กองกำลังตำรวจฮ่องกง
กองกำลังตำรวจฮ่องกง | |
---|---|
ชื่อทางการ | ตำรวจฮ่องกง |
อักษรย่อ | HKPF |
คำขวัญ | รับใช้ฮ่องกงด้วยเกียรติ, หน้าที่ และความภักดี |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1844 |
เจ้าหน้าที่ | 36,681 นาย (ค.ศ. 2018)[1] |
งบประมาณรายปี | 20.6 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ค.ศ. 2019–20)[2] |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ฮ่องกง |
ลักษณะทั่วไป |
|
สำนักงานใหญ่ | กองบัญชาการตำรวจ 1 ถนนอาร์เซนอล หว่านไจ๋ ฮ่องกง |
เจ้าหน้าที่ตำรวจ | 32,416 นาย (ค.ศ. 2018)[1] |
ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ | 4,265 นาย (ค.ศ. 2018)[1] |
ผู้บริหารหน่วยงาน | |
หน่วยงานปกครอง | กองบัญชาการความมั่นคง |
หน่วย |
|
เว็บไซต์ | |
police |
กองกำลังตำรวจฮ่องกง | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 香港警務處 | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 香港警务处 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ตำรวจฮ่องกง | |||||||||||||||
ภาษาจีน | 香港警察 | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
กองกำลังตำรวจหลวงฮ่องกง | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 皇家香港警務處 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 皇家香港警务处 | ||||||||||||||
|
กองกำลังตำรวจฮ่องกง (จีน: 香港警務處; อังกฤษ: Hong Kong Police Force; อักษรย่อ: HKPF) เป็นหน่วยงานการบังคับใช้กฎหมายปฐมภูมิ และราชการข้อบังคับที่ใหญ่ที่สุดภายใต้กองบัญชาการความมั่นคงของฮ่องกง ซึ่งได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลฮ่องกงของบริเตนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 มีคำเรียก 'หลวง' มอบให้เมื่อกองกำลังตำรวจฮ่องกงมีความพยายามในการปราบปรามการจลาจลคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1967 ครั้นแล้ว กองกำลังตำรวจหลวงฮ่องกง (อังกฤษ: Royal Hong Kong Police Force; อักษรย่อ: RHKP) ได้เปลี่ยนกลับเป็นชื่อเดิมหลังจากโอนอำนาจอธิปไตยของฮ่องกงจากสหราชอาณาจักรไปสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน[4]
ตามหลักการของหนึ่งประเทศ สองระบบ กองกำลังตำรวจฮ่องกงมีความเป็นอิสระอย่างเป็นทางการจากเขตอำนาจของกระทรวงตำรวจสาธารณะของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งอาจไม่ก้าวก่ายการบังคับใช้กฎหมายของฮ่องกง เจ้าหน้าที่กองกำลังตำรวจฮ่องกงทุกคนมีงานทำในฐานะข้าราชการ และดังนั้นจึงจำเป็นต้องส่งเสริมความเป็นกลางทางการเมืองของพวกเขา
กองกำลังตำรวจฮ่องกงประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ประมาณ 34,000 คน รวมถึงกองกำลังตำรวจกองหนุนฮ่องกง, ข้าราชการพลเรือน และตำรวจทางทะเล (3,000 นายและเรือ 143 ลำใน ค.ศ. 2009) นี่แสดงถึงอัตราส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อพลเมือง ที่สูงเป็นอันดับสองของโลก[5]
ประวัติ
[แก้]กองกำลังตำรวจได้ให้บริการที่ฮ่องกงตั้งแต่ไม่นานหลังจากที่เกาะถูกก่อตั้งขึ้นเป็นอาณานิคมใน ค.ศ. 1841 ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1841 ซึ่งเป็น 12 สัปดาห์หลังจากบริติชขึ้นฝั่งในฮ่องกง กัปตัน ชาลส์ เอลเลียต ได้สถาปนาผู้มีอำนาจการตำรวจในอาณานิคมใหม่ โดยมอบอำนาจกัปตัน วิลเลียม เคน เพื่อบังคับใช้กฎหมายชิง ในความเคารพของคนในท้องถิ่น และ "กฎหมายตำรวจบริติช" สำหรับ "ผู้ที่ไม่ใช่ชาวพื้นเมือง"[6] เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1842 การจัดระเบียบกองกำลังตำรวจ (ยังอยู่ภายใต้การดูแลของเคนซึ่งเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาเช่นกัน) ก็นำอาชญากรมาขึ้นศาลก่อนการพิจารณาคดีเป็นประจำ[6]: 17 บทบาทของเคนในฐานะหัวหน้าตำรวจสิ้นสุดลงเมื่อผู้อำนวยการคนแรกได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1844 คือกัปตัน ฮาลี แห่งทหาราบพื้นเมืองมัทราสที่ 41[6]: 40–41 การจัดตั้งกองกำลังอย่างเป็นทางการได้ถูกประกาศในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1844[7]
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นยึดครองฮ่องกง และกองกำลังตำรวจฮ่องกงถูกยุบชั่วคราว
คริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นการตั้งต้นของฮ่องกง 40 ปีสู่ความมีชื่อเสียงระดับโลก ในช่วงเวลานั้นตำรวจฮ่องกงได้จัดการกับปัญหาจำนวนมากที่ท้าทายเสถียรภาพของฮ่องกง ระหว่าง ค.ศ. 1949 ถึง 1989 ฮ่องกงต้องเผชิญกับคลื่นผู้อพยพจำนวนมากจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค.ศ. 1958–1962 ส่วนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้คนบนเรือเวียดนามจำนวนมากเดินทางมาถึงฮ่องกง นับเป็นความท้าทายประการแรกสำหรับตำรวจน้ำ, ประการที่สองสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมค่ายพักแรมหลายสิบแห่งในอาณาบริเวณแห่งนี้ และสุดท้ายสำหรับผู้ที่ต้องส่งพวกเขากลับประเทศ กองกำลังดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้คำเรียก ‘หลวง’ ใน ค.ศ. 1969 เพื่อจัดการกับการจลาจลในฮ่องกง ค.ศ. 1967 — โดยเปลี่ยนชื่อเป็นกองกำลังตำรวจหลวงฮ่องกง (อักษรจีนตัวเต็ม: 皇家香港警務處)[ต้องการอ้างอิง]
ใน ค.ศ. 1974 คณะกรรมการอิสระต่อต้านการทุจริต (ICAC) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้อำนาจรัฐบาลในวงกว้างในการสืบสวนสอบสวนการทุจริต[8] ในช่วงเปลี่ยนคริสต์ทศวรรษ 1980 กองกำลังตำรวจฮ่องกงได้เริ่มทำการตลาดด้วยตัวมันเองในฐานะ "ดีที่สุดของเอเชีย"[9]
การสรรหาบุคคลชาวยุโรปเข้ากองกำลังสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1994[10] และใน ค.ศ. 1995 ตำรวจหลวงฮ่องกงรับผิดชอบในการลาดตระเวนชายแดนร่วมกับจีน ซึ่งก่อน ค.ศ. 1995 กองทัพบกสหราชอาณาจักรได้ดำเนินการตระเวนชายแดน กองกำลังตำรวจนี้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการการส่งมอบอำนาจอธิปไตยใน ค.ศ. 1997 และยังคงประกอบพิธีชักธงในทุก ๆ วันครบรอบปี[ต้องการอ้างอิง] ด้วยการมอบอำนาจอธิปไตย กองกำลังตำรวจจึงตัดคำว่า "หลวง" ออกจากชื่อ
ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 กองกำลังตำรวจมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงในฮ่องกง ค.ศ. 2014 และการประท้วงในฮ่องกง ค.ศ. 2019[11][12] หลังจากที่เติ้ง ปิ่งเฉียง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 กองกำลังตำรวจได้เปลี่ยนคำขวัญจาก "เราให้บริการด้วยความภาคภูมิใจและห่วงใย" ซึ่งใช้มากว่า 20 ปีเป็น "รับใช้ฮ่องกงด้วยเกียรติ, หน้าที่ และความภักดี"[13] หนังสือพิมพ์ดิอีโคโนมิสต์ได้มุ่งเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะได้รับความนิยมจากรัฐบาลกลางของจีน[14]
ข้อพิพาท
[แก้]ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 กองกำลังตำรวจฮ่องกงต้องเผชิญกับเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ ส่วนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และคริสต์ทศวรรษ 1960 กองกำลังดังกล่าวได้ต่อสู้กับปัญหาการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับสินบนจากสารเสพติดที่รวบรวมไว้ และการดำเนินการเกี่ยวกับการพนันที่ผิดกฎหมาย[15] การทุจริตของตำรวจกลายเป็นปัญหาสำคัญอีกครั้งในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เมื่อผู้บัญชาการสั่งการสอบสวนเพื่อทำลายวัฒนธรรมการทุจริต ทำให้เจ้าหน้าที่สี่สิบคนต้องหนีจากฮ่องกงด้วยเงินสดมากกว่า 80 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 2 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงต่อคน)[15][16]
อาวุธยุทโธปกรณ์
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ปืนพก
[แก้]ปืนลูกซอง
[แก้]ปืนกลมือ
[แก้]ปืนเล็กยาว
[แก้]- M4A1 Carbine
- CQ-A
ยุทโธปกรณ์อื่น ๆ
[แก้]- Tear Gas
- Tesla Gun
กำลังพลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- วิลเลียม เคน: หัวหน้าตำรวจคนแรก
- จาง เจียฮุย: นักแสดงและผู้กำกับ
- ปีเตอร์ ก็อดเบอร์: หัวหน้าผู้กำกับที่ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการเขตเกาลูนซึ่งพัวพันกับเรื่องอื้อฉาวเรื่องการติดสินบนในปี ค.ศ. 1973 และหลบหนี
- เอ็ดดี ฮุย: ผู้บัญชาการคนสุดท้ายของกองกำลังตำรวจหลวงฮ่องกง และผู้บัญชาการคนแรกของกองกำลังตำรวจฮ่องกง
- หลี่ จุนเซี่ย: ผู้บัญชาการชาวจีนคนแรกของกองกำลังตำรวจฮ่องกง
- สตีเฟน โล: ผู้บัญชาการกองกำลังตำรวจฮ่องกงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015–2019
- ลวี่ เล่อ: เจ้าหน้าที่ตำรวจทุจริตฉาวโฉ่
- โจ หม่า: นักแสดง
- รูเพิร์ต โดเวอร์: ผู้ปฏิบัติงานชาวอังกฤษโดยกำเนิด
- เดวิด จอห์น จอร์แดน: ผู้ปฏิบัติงานชาวอังกฤษโดยกำเนิด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Police in Figures 2018". Hong Kong Police Force. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
- ↑ "Estimates for the year ending 31 March 2019: Head 122" (PDF). Financial Services and the Treasury Bureau. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
- ↑ "China's State Council Appoints New Police Chief in Hong Kong". New York Times. 18 November 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2019.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Carroll, John M. (2007). A Concise History of Hong Kong. Rowman & Littlefield. ISBN 0-7425-3422-7.
- ↑ "Organisation" (PDF). Hong Kong Police Force.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Norton-Kyshe, James William (1898). History of the Laws and Courts of Hong Kong. Vol. I. London: T Fisher Unwin.
- ↑ "History". Hong Kong Police Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-02. สืบค้นเมื่อ 2020-01-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "About ICAC: Brief History”, Hong Kong Independent Commission Against Corruption (http://www.icac.org.hk/en/about/history/index.html เก็บถาวร 9 ตุลาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน : retrieved 15 March 2017).
- ↑ Sinclair, Kevin. (1983). Asia's Finest: An Illustrated Account of the Royal Hong Kong police. Unicorn: London. ISBN 978-9622320024
- ↑ Leung, Christy (2017-11-05). "Is there a future for foreign police officers in Hong Kong?". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-07-22.
The force stopped hiring from overseas in 1994[...]
- ↑ "Police fired at least 3 teargas canisters". Apple Daily (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-02. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014.
- ↑ "Police fire tear gas and baton charge thousands of Occupy Central protesters". South China Morning Post. 29 September 2014. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014.
- ↑ "New top cop spells out plan of action". The Standard. 20 November 2019.
- ↑ "Borrowed time". The Economist. 23 November 2019. p. 24.
- ↑ 15.0 15.1 McCoy, Alfred (1980). Drug Traffic: Narcotics and Organised Crime in Australia เก็บถาวร 28 กรกฎาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sydney Australia: Harper & Row Pty Ltd. p. 33. ISBN 0063120313
- ↑ "Police chief who tore the mask of corruption from force", South China Morning Post (http://www.scmp.com/article/517892/police-chief-who-tore-mask-corruption-force เก็บถาวร 10 ตุลาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน : 27 September 2015).
- บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Hong Kong – The Facts, published by the Information Services Department, Hong Kong Special Administrative Region Government.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Hong Kong Police Force
- Royal Hong Kong Police/Hong Kong Police Force ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บ index)
- Independent Police Complaints Council
- Hong Kong Disciplined Services
- A History of the Hong Kong Police Force in Pictures เก็บถาวร 2019-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Deflem, Mathieu, Richard Featherstone, Yunqing Li, and Suzanne Sutphin. 2008. “Policing the Pearl: Historical Transformations of Law Enforcement in Hong Kong.” International Journal of Police Science and Management 10(3):349-356.