Lacticaseibacillus rhamnosus

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Lacticaseibacillus rhamnosus
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: แบคทีเรีย
ไฟลัม: Firmicutes
ชั้น: Bacilli
อันดับ: Lactobacillales
วงศ์: Lactobacillaceae
สกุล: Lacticaseibacillus
สปีชีส์: Lacticaseibacillus rhamnosus
ชื่อทวินาม
Lacticaseibacillus rhamnosus
(Hansen 1968) Zheng et al. 2020
ชื่อพ้อง[1]
  • Lactobacillus rhamnosus (Hansen 1968) Collins et al. 1989
  • Lactobacillus casei subsp. rhamnosus Hansen 1968 (Approved Lists 1980)

Lacticaseibacillus rhamnosus (เดิมชื่อ Lactobacillus rhamnosus[1]) เป็นแบคทีเรียที่แต่เดิมได้รับการระบุว่าเป็นสายพันธุ์ย่อยของ L. casei แต่การวิจัยทางพันธุกรรมพบว่าเป็นสปีชีส์ที่แยกกันในเคลด L. casei (ซึ่งเคลดนี้รวมถึง L. paracasei และ L. zeae )[2][3] เป็นแบคทีเรียแกรมบวกมีรูปร่างเป็นแท่งสั้นไม่สร้างสปอร์ เจริญได้ทั้งในสภาวะที่มีหรือไม่มีออกซิเจน กลุ่มโฮโมเฟอร์เมนเททีฟที่มักปรากฏเป็นสายโซ่ แบคทีเรีย L. rhamnosus บางสายพันธุ์ถูกนำมาใช้เป็นโปรไบโอติกส์ และมีประโยชน์อย่างยิ่งในการรักษาโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (หรือ "BV") ในกรณีที่รักษายากมาก[4] สายพันธุ์ Lacticaseibacillus rhamnosus และ Limosilactobacillus reuteri มักพบในระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะเพศหญิงที่มีสุขภาพดี และมีประโยชน์ในการควบคุมการเสียสมดุลจากการเจริญมากเกินของแบคทีเรียในระหว่างการติดเชื้อ บางครั้งมีการใช้ L. rhamnosus ในผลิตภัณฑ์นม เช่น นมหมัก และใช้เป็นแบคทีเรียที่ไม่ใช่เชื้อตั้งต้นของการผลิตกรดแล็กติก (NSLAB) ในชีสที่บ่มนาน[5] ในขณะที่มักถูกมองว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ ในสถานการณ์ที่หายาก L. rhamnosus อาจไม่เป็นประโยชน์ต่อประชากรบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือทารก โดยเชื้ออาจทำให้เกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบได้[6] แม้จะมีการติดเชื้อหายากที่เกิดจาก L. rhamnosus แต่สายพันธุ์นี้ก็รวมอยู่ในรายชื่อแบคทีเรียที่มีสถานะที่ประเมินว่าปลอดภัย (QPS) ของหน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Agency)[7]

จีโนม[แก้]

Lacticaseibacillus rhamnosus ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีแหล่งที่อยู่แน่นอน[8] โดยแยกสายพันธุ์ย่อยได้จากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งช่องคลอดและระบบทางเดินอาหาร สายพันธุ์ย่อยของ L. rhamnosus มีความสามารถในการทำงานของยีนเฉพาะสายพันธุ์ซึ่งจำเป็นต่อการปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย[9] จีโนมที่พบในทุกสายพันธุ์ (core genome) ประกอบด้วยยีน 2,164 ยีน จากทั้งหมด 4,711 ยีน (แพนจีโนม)[9] จีโนมที่พบในบางสายพันธุ์ (accessory genome) ถูกแทรกแซงโดยยีนที่เข้ารหัสการขนส่งคาร์โบไฮเดรตและเมแทบอลิซึม โพลีแซคคาไรด์นอกเซลล์ การสังเคราะห์ทางชีวภาพ การผลิตแบคทีริโอซิน การผลิตพิไล (pili) เทคนิคระบุบริเวณในจีโนมที่ต้องการปรับแต่งยีน (CRISPR-Cas) และองค์ประกอบทางพันธุกรรมของฟังก์ชันการขนส่งและการเคลื่อนที่มากกว่า 100 ฟังก์ชัน เช่น เฟจ พลาสมิดยีน และทรานสโพซอน[9]

จีโนมเฉพาะของสายพันธุ์ย่อย L. rhamnosus LRB ในกรณีนี้ นำมาจากฟันน้ำนมของมนุษย์ ประกอบด้วยห่วงโซ่โครโมโซม 2,934,954 คู่เบส ที่มีปริมาณเบส GC ร้อยละ 46.78[10] จีโนมนี้มียีนทั้งหมด 2,749 ยีน โดยมี 2,672 ที่เป็นลำดับการเข้ารหัสโปรตีนทั้งหมด[10] ตัวอย่างนี้ไม่มีพลาสมิดใด ๆ เลย[10] สายพันธุ์ที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวางที่สุดคือ L. rhamnosus GG ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แยกได้จากลำไส้ ประกอบด้วยจีโนม 3,010,111 คู่เบส ดังนั้น จีโนม LRB จึงสั้นกว่าจีโนมของ GG โดย LRB ไม่มีคลัสเตอร์ยีน spaCBA ของ GG และคาดว่าจะไม่สามารถผลิตพิไลที่ทำงานได้[10] ความแตกต่างนี้อาจช่วยอธิบายได้ว่าทำไมแต่ละสายพันธุ์จึงอาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน

Lacticaseibacillus rhamnosus GG (ATCC 53103)[แก้]

Lacticaseibacillus rhamnosus GG (ATCC 53103) เป็นสายพันธุ์ย่อยของ L. rhamnosus ที่แยกได้จากลำไส้ของมนุษย์ที่มีสุขภาพดีใน ค.ศ. 1983 และได้ยื่นขอสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1985 โดยเชอร์วูด กอร์บาค (Sherwood Gorbach) และแบร์รี โกลดิน (Barry Goldin)[11] ซึ่ง 'GG' มาจากอักษรตัวแรกของนามสกุลของพวกเขา[12] สิทธิบัตรอ้างถึงสายพันธุ์ของ L. acidophilus GG ที่มีหมายเลขทะเบียน American Type Culture Collection (ATCC) 53103 ภายหลังถูกจัดประเภทใหม่เป็นสายพันธุ์ L. rhamnosus สิทธิบัตรอ้างว่าสายพันธุ์ L. rhamnosus GG (ATCC 53103) มีความคงตัวในกรดและน้ำดี มีความเร็วในการเกิดปฏิกิริยา (avidity) อย่างมากในเซลล์เยื่อบุลำไส้ของมนุษย์ และผลิตกรดแล็กติก นับตั้งแต่มีการค้นพบสายพันธุ์นี้ ก็ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพที่หลากหลาย และปัจจุบันสายพันธุ์ L. rhamnosus GG (ATCC 53103) เป็นแบคทีเรียโปรไบโอติกส์ที่มีการศึกษามากที่สุดในโลก โดยมีงานวิจัยมากกว่า 800 รายการ[9]

ลำดับจีโนมของ Lactobacillus rhamnosus GG (ATCC 53103) ได้รับการถอดรหัสใน ค.ศ. 2009[13][14]

ประวัติ[แก้]

ใน ค.ศ. 1983 L. rhamnosus GG ถูกแยกได้จากลำไส้ของมนุษย์ที่มีสุขภาพดีโดยเชอร์วูด กอร์บาค และแบร์รี โกลดิน

การวิจัยทางการแพทย์และการใช้งาน[แก้]

จากที่ L. rhamnosus GG (ATCC 53103) สามารถอยู่รอดได้ในกรดของกระเพาะอาหารและน้ำดีในลำไส้[15] จึงถูกระบุว่ามีแหล่งอาศัยในระบบทางเดินอาหาร และสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ หลักฐานบ่งชี้ว่า L. rhamnosus เปรียบได้กับจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ในสกุลแลคโตบาซิลลัสเกือบทั้งหมดที่เป็นเพียงผู้อาศัยชั่วคราวและไม่ใช่จุลินทรีย์ท้องถิ่น (autochthonous)[16] Lactobacillus rhamnosus GG จะจับกับเยื่อบุลำไส้[17] ซึ่งคุณลักษณะนี้ทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่เอื้ออำนวยต่อการตรวจสอบการเสริมโปรไบโอติกส์เพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่ระบุถึงอาการป่วยที่ใช้สิ่งมีชีวิตโปรไบโอติกส์เป็นการรักษาทางเลือกแรกหรือทางเลือกที่สองที่เหมาะสม

Lactobacillus rhamnosus GG สามารถกระตุ้นการผลิตไซโตไคน์บางชนิด เช่น:[18]

อาการท้องร่วง[แก้]

Lacticaseibacillus rhamnosus GG มีประโยชน์ในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรตาในเด็ก มีการแสดงให้เห็นถึงการป้องกันและรักษาโรคท้องร่วงประเภทต่าง ๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่[19][20] L. rhamnosus GG สามารถเป็นประโยชน์ในการป้องกันอาการท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับยาปฏิชีวนะและโรคท้องร่วงจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล และสิ่งนี้ได้รับการสนับสนุนในข้อแนะนำของยุโรป[21][22][23] Lactobacillus rhamnosus GG อาจลดความเสี่ยงของอาการท้องร่วงของนักเดินทาง[24]

กระเพาะและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน[แก้]

เอกสารวิชาการหลักที่เผยแพร่โดยคณะทำงานด้านโปรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ของ European Society for Paediatric Gastroenterology Hepatology and Nutrition (ESPGHAN) ซึ่งมีการทบทวนอย่างเป็นระบบและทำการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCTs) (หลักฐานคุณภาพต่ำ, ต้องการคำแนะนำที่ชัดเจน) ระบุว่า L. rhamnosus GG อาจได้รับการพิจารณาใช้ในการรักษาเด็กที่เป็นโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน นอกเหนือจากการบำบัดด้วยการให้สารน้ำ[25]

ผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้[แก้]

Lacticaseibacillus rhamnosus GG พบว่าไม่ได้ผลในการรักษาอาการผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้[26] อย่างไรก็ตาม ในการสังเกตทางคลินิกแบบไม่สุ่มหนึ่งครั้ง[27] เกี่ยวกับผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กที่ดื้อยา มีรายงานถึงการปรับปรุงคุณภาพชีวิตอย่างมากในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับ L. rhamnosus เสริม

ความเสี่ยง[แก้]

การใช้ L. rhamnosus GG สำหรับการบำบัดด้วยโปรไบโอติกนั้นเชื่อมโยงกับกรณีของภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่หายากในกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องและทารก[28] การรับประทาน L. rhamnosus GG ถือว่ามีความปลอดภัย และข้อมูลแสดงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการบริโภคในระดับประชากร ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของกรณีผู้ป่วยภาวะเลือดมีแบคทีเรียจากเชื้อแลคโตบาซิลลัส[29]

Lacticaseibacillus rhamnosus GR-1[แก้]

Lacticaseibacillus rhamnosus GR-1 เดิมพบในท่อปัสสาวะของสตรีที่มีสุขภาพดี และปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ต้นแบบสำหรับโปรไบโอติกในช่องคลอด การเปรียบเทียบจีโนมระหว่าง L. rhamnosus GG และ L. rhamnosus GR-1 แสดงให้เห็นว่า GR-1 ไม่มีพิไล (pili) ที่เข้ารหัสด้วย spaCBA ซึ่งเป็นตัวยึดเกาะ (adhesin) ที่สำคัญในการยึดเกาะของ L. rhamnosus GG กับเซลล์เยื่อบุผิวในลำไส้[30] ในทางตรงกันข้าม L. rhamnosus GR-1 ใช้โปรตีนที่มีลักษณะคล้ายเลกตินเพื่อยึดติดกับคาร์โบไฮเดรตบนพื้นผิวของเซลล์เป้าหมาย โปรตีนที่คล้ายเลกตินจะชอบจับกับเยื่อบุผิวประเภทสแตรทิฟายด์สความัสนอนคีราตินไนซด์ (nonkeratinized stratified squamous cells) ซึ่งพบในท่อปัสสาวะและช่องคลอด โปรตีนคล้ายเลกตินบริสุทธิ์จาก L. rhamnosus GR-1 พบว่าป้องกันการติดเชื้อ E. coli UTI89 ที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินปัสสาวะได้โดยการยับยั้งการยึดเกาะกับเซลล์เยื่อบุผิวและรบกวนการสร้างไบโอฟิล์ม[31] นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มการสร้างไบโอฟิล์มในแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัสที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในช่องคลอด

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Zheng J, Wittouck S, Salvetti E, Franz CMAP, Harris HMB, Mattarelli P, และคณะ (เมษายน 2020). "A taxonomic note on the genus Lactobacillus: Description of 23 novel genera, emended description of the genus Lactobacillus Beijerinck 1901, and union of Lactobacillaceae and Leuconostocaceae". International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology. 70 (4): 2782–2858. doi:10.1099/ijsem.0.004107. PMID 32293557.
  2. Wuyts S, Wittouck S, De Boeck I, Allonsius CN, Pasolli E, Segata N, Lebeer S (29 สิงหาคม 2017). Dorrestein PC (บ.ก.). "Large-Scale Phylogenomics of the Lactobacillus casei Group Highlights Taxonomic Inconsistencies and Reveals Novel Clade-Associated Features". mSystems. 2 (4): mSystems.00061–17, e00061–17. doi:10.1128/mSystems.00061-17. PMC 5566788. PMID 28845461.
  3. Liu DD, Gu CT (ธันวาคม 2020). "Proposal to reclassify Lactobacillus zhaodongensis, Lactobacillus zeae, Lactobacillus argentoratensis and Lactobacillus buchneri subsp. silagei as Lacticaseibacillus zhaodongensis comb. nov., Lacticaseibacillus zeae comb. nov., Lactiplantibacillus argentoratensis comb. nov. and Lentilactobacillus buchneri subsp. silagei comb. nov., respectively and Apilactobacillus kosoi as a later heterotypic synonym of Apilactobacillus micheneri". International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology. 70 (12): 6414–6417. doi:10.1099/ijsem.0.004548. PMID 33112225.
  4. de Vrese M, Laue C, Papazova E, Petricevic L, Schrezenmeir J (พฤษภาคม 2019). "Impact of oral administration of four Lactobacillus strains on Nugent score - systematic review and meta-analysis". Beneficial Microbes. 10 (5): 483–496. doi:10.3920/BM2018.0129. PMID 31012733.
  5. Licitra G, Carpino S (1 มกราคม 2014). "The Microfloras and Sensory Profiles of Selected Protected Designation of Origin Italian Cheeses". ใน Donnelly C (บ.ก.). Cheese and Microbes. Microbiology Spectrum (ภาษาอังกฤษ). Vol. 2. American Society of Microbiology. pp. 151–165. doi:10.1128/microbiolspec.cm-0007-2012. ISBN 978-1-55581-586-8. PMID 26082116.
  6. Avlami A, Kordossis T, Vrizidis N, Sipsas NV (พฤษภาคม 2001). "Lactobacillus rhamnosus endocarditis complicating colonoscopy". The Journal of Infection. 42 (4): 283–5. doi:10.1053/jinf.2001.0793. PMID 11545575.
  7. "Introduction of a Qualified Presumption of Safety (QPS) approach for assessment of selected microorganisms referred to EFSA - Opinion of the Scientific Committee". EFSA Journal. 5 (12): 587. ธันวาคม 2007. doi:10.2903/j.efsa.2007.587. ISSN 1831-4732.
  8. Duar RM, Lin XB, Zheng J, Martino ME, Grenier T, Pérez-Muñoz ME, และคณะ (สิงหาคม 2017). "Lifestyles in transition: evolution and natural history of the genus Lactobacillus". FEMS Microbiology Reviews. 41 (Supp_1): S27–S48. doi:10.1093/femsre/fux030. PMID 28673043.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Ceapa C, Davids M, Ritari J, Lambert J, Wels M, Douillard FP, และคณะ (กรกฎาคม 2016). "The Variable Regions of Lactobacillus rhamnosus Genomes Reveal the Dynamic Evolution of Metabolic and Host-Adaptation Repertoires". Genome Biology and Evolution. 8 (6): 1889–905. doi:10.1093/gbe/evw123. PMC 4943194. PMID 27358423.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Biswas S, Biswas I (พฤศจิกายน 2016). "Complete Genome Sequence of Lactobacillus rhamnosus Strain LRB". Genome Announcements. 4 (6). doi:10.1128/genomeA.01208-16. PMC 5095466. PMID 27811096.
  11. US 4839281, Gorbach, Sherwood L. & Barry R. Goldin, "Lactobacillus strains and methods of selection", published 13 มิถุนายน 1989, assigned to New England Medical Center Inc. 
  12. Silva M, Jacobus NV, Deneke C, Gorbach SL (สิงหาคม 1987). "Antimicrobial substance from a human Lactobacillus strain". Antimicrobial Agents and Chemotherapy. 31 (8): 1231–3. doi:10.1128/aac.31.8.1231. PMC 174909. PMID 3307619.
  13. Kankainen M, Paulin L, Tynkkynen S, von Ossowski I, Reunanen J, Partanen P, และคณะ (ตุลาคม 2009). "Comparative genomic analysis of Lactobacillus rhamnosus GG reveals pili containing a human- mucus binding protein". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 106 (40): 17193–8. Bibcode:2009PNAS..10617193K. doi:10.1073/pnas.0908876106. PMC 2746127. PMID 19805152.
  14. Morita H, Toh H, Oshima K, Murakami M, Taylor TD, Igimi S, Hattori M (ธันวาคม 2009). "Complete genome sequence of the probiotic Lactobacillus rhamnosus ATCC 53103". Journal of Bacteriology. 191 (24): 7630–1. doi:10.1128/JB.01287-09. PMC 2786603. PMID 19820099.
  15. Conway PL, Gorbach SL, Goldin BR (มกราคม 1987). "Survival of lactic acid bacteria in the human stomach and adhesion to intestinal cells". Journal of Dairy Science. 70 (1): 1–12. doi:10.3168/jds.S0022-0302(87)79974-3. PMID 3106442.
  16. Walter J (2008). "Ecological role of lactobacilli in the gastrointestinal tract: Implications for fundamental and biomedical research". Applied and Environmental Microbiology. 74 (16): 4985–96. doi:10.1128/AEM.00753-08. PMC 2519286. PMID 18539818.
  17. Ardita CS, Mercante JW, Kwon YM, Luo L, Crawford ME, Powell DN, Jones RM, Neish AS (สิงหาคม 2014). "Epithelial adhesion mediated by pilin SpaC is required for Lactobacillus rhamnosus GG-induced cellular responses". Applied and Environmental Microbiology. 80 (16): 5068–77. doi:10.1128/AEM.01039-14. PMC 4135752. PMID 24928883.
  18. Handbook of Fermented Functional Foods (ภาษาอังกฤษ) (Second (Functional Foods and Nutraceuticals) ed.). Washington, DC: Taylor & Francis. 2008. p. 146. ISBN 1-4200-5326-4.
  19. Osterlund P, Ruotsalainen T, Korpela R, Saxelin M, Ollus A, Valta P, Kouri M, Elomaa I, Joensuu H (ตุลาคม 2007). "Lactobacillus supplementation for diarrhoea related to chemotherapy of colorectal cancer: a randomised study". British Journal of Cancer. 97 (8): 1028–34. doi:10.1038/sj.bjc.6603990. PMC 2360429. PMID 17895895.
  20. Guandalini S, Pensabene L, Zikri MA, Dias JA, Casali LG, Hoekstra H, และคณะ (2000). "Lactobacillus GG administered in oral rehydration solution to children with acute diarrhea: A multicenter European trial". Journal of Pediatric Gastroenterology and Nutrition. 30 (1): 54–60. doi:10.1097/00005176-200001000-00018. PMID 10630440.
  21. Hojsak I, Fabiano V, Pop TL, Goulet O, Zuccotti GV, Çokuğraş FC, Pettoello-Mantovani M, Kolaček S (กุมภาพันธ์ 2018). "European guidance on paediatric use of probiotics states that benefits are limited to several conditions and urges caution with specific vulnerable groups". Acta Paediatrica. 107 (6): 927–937. doi:10.1111/apa.14270. PMC 5969308. PMID 29446865.
  22. Cameron D, Hock QS, Kadim M, Mohan N, Ryoo E, Sandhu B, Yamashiro Y, Jie C, Hoekstra H, Guarino A (ธันวาคม 2017). "Probiotics for gastrointestinal disorders: Proposed recommendations for children of the Asia-Pacific region". World Journal of Gastroenterology. 23 (45): 7952–7964. doi:10.3748/wjg.v23.i45.7952. PMC 5725290. PMID 29259371.
  23. Blaabjerg S, Artzi DM, Aabenhus R (ตุลาคม 2017). "Probiotics for the Prevention of Antibiotic-Associated Diarrhea in Outpatients-A Systematic Review and Meta-Analysis". Antibiotics. 6 (4): 21. doi:10.3390/antibiotics6040021. PMC 5745464. PMID 29023420.
  24. Islam SU (กุมภาพันธ์ 2016). "Clinical Uses of Probiotics". Medicine. 95 (5): e2658. doi:10.1097/MD.0000000000002658. PMC 4748908. PMID 26844491.
  25. Szajewska H, Guarino A, Hojsak I, Indrio F, Kolacek S, Shamir R, Vandenplas Y, Weizman Z (เมษายน 2014). "Use of probiotics for management of acute gastroenteritis: a position paper by the ESPGHAN Working Group for Probiotics and Prebiotics". Journal of Pediatric Gastroenterology and Nutrition. 58 (4): 531–9. doi:10.1097/MPG.0000000000000320. PMID 24614141.
  26. Szajewska H, Horvath A (กันยายน 2018). "Lactobacillus rhamnosus GG in the Primary Prevention of Eczema in Children: A Systematic Review and Meta-Analysis". Nutrients. 10 (9): 1319. doi:10.3390/nu10091319. PMC 6163317. PMID 30231505.
  27. Hoang BX, Shaw G, Pham P, Levine SA (กรกฎาคม 2010). "Lactobacillus rhamnosus cell lysate in the management of resistant childhood atopic eczema". Inflammation & Allergy - Drug Targets. 9 (3): 192–6. doi:10.2174/187152810792231896. PMID 20687891.
  28. Gupta V, Garg R (2009). "Probiotics". Indian Journal of Medical Microbiology. 27 (3): 202–9. doi:10.4103/0255-0857.53201. PMID 19584499.
  29. Salminen MK, Tynkkynen S, Rautelin H, Saxelin M, Vaara M, Ruutu P, Sarna S, Valtonen V, Järvinen A (พฤศจิกายน 2002). "Lactobacillus bacteremia during a rapid increase in probiotic use of Lactobacillus rhamnosus GG in Finland". Clinical Infectious Diseases. 35 (10): 1155–60. doi:10.1086/342912. PMID 12410474.
  30. Petrova MI, Macklaim JM, Wuyts S, Verhoeven T, Vanderleyden J, Gloor GB, และคณะ (2018). "Comparative Genomic and Phenotypic Analysis of the Vaginal Probiotic Lactobacillus rhamnosus GR-1". Frontiers in Microbiology. 9: 1278. doi:10.3389/fmicb.2018.01278. PMC 6013579. PMID 29963028.
  31. Petrova MI, Lievens E, Verhoeven TL, Macklaim JM, Gloor G, Schols D, และคณะ (พฤศจิกายน 2016). "The lectin-like protein 1 in Lactobacillus rhamnosus GR-1 mediates tissue-specific adherence to vaginal epithelium and inhibits urogenital pathogens". Scientific Reports. 6: 37437. Bibcode:2016NatSR...637437P. doi:10.1038/srep37437. PMC 5116675. PMID 27869151.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

Salminen MK, Rautelin H, Tynkkynen S, Poussa T, Saxelin M, Valtonen V, Järvinen A (มกราคม 2004). "Lactobacillus bacteremia, clinical significance, and patient outcome, with special focus on probiotic L. rhamnosus GG". Clinical Infectious Diseases. 38 (1): 62–9. doi:10.1086/380455. PMID 14679449.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]