เคลนบิวเทรอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Clenbuterol)
เคลนบิวเทรอล
Clenbuterol (top),
and (R) - (−) -clenbuterol (bottom)
ข้อมูลทางคลินิก
AHFS/Drugs.comInternational Drug Names
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • C
ช่องทางการรับยาทางปาก
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล89–98%
การเปลี่ยนแปลงยาHepatic (negligible)
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ36–48 ชั่วโมง
การขับออกอสุจิและปัสสาวะ
ตัวบ่งชี้
  • (RS) -1- (4-Amino-3,5-dichlorophenyl) -2- (tert-butylamino) ethan-1-ol
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.048.499
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC12H18Cl2N2O
มวลต่อโมล277.19 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
ไครัลลิตีRacemic mixture
  • Clc1cc (cc(Cl) c1N) C (O) CNC (C) (C) C
  • InChI=1S/C12H18Cl2N2O/c1-12 (2,3) 16-6-10 (17) 7-4-8 (13) 11 (15) 9 (14) 5-7/h4-5,10,16-17H,6,15H2,1-3H3 checkY
  • Key:STJMRWALKKWQGH-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

เคลนบิวเทรอล (Clenbuterol) หรือชื่อทางการค้าคือ ไดลาเทรอล (Dilaterol), สปิโรเพนท์ (Spiropent) เป็นสารออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก ถูกใช้เป็นยาขยายหลอดลมและยาลดอาการคัดจมูก ผู้ป่วยโรคหืดมักใช้เคลนบิวเทรอลเพื่อช่วยทำให้หายใจได้ง่ายมากขึ้น เคลนบิวเทรอลถือเป็นสารขยายหลอดลมกลุ่มออกฤทธิระยะยาว โดยมีระยะเวลาการออกฤทธิ 36 ถึง 48 ชั่วโมง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้แก่ อาการประหม่า, ไทรอยด์เป็นพิษ, หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ, ความดันในเลือดสูง, หลอดเลือดแดงในหัวใจตีบ[1] การใช้ยาเกินขนาด (120 มิลลิกรัม) อาจทำให้กล้ามเนื้อมีอาการสั่น, ปวดหัว, เวียนหัว, ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ในนักกีฬาอาจมีอาการอาเจียน, ภาวะเหงื่อท่วม, อาการใจสั่น, กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด สามารถตรวจสอบการใช้ยานี้ได้โดยการตรวจน้ำอสุจิหรือตรวจปัสสาวะ[2]

ยานี้ถูกแบนโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากลโดยถือว่าเป็นยาในกลุ่มสารกระตุ้นที่ห้ามนักกีฬาใช้[3] ยานี้เป็นยาในกลุ่มสารเร่งเนื้อแดงและถูกสั่งห้ามโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) มิให้ใช้ยานี้ในสัตว์ที่จะเป็นหรืออาจเป็นอาหารของมนุษย์[4][5] ประเทศส่วนใหญ่ไม่อนุญาตให้ใช้ยานี้ในมนุษย์ แต่ในบางครั้งก็พบการลักลอบใช้ยานี้ในมนุษย์เพื่อเป็นยาลดความอ้วน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Clenbuterol - SteroidAbuse .com". www.steroidabuse.com. สืบค้นเมื่อ 2016-03-10.
  2. R. Baselt, Disposition of Toxic Drugs and Chemicals in Man, 8th edition, Biomedical Publications, Foster City, CA, 2008, pp. 325–326.
  3. Guest, Katy (2007-04-10). "Clenbuterol: The new weight-loss wonder drug gripping Planet Zero". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-18. สืบค้นเมื่อ 2007-04-10.
  4. FDA's Prohibited Drug List, Food Animal Residue Avoidance & Depletion Program
  5. "Animal Drugs @ FDA". www.accessdata.fda.gov. สืบค้นเมื่อ 2016-03-10.