โฟว์เซีย คูฟี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Fawzia Koofi)
โฟว์เซีย คูฟี
فوزیه کوفی
คูฟีที่ชาตามเฮาส์ในปี 2012
รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
2005
สมาชิกสภาผู้แทนรษฎร เขตบาดาฆชาน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
2005
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 1975 (อายุ 48–49 ปี)
บาดาฆชาน ประเทศอัฟกานิสถาน
บุตร2
ที่อยู่อาศัยคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเปรสตัน
อาชีพนักการเมือง, นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิ

โฟว์เซีย คูฟี (เปอร์เซีย: فوزیه کوفی, Fawzia Koofi; เกิดปี 1975)[1] เป็นนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสตรีชาวอัฟกานิสถาน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนรษฎรของอัฟกานิสถานจากเขตเลือกตั้งบาดาฆชาน และอดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

พ่อของคูฟีเป็นสมาชิกรัฐสภาเป็นเวลา 25 ปีก่อนจะเสียชีวิตหลังสิ้นสุดสงครามอัฟกานสิถาน-โซเวียดครั้งที่หนึ่ง (1979–1989) เขาถูกสังหารโดยกลุ่มมุจาฮิดีน[1] เธอเติบโตมาในครอบครัวของที่มีหลายภรรยา (7 คน) คูฟีมักถูกละเลยจากพ่อแม่ของเธอเพราะเธอเป็นผู้หญิง ตอนที่เธอเกิด เธอถูกแม่นำไปทิ้งไว้กลางแดดเพื่อหวังให้ตาย[2]

คูฟีโน้มน้าวให้พ่อแม่ส่งเธอไปเรียนหนังสือสำเร็จ เธอเป็นผู้หญิงคนเดียวในบ้านที่มีโอกาสทางการศึกษา เธอต้องการจะศึกษาต่อด้านแพทยศาสตร์แต่ก็ต้องล้มเลิกหลังตอลิบานขึ้นมาปกครองในปี 1996 และสั่งห้ามไม่ให้ผู้หญิงมีโอกาสในการเรียนหนังสือ[3] หลังตอลิบานถูกโค่นไปในปี 2001 เธอกลับไปเรียนหนังสืออีกครั้ง และจบการศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยเปรสตันในประเทศปากีสถาน[4]

อาชีพทางการเมือง[แก้]

คูฟีเริ่มเข้าสู่การเมืองในปี 2001 หลังตอลิบานถูกโค่นล้ม เธอสนับสนุนและเรียกร้องการศึกษาในเด็กผู้หญิง นับตั้งแต่ปี 2002 ถึง 2004 คูฟีทำงานร่วมกับยูนิเซฟเป็นเข้าหน้าที่ปกป้องเด็ก (Child Protection Officer) จากความรุนแรง[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาปี 2005 คูฟีได้รับเลือกตั้งเป็นสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอัฟกานิสถาน สภาล่างของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จากเขตเลือกตั้งบาดาฆชาน นอกจากนี้เธอยังเป็นรองประธานสภานิติบัญญัติ เช่นกัน[1][4] เธอถือเป็นรองประธานสภานิติบัญญัติคนแรกของประเทศอัฟกานิสถานที่เป็นผู้หญิง และได้รับการเบือกตั้งเข้าสภาอีกครั้งในปี 2010

เธอมุ่งเน้นเป้าหมายไปที่การพัฒนาสิทธิสตรี รวมถึงร่างกฎหมายเพื่อให้มีการก่อสร้างถนนที่เชื่อมต่อหมู่บ้านห่างไกลต่าง ฟ เข้ากับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานดูแลสุขภาพ[5] ในปี 2009 เธอได้ร้างกฎหมายการกำจัดความรุนแรงต่อสตรี (Elimination of Violence Against Women; EVAW) ขึ้น[6] และเข้าสู่สภาในปี 2013 แต่ถูกต่อต้านและคัดค้านโดยสภาชิกสภาที่เป็นอนุรักษนิยมซึ่งมองว่าเป็นกฎหมายที่ขัดกับหลักของศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ตาม กฎหมายถูกบังคับใช้ทั่วประเทศ และถูกนำมาประกอบการตัดสินคดีความในศาลอยู่[5]

เธอรอดชีวิตจากการถูกลอบสังหารหลายครั้ง และเคยถูกยิงอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปี 2010 ใกล้กับเมืองตอราบอรา[7]

คูฟีตั้งใจจะลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2014 โดยชูเรื่องการสันบสุนสิทธิเท่าเทียมในสตรี, การศึกษาแบบครอบคลุม และการต่อต้านการคอร์รัปชั่น[8][9] อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการเลือกตั้งขยับวันที่ปิดรับสมัครเป็นเดือนตุลาคม ปี 2013 ทำให้เธอลงสมัครไม่ได้เนื่องจากอายุยังไม่ถึง 40 ปีตามกฎหมายกำหนด[10]

ในวันที่ 14 สิงหาคม 2020 เธอถูกยิงเข้าที่แขนจากความพยายามลอบสังหารใกล้กับคาบูลขณะเดินทางกลับจากปาร์วัน[11]

ภายหลังการเข้ายึดครองของตอลิบานในปี 2021 เธอเคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการที่สหรัฐถอนกำลังจากอัฟกานิสถาน เธอระบุว่าสิ่งที่สหรัฐทำคือการทอดทิ้งผู้หญิงในอัฟกานสิถาน และเธอผิดหวังกับการตัดสินใจของสหรัฐเป็นอย่างมาก[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Malbrunot, Georges (2011-02-25). "Fawzia, un défi aux talibans" [Fawzia, a challenge to the Taliban]. Le Figaro (ภาษาฝรั่งเศส). p. 18.
  2. "A 'Favored Daughter' Fights For The Women Of Afghanistan". NPR. 2012-02-22. สืบค้นเมื่อ 2013-05-19.
  3. Qazi, Shereena. "Who are the Afghan women negotiating peace with the Taliban?". Aljazeera. สืบค้นเมื่อ 14 October 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Guests of First Lady Laura Bush". ABC News. January 31, 2006. สืบค้นเมื่อ February 14, 2013.
  5. 5.0 5.1 "In conversation with Fawzia Koofi member of Parliament from Badakshan" 7 June 2014, www.youtube.com, accessed 8 November 2020
  6. "Women MP's come together to demand equal representation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-29. สืบค้นเมื่อ 2014-12-18.
  7. Bryony Gordon (February 23, 2012). "'The Taliban want to kill me. But I am fighting for my daughters' freedom' Fawzia Koofi hopes to be Afghanistan's first woman president. The Taliban are determined to stop her". The Daily Telegraph.
  8. Graeme Woods (February 14, 2013). "Fawzia Koofi Member of Parliament, Afghanistan". theatlantic.com.
  9. "Woman of the week - Fawzia Koofi Championing feminism in a country where male-chauvinism reigns". platform51.org. March 16, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 21, 2012. สืบค้นเมื่อ February 15, 2013.
  10. Fawzia Koofi, the female politician who wants to lead Afghanistan 18 December 2013, www.newstatesman.com, accessed 8 November 2020
  11. "Female Afghan peace negotiator wounded in assassination bid". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 August 2020.
  12. She risked everything for women's rights in Afghanistan. Now she could lose it all, cbc.ca, Aug 12, 2021

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]