ์ นีงาตะ (ยืมตัว) 21 (10)
2009–2011 กัมบะ โอซากะ 9 (3)
2010สปอร์ชีเรซีฟี (ยืมตัว) 6 (1)
2010วีลานอวา (ยืมตัว) 2 (1)
2011โตเกียว (ยืมตัว) 2 (0)
2012 เซากาเอตานู 0 (0)
2012 วีลานอวา 17 (9)
2013 เชจูยูไนเต็ด 29 (17)
2014–2016 วิสเซล โคเบะ 74 (25)
2017–2018 คาชิมะ แอนต์เลอส์ 28 (7)
2018อู่ฮั่นซอลล์ (ยืมตัว) 6 (6)
2019 โฟร์ตาเลซา 0 (0)
2019 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 15 (6)
2019 Khor Fakkan 2 (0)
2020 สมุทรปราการ ซิตี้ 3 (0)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2020

เปดรู บิสปู โมเรย์รา ฌูนีโยร์ (โปรตุเกส: Pedro Bispo Moreira Júnior; 29 มกราคม ค.ศ. 1987 —) เป็นนักฟุตบอลชาวบราซิล ตำแหน่งกองหน้า โดยก่อนหน้านี้เขาเคยเล่นให้กับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ สมุทรปราการ ซิตี้ ในไทยลีก

สโมสรอาชีพ[แก้]

คาชิมะ แอนต์เลอส์[แก้]

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด[แก้]

ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 เปดรูได้ย้ายมาร่วมทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด อย่างเป็นทางการ[1] โดยเขาจะสวมเสื้อหมายเลข 77[2] ต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 ไทยลีก นัดเปิดฤดูกาล 2019 เปดรูประเดิมสนามให้บุรีรัมย์นัดแรกเป็นทางการในนัดที่บุรีรัมย์เปิดบ้านเสมอกับชลบุรี 2-2 โดยเขาลงเล่นเป็นตัวสำรองแทนที่เลือง ซวน เจื่อง ในนาทีที่ 53[3] ต่อมาในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2019 เปดรูทำประตูแรกในลีกในนัดที่บุรีรัมย์บุกไปชนะทรูแบงค็อก ยูไนเต็ด ที่สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ 1–0[4] ต่อมาในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2019 เปดรูทำ 2 ประตูในลีกในนัดที่บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะสมุทรปราการ ซิตี้ ไปได้ 3–2[5] ต่อมาในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 2019 เปดรูทำประตูที่ 4 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะราชบุรีที่มิตรผลสเตเดียม 2–1[6] ต่อมาในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 การแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ รอบ 64 ทีมสุดท้าย เปดรูทำประตูช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านแซงเอาชนะพีทีที ระยอง ไปได้ 3–1 ผ่านเข้าสู่รอบ 32 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[7]

ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม G เปดรูทำประตูในนัดที่บุรีรัมย์เปิดบ้านพ่ายแพ้ต่ออูราวะ เรดไดมอนส์ สโมสรจากญี่ปุ่น 1–2 ทำให้บุรีรัมย์ยุติเส้นทางในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกที่รอบแบ่งกลุ่มแต่เพียงเท่านี้[8] ต่อมาในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 การแข่งขันโตโยต้าลีกคัพ รอบ 32 ทีมสุดท้าย เปดรูทำสองประตูช่วยให้บุรีรัมย์แซงเอาชนะระยองไปได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ 4–1 ผ่านเข้าสู่รอบถัดไปได้สำเร็จ[9] ต่อมาในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 การแข่งขันไทยลีกนัดที่ 11 ของสโมสร เปดรูยิงจุดโทษพลาด ทำให้บุรีรัมย์พลาดโอกาสในการขึ้นนำ และจบลงด้วยการพ่ายแพ้ต่อชัยนาท ฮอร์นบิล ที่สนามเขาพลอง 2–1[10] ต่อมาในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2019 เปดรูทำประตูที่ 5 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะพีทีที ระยอง ไปได้ 5–0[11] ต่อมาในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2019 เปดรูทำประตูที่ 6 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะการท่าเรือที่แพตสเตเดียม 3–1 กลับขึ้นเป็นจ่าฝูงไทยลีกได้สำเร็จ[12] ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2019 การแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ รอบ 32 ทีมสุดท้าย เปดรูทำหนึ่งประตู ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะลำปางไปได้ 4–1 ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[13] ทว่าในสัปดาห์ถัดมา เขาแยกทางกับสโมสร[14]

สมุทรปราการ ซิตี้[แก้]

ในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2020 เปดรู ได้ย้ายไปร่วมทีมสมุทรปราการ ซิตี้[15]

สถิติอาชีพ[แก้]

ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2019
ผลงานในนามสโมสร[16][17][18] ลีก ถ้วย ถ้วยลีก ทวีป อื่น ๆ1 ทั้งหมด
ฤดูกาล สโมสร ลีก ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
2007 โอมิยะ อาร์ดิจา เจลีก 1 6 0 0 0 0 0 6 0
2008 9 2 0 0 3 1 12 3
2009 อัลบีเร็กซ์ นิอิงะตะ 21 10 0 0 3 0 24 10
2009 กัมบะ โอซากะ 7 3 3 2 0 0 10 5
2010 2 0 0 0 0 0 1 0 3 0
2011 0 0 0 0 0 0 0 0
2011 เอ็ฟซี โตเกียว เจลีก ดิวิชัน 2 2 0 0 0 0 0 2 0
2013 เชจูยูไนเต็ด เคลีก 25 15 3 1 28 16
2014 วิสเซล โคเบะ เจลีก 1 32 13 1 0 5 1 38 14
2015 13 1 1 0 4 2 18 3
2016 29 11 3 4 5 3 37 18
2017 คาชิมะ แอนต์เลอส์ 21 7 1 0 0 0 5 3 1 0 28 10
2019 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไทยลีก 15 6 2 2 1 2 5 1 23 11
2020 สมุทรปราการ ซิตี้ 3 0 0 0 0 0 3 0
ประเทศ ญี่ปุ่น 142 47 9 6 20 7 6 3 1 0 178 63
เกาหลีใต้ 25 15 3 1 28 16
ไทย 18 6 2 2 1 2 5 1 26 11

1รวม เจแปนนิสซูเปอร์คัพ

เกียรติประวัติ[แก้]

  • บราซิลเลียนลีก (ดิวิชัน 2) – 2005
  • ฮิวกรังจีดูซูวสเตตลีก – 2006
  • ชิลีออกตาโกนัลทัวร์นาเมนต์ – 2005
  • เอ็มเพอเรอร์คัพ – 2009
  • กังเปโอนาตูเปร์นังบูกานู – 2010 (คว้าแชมป์กับสปอร์ชีเรซีฟี)

อ้างอิง[แก้]

  1. "บุรีรัมย์เปิดตัว เปโดร หอกใหม่". Goal Thailand. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2019.
  2. "เปโดร เลือก 77 เบอร์เสื้อบุรีรัมย์". Goal Thailand. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2019.
  3. "TTL REPLAY: บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2-2 ชลบุรี เอฟซี". สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2019.
  4. "เปโดรซัดท้ายเกมบุรีรัมย์เชือดบียู 1-0". สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2019.
  5. "บุรีรัมย์เฉือนสมุทรปราการ 3-2". สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2019.
  6. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุกแซงชนะ ราชบุรี เอฟซี กลับขึ้นรองจ่าฝูงไทยลีก". สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2019.
  7. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไล่รัวแซงชนะ พีทีที ระยอง 3-1 ฉลุยสู่รอบ 32 ทีม ช้าง เอฟเอคัพ 2019". สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พ่าย อูราวะ เรด ไดมอนส์ 1-2 หยุดเส้นทาง ACL 2019 เพียงแค่รอบแบ่งกลุ่ม". สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ปราสาทสายฟ้า แรงปลายเร่งแซงชนะ ระยอง เอฟซี ช่วงต่อเวลา". สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุกพ่าย ชัยนาท ฮอร์นบิล ลูกหนังไทยลีก". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จัดหนักอัด พีทีที ระยอง 5-0 ลูกหนังไทยลีก นัดตกค้าง". สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุกเชือด การท่าเรือ เอฟซี ทะยานกลับสู่บัลลังก์ผู้นำไทยลีก". สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ไล่ยิงชนะ ลำปาง เอฟซี 4-1 ผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย ลูกหนัง ช้าง เอฟเอคัพ 2019". สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "เปโดร โบกมือลาบุรีรัมย์เรียบร้อย". สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "สมุทรปราการคว้า "เปโดร" ร่วมทัพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-14. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. Nippon Sports Kikaku Publishing inc./日本スポーツ企画出版社, "J1&J2&J3選手名鑑ハンディ版 2018 (NSK MOOK)", 7 February 2018, Japan, ISBN 978-4905411529 (p. 17 out of 289)
  17. Nippon Sports Kikaku Publishing inc./日本スポーツ企画出版社, "2017 J1&J2&J3選手名鑑 (NSK MOOK)", 8 February 2017, Japan, ISBN 978-4905411420 (p. 8 out of 289)
  18. Nippon Sports Kikaku Publishing inc./日本スポーツ企画出版社, "2016J1&J2&J3選手名鑑", 10 February 2016, Japan, ISBN 978-4905411338 (p. 98 out of 289)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]