มิกูราจิมะ
มิกูราจิมะ 御蔵島村 | |
---|---|
ท่าเรือที่มิกูราจิมะ | |
ที่ตั้งของมิกูราจิมะ (เน้นสีเขียว) ในมหานครโตเกียว | |
พิกัด: 33°53′50.4″N 139°35′45.8″E / 33.897333°N 139.596056°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คันโต |
จังหวัด | มหานครโตเกียว |
กิ่งจังหวัด | มิยาเกะ |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาลหมู่บ้าน |
• นายกเทศมนตรี | มาซาฮิโกะ โทกูยามะ (德山 正彦) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 20.39 ตร.กม. (7.87 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 มิถุนายน ค.ศ. 2024)[1] | |
• ทั้งหมด | 310 คน |
• ความหนาแน่น | 15.2 คน/ตร.กม. (39 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
รหัสท้องถิ่น | 13382-5 |
โทรศัพท์ | 04994-8-2121 |
ที่อยู่ศาลาว่าการ | อาซะอิริกาเนงาซาวะ หมู่บ้านมิกูราจิมะ มหานครโตเกียว 100-1301 |
เว็บไซต์ | www |
หมู่บ้านมิกูราจิมะ (ญี่ปุ่น: 御蔵島村; โรมาจิ: Mikurajima-mura) เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในกิ่งจังหวัดมิยาเกะ อยู่ในการปกครองของมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[2] ณ วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2024 หมู่บ้านนี้มีจำนวนประชากรประมาณ 310 คน[1] มีความหนาแน่นของประชากร 15.2 คนต่อตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ทางบกทั้งสิ้น 20.39 ตารางกิโลเมตร (7.87 ตารางไมล์)
ภูมิศาสตร์
[แก้]หมู่บ้านมิกูราจิมะมีพื้นที่ครอบคลุมเกาะมิกูระ ซึ่งมีคนอาศัยอยู่ และเกาะอินัมบะ ซึ่งไม่มีคนอาศัยอยู่[3] เกาะมิกูระเป็นหนึ่งในกลุ่มเกาะทางตอนเหนือของหมู่เกาะอิซุ ในทะเลฟิลิปปินส์ ห่างจากโตเกียวไปทางใต้ 200 กิโลเมตร (120 ไมล์) และห่างจากเกาะมิยาเกะไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 19 กิโลเมตร (12 ไมล์) หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับความอบอุ่นจากกระแสน้ำคูโรชิโอะ จึงมีภูมิอากาศที่อบอุ่นกว่าและชื้นกว่าใจกลางโตเกียว
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]สถิติประชากร
[แก้]ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] ประชากรของมิกูราจิมะค่อนข้างคงที่ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1980 | 225 | — |
1990 | 293 | +30.2% |
2000 | 308 | +5.1% |
2010 | 348 | +13.0% |
2020 | 323 | −7.2% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]หมู่บ้านมิกูราจิมะจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1923 เมื่อหมู่เกาะอิซุถูกแบ่งเขตการปกครองออกเป็นหมู่บ้านและเมือง
เศรษฐกิจ
[แก้]เศรษฐกิจของหมู่บ้านมิกูราจิมะเน้นไปที่การท่องเที่ยวตามฤดูกาลเป็นหลัก เสริมด้วยการทำอุตสาหกรรมป่าไม้และการประมงเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ยังมีการทำฟาร์มขนาดเล็กอีกด้วย นักท่องเที่ยวมักมาทำกิจกรรม เช่น ตกปลา และดำน้ำ ด้วยความที่เกาะนี้เข้าถึงได้ยาก จึงมีนักท่องเที่ยวน้อยกว่าเกาะอื่น ๆ ในหมู่เกาะอิซุมาก และเนื่องจากจำนวนประชากรน้อยและนักท่องเที่ยวจำนวนจำกัด ธรรมชาติจึงยังคงความบริสุทธิ์อยู่ นอกจากนี้ยังมีโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กผลิตไฟฟ้าให้กับหมู่บ้าน
การขนส่ง
[แก้]มิกูราจิมะไม่มีท่าเรือขนาดใหญ่ การเข้าถึงเกาะนี้ทำได้โดยการขึ้นเรือเฟอร์รีโทไกคิเซ็ง (東海汽船; Tōkai Kisen) ที่แล่นจากเกาะมิยาเกะจิมะ และมีเฮลิคอปเตอร์ไปยังเกาะฮาจิโจจิมะ อิซุโอชิมะ และมิยาเกะจิมะ
การศึกษา
[แก้]หมู่บ้านมิกูราจิมะมีโรงเรียนประถมและมัธยมต้นที่สังกัดเทศบาลหมู่บ้านมิกูราจิมะ คือ โรงเรียนประถมและมัธยมต้นมิกูราจิมะ (御蔵島小中学校)[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "東京都の人口(推計)" [ประชากรของมหานครโตเกียว (ประมาณการ)]. เว็บไซต์สถิติมหานครโตเกียว (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2024.
- ↑ Otake, Tomoko (2011-04-24). "Mikura: Tokyo's island of natural wonders". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-09-15.
- ↑ Otake, Tomoko (2011-04-24). "A place of refuge for exiles and foreign wayfarers". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-09-15.
- ↑ สถิติประชากรมิกูราจิมะ
- ↑ "御蔵島村立学校施設使用規則". หมู่บ้านมิกูราจิมะ. สืบค้นเมื่อ 2022-11-05. - เว็บไซต์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Mikurajima, Tokyo
- เว็บไซต์ทางการของหมู่บ้านมิกูราจิมะ (ในภาษาญี่ปุ่น)