NeoCoV

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Coronavirus Neoromicia/PML-PHE1/RSA/2011
การจำแนกชนิดไวรัส แก้ไขการจำแนกนี้
ไม่ได้จัดลำดับ: ไวรัส
Realm: Riboviria
อาณาจักร: Orthornavirae
ไฟลัม: Pisuviricota
ชั้น: Pisoniviricetes
อันดับ: Nidovirales
วงศ์: Coronaviridae
สกุล: Betacoronavirus
สกุลย่อย: Merbecovirus
สปีชีส์: Coronavirus Neoromicia/PML-PHE1/RSA/2011

NeoCoV (Coronavirus Neoomicia/PML-PHE1/RSA/2011) เป็นไวรัสในสกุล betacoronavirus พบในตัวอย่างมูลของค้างคาวท้องสีน้ำตาลซูลู (อังกฤษ: Zulu serotine, ชื่อวิทยาศาสตร์: Neoromicia zuluensis) ในประเทศแอฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2554

ในปี พ.ศ. 2565 ผู้เชี่ยวชาญในประเทศจีนเตือนว่า NeoCoV เป็นไวรัสที่มีความใกล้เคียงที่สุดกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์กลุ่มอาการของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV)[1][2]

จีโนม[แก้]

จีโนมของไวรัส NeoCoV มีความยาวประมาณ 30,000 นิวคลีโอไทด์ ประกอบด้วยส่วน open reading frame (ORF) 1a และ 1b, ส่วนสร้างโปรตีนหนาม (S), โปรตีนเมมเบรน (M), โปรตีนเยื่อหุ้มชั้นนอก (E), โปรตีนแคปซิด (N) และโปรตีนโครงสร้างอีกสี่ชนิด และส่วน ORF อีกห้าเฟรมคือ 3, 4a, 4b, 5 และ 8b ซึ่งเป็นส่วนในการสร้างโปรตีนเสริม[3]

แม้ว่าไวรัสโคโรนาในค้างคาวท้องสีน้ำตาลซูลูจะมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดที่สุดกับไวรัส MERS-CoV แต่ลำดับ S1 ในโปรตีนหนาม (spike) ค่อนข้างแตกต่างจาก MERS-CoV แต่มีความใกล้เคียงกับไวรัสโคโรนาในเฮดจ์ฮอก ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าอาจเป็นการรวมตัวใหม่ทางพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาในเฮดจ์ฮอกแอฟริกาและไวรัสโคโรนาในค้างคาว[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Matthieu Terrats (31 มกราคม 2022). "NeoCov, un coronavirus plus meurtrier que le Covid-19 : les scientifiques de Wuhan donnent l'alerte". L'Indépendant (ภาษาฝรั่งเศส).
  2. Ithete, Ndapewa Laudika; Stoffberg, Samantha; Corman, Victor Max; และคณะ (2013). "Close Relative of Human Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus in Bat, South Africa". Emerging Infectious Diseases. 19 (10): 1697–1699. doi:10.3201/eid1910.130946. ISSN 1080-6040.
  3. 3.0 3.1 Lau, Susanna K P; Zhang, Libiao; Luk, Hayes K H; และคณะ (2018). "Receptor Usage of a Novel Bat Lineage C Betacoronavirus Reveals Evolution of Middle East Respiratory Syndrome-Related Coronavirus Spike Proteins for Human Dipeptidyl Peptidase 4 Binding". The Journal of Infectious Diseases. 218 (2): 197–207. doi:10.1093/infdis/jiy018. ISSN 0022-1899.