โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Bacterial vaginosis
ไมโครกราฟของโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย — เซลล์ ที่ ปากมดลูก ซึ่งมีเชื้อแบคทีเรียรูปร่างเป็นแท่งเกาะคลุมอยู่ Gardnerella vaginalis (arrows)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10B96, N76
ICD-9616.1
MeSHD016585

โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (bacterial vaginosis) (BV)หรือเป็นที่รู้จักในชื่ออื่นว่า โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ช่องคลอด (vaginal bacteriosis) หรือโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อการ์ดเนอเรลลา (Gardnerella vaginitis)[1] เป็น โรค ที่เกิดกับ ช่องคลอด โดยมีสาเหตุมาจาก เชื้อแบคทีเรียมีจำนวนมากกว่าปกติ[2] อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ตกขาว เพิ่มขึ้นโดยมักมีกลิ่นคาวปลา ปกติตกขาวจะมีสีขาวหรือสีเทา ปัสสาวะแสบ อาจจะเกิดขึ้น[3] อาการคันไม่ค่อยพบบ่อยนัก[2][3] บางครั้งอาจจะไม่มีอาการเลย[3] การเป็นโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้อจาก โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งรวมถึง โรคติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์[4] นอกจากนั้นยังจะเพิ่มความเสี่ยงต่อ การคลอดก่อนกำหนด ในหญิงที่ตั้งครรภ์[5]

สาเหตุและการวินิจฉัยโรค[แก้]

โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมีสาเหตุจากแบคทีเรียที่เกิดเองตามธรรมชาติในช่องคลอดเกิดเสียสมดุล[6] โดยแบคทีเรียชนิดที่พบบ่อยมากที่สุดเกิดการเปลี่ยนแปลงและจำนวนรวมของแบคทีเรียที่มีเพิ่มขึ้นร้อยเท่าถึงพันเท่า[2] ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การสวนล้างอวัยวะ การมีคู่สัมพันธ์ทางเพศคนใหม่หรือหลายคน ยาปฏิชีวนะ และการใช้ ห่วงอนามัย เป็นต้น[6] อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อดังกล่าวไม่นับว่าเป็นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์[7] การวินิจฉัยโรคจะเข้าข่ายต้องสงสัยโดยอาศัยดูจากอาการที่มีและอาจยืนยันว่าเป็นจริงได้ด้วยการตรวจสอบตกขาวแล้วพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่ช่องคลอดสูงกว่าปกติและพบแบคทีเรียเป็นจำนวนมากมหาศาล[2] มักเกิดความเข้าใจสับสนกันระหว่างโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (BV)กับ โรคติดเชื้อยีสต์หรือราในช่องคลอด หรือกับ การติดเชื้อพยาธิหนวดทริโคโมนาส[8]

การป้องกันและการรักษาเยียวยา[แก้]

ปกติแล้วการรักษาเยียวยาจะอาศัยยาปฏิชีวนะ คลินดาไมซิน หรือ เมโทรนิดาโซล. ยาเหล่านี้อาจมีการนำมาใช้ในช่วงสามเดือนที่สองหรือช่วงสามเดือนสุดท้ายของ การตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี บ่อยครั้งหลังการรักษาเยียวยาอาจจะกลับมามีอาการอีก โพรไบโอติก อาจช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคอีกได้[2] ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการใช้โพรไบโอติกหรือยาปฏิชีวนะจะส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์จากการตั้งครรภ์หรือไม่[2][9]

ระบาดวิทยาและประวัติ[แก้]

โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเป็นโรคติดเชื้อทางช่องคลอดที่พบบ่อยที่สุดในหญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์[6] จำนวนหญิงที่ถูกคุกคามด้วยโรคดังกล่าวไม่ว่าในช่วงวัยใดก็ตามจะแตกต่างกันไปตั้งแต่ร้อยละ 5 จนถึงร้อยละ 70[4] โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียพบบ่อยที่สุดในส่วนต่าง ๆ ของอาฟริกา และพบน้อยที่สุดในเอเชียกับยุโรป[4] ในสหรัฐอเมริกาหญิงที่มีอายุระหว่าง 14 และ 49 ปีได้ถูกคุกคามด้วยโรคดังกล่าวถึงประมาณร้อยละ 30[10] อัตราความชุกของโรคจะแตกต่างกันไปพอสมควรตามแต่ กลุ่มเชื้อชาติ ในประเทศหนึ่ง ๆ [4] แม้ในประวัติบันทึกส่วนใหญ่จะมีการอธิบายถึงอาการต่าง ๆ ที่คล้ายกับอาการของโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย แต่กรณีที่ได้มีการบันทึกหลักฐานไว้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกคือกรณีที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1894[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Borchardt, Kenneth A. (1997). Sexually transmitted diseases : epidemiology, pathology, diagnosis, and treatment. Boca Raton [u.a.]: CRC Press. p. 4. ISBN 9780849394768.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Donders, GG; Zodzika, J; Rezeberga, D (April 2014). "Treatment of bacterial vaginosis: what we have and what we miss". Expert opinion on pharmacotherapy. 15 (5): 645–57. PMID 24579850.
  3. 3.0 3.1 3.2 "What are the symptoms of bacterial vaginosis?". nichd.nih.gov/. 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 3 March 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Kenyon, C; Colebunders, R; Crucitti, T (December 2013). "The global epidemiology of bacterial vaginosis: a systematic review". American journal of obstetrics and gynecology. 209 (6): 505–23. PMID 23659989.
  5. "What are the treatments for bacterial vaginosis (BV)?". nichd.nih.gov/. 2013-07-15. สืบค้นเมื่อ 4 March 2015.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Bacterial Vaginosis (BV): Condition Information". nichd.nih.gov/. 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 3 March 2015.
  7. "Bacterial Vaginosis – CDC Fact Sheet". Centers for Disease Control and Prevention. March 11, 2014. สืบค้นเมื่อ 2 Mar 2015.
  8. Mashburn, J (2006). "Etiology, diagnosis, and management of vaginitis". Journal of midwifery & women's health. 51 (6): 423–30. PMID 17081932.
  9. Othman, M; Neilson, JP; Alfirevic, Z (24 January 2007). "Probiotics for preventing preterm labour". The Cochrane database of systematic reviews (1): CD005941. PMID 17253567.
  10. "Bacterial Vaginosis (BV) Statistics Prevalence". cdc.gov. September 14, 2010. สืบค้นเมื่อ 3 March 2015.