ข้ามไปเนื้อหา

ชมจันทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชมจันทร์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Solanales
วงศ์: Convolvulaceae
สกุล: Ipomoea
ส่วน: Calonyction
สปีชีส์: I.  alba
ชื่อทวินาม
Ipomoea alba
L.
ผลแก่ของต้นชมจันทร์

ชมจันทร์ หรือ ดอกพระจันทร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea alba L.) อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) สกุลผักบุ้ง (Ipomoea) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้และแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง สามารถพบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของอเมริกา ประเทศออสเตรเลียและในกลุ่มประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชีย

การขยายพันธุ์

[แก้]

ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด อาจปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงแปลงโดยตรงหรือเพาะเมล็ดเป็นต้นกล้า ก่อนเพาะเมล็ดมาแช่น้ำนาน 12 ชั่วโมง เพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัว จะทำให้งอกได้เร็วงอกได้เร็วขึ้น เนื่องจากเมล็ดดออกพระจันทร์มีเปลิอกหุ้มเมล็ดที่แข็ง เมล็ดงอกใช้เวลานานประมาณ 7-14 วัน เมื่อต้นกล้าอายุ 30 วันสามารถปลูกลงแปลงได้ นอกจากการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดแล้ว ต้นชมจันทร์ยังสามารถขยายพันธุ์โดยการปักชำส่วนของลำต้น

การปลูก

[แก้]

ต้นชมจันทร์สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดที่มีความร่วนซุย พื้นที่ต้องระบายได้ดี เจริญเติบโตได้ในสภาพกลางแจ้งที่มีแสงแดด แปลงปลูกอาจยกแปลงผักทั่วไปเพื่อป้องกันน้ำขัง วิธีปลูกโดยขุดหลุมปลูกลึก 15-20 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-500 กรัม/หลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าลงปลูก ระยะปลูกที่ใช้ปลูกคือระหว่างต้น 40-50 ซม. และระหว่างแถว 70-100 ซม. ในช่วง 1 เดือนแรกหลังปลูก ควรมีการให้น้ำวันละ 2 ครั้ง คือตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อต้นสามารถตั้งตัวได้แล้ว จึงให้น้ำวันละครั้ง เมื่อต้นดอกชมจันทร์เริ่มแตกยอด ควรมีการทำค้างคล้ายกับค้างถั่วฝักยาวหรือทำเป็นซุ้ม หลังปลูกประมาณ 2-3 เดือนก็จะเริ่มออกดอก

การใช้ประโยชน์

[แก้]

ต้นชมจันทร์มีดอกสีขาวสวยงาม บานในเวลาตอนกลางคืนและกลิ่นหอม ในต่างประเทศ เช่นในยุโรปและสหรัฐอเมริกาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ในบางพื้นที่มีการนำดอกมารับประทานสด โดยการเด็ดเกสรออก ผลการการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์ พบว่าเป็นผักที่ไขมันต่ำมากและมีสรรพคุณเป็นยาระบายอย่างอ่อน เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัสและยังประกอบด้วยวิตามินต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินบี เป็นต้น

การบำรุงรักษา

[แก้]

เมื่อผลผลิตเริ่มลดลง หรือสังเกตเห็นต้นโทรมจะต้องตัดแต่งให้แตกต้นใหม่ พร้อมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกบำรุง พร้อมให้น้ำเช้า-เย็น เพื่อให้ต้นแตกใบอ่อน จากนั้นประมาณ 2 เดือนจึงเริ่มเก็บผลผลิตได้อีกครั้ง กระทั่งต้นมีอายุ 2 ปี จึงเอาออกและปลูกใหม่อีกครั้ง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]