สกุลผักบุ้ง
สกุลผักบุ้ง | |
---|---|
ผักบุ้ง (Ipomoea aquatica) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Solanales |
วงศ์: | Convolvulaceae |
เผ่า: | Ipomoeeae |
สกุล: | Ipomoea L. 1753[1] |
ชนิด | |
มากกว่า 500 ชนิด | |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อพ้อง
|
สกุลผักบุ้ง (Ipomoea, มาจากคำภาษากรีก ipos แปลว่า หนอน และ homoios แปลว่า คล้าย) เป็นสกุลที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์ผักบุ้ง มีมากกว่า 500 ชนิด[2] กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่น[3] ชื่อสามัญของสกุลนี้คือ มอร์นิงกลอรี (morning glory) สกุลนี้มีลักษณะเป็นไม้เถาล้มลุกหรือไม้พุ่ม ใบเรียงเวียน เรียบหรือจักเป็นพู ดอกออกเป็นแบบช่อกระจุก ส่วนมากออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ติดทน ดอกรูปแตรหรือรูประฆัง ปลายจักตื้น ๆ หรือเกือบเรียบ มีแถบกลางกลีบชัดเจน เกสรเพศผู้ 5 อัน ส่วนมากขนาดไม่เท่ากัน จุดติดก้านชูอับเรณูกับหลอดกลีบมีขนหรือต่อม อับเรณูไม่บิดเวียน เรณูเป็นหนามละเอียด จานฐานดอกรูปวงแหวน รังไข่มี 2-4 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรจัก 2 พู เป็นตุ่ม เกสรเพศผู้และเพศเมียส่วนมากไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบ ผลแห้งแตก ส่วนมากมี 4 หรือ 6 ซีก แต่ละซีกมีเมล็ดเดียว รูปสามเหลี่ยมหรือคล้ายครึ่งวงกลม[4]
พืชหลายชนิดในสกุลผักบุ้งนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ บางชนิดนิยมนำมารับประทาน เช่น มันเทศ (Ipomoea batatas) และผักบุ้ง (Ipomoea aquatica) ชาวพื้นเมืองในทวีปอเมริกาใช้พืชบางชนิดในสกุลนี้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านและยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท[5]
ตัวอย่างชนิด
[แก้]- ชมจันทร์ (Ipomoea alba)
- ผักบุ้ง, ผักบุ้งไทย, ผักบุ้งจีน (Ipomoea aquatica)
- ผักบุ้งขัน (Ipomoea asarifolia)
- มันเทศ (Ipomoea batatas)
- ผักบุ้งรั้ว (Ipomoea cairica)
- จิงจ้อแดง (Ipomoea hederifolia)
- ผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae)
- ขยุ้มตีนหมา (Ipomoea pes-tigridis)
- คอนสวรรค์ (Ipomoea quamoclit)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Genus: Ipomoea L." Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 2007-10-05. สืบค้นเมื่อ 2010-11-10.
- ↑ "Ipomoea". Britannica. สืบค้นเมื่อ 16 May 2017.
- ↑ Williams, Cheryll. "Medicinal Plants in Australia Volume 3: Plants, Potions and Poisons". Google Books. สืบค้นเมื่อ 16 May 2017.
- ↑ สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 278, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
- ↑ Meira, Marilena; และคณะ. "Review of the genus Ipomoea: traditional uses, chemistry and biological activities". Scientific Electronic Library Online. สืบค้นเมื่อ 16 May 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สกุลผักบุ้ง
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ipomoea ที่วิกิสปีชีส์