ข้ามไปเนื้อหา

ร้อยเอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Captain (land and air))
ร้อยเอก เลารี เตอร์นี ในกองทัพฟินแลนด์ในปี พ.ศ. 2487
ยศทหารที่พบทั่วไป
ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
นายทหารชั้นสัญญาบัตร
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก
พลโท พลเรือโท พลอากาศโท
พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก
พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท
พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี
ร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก
ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโท
ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี
นายทหารชั้นประทวน
จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก
จ่าสิบโท พันจ่าโท พันจ่าอากาศโท
จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี
พลอาสาสมัครและทหารเกณฑ์

สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก
สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท
สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี
พลทหาร พลทหารเรือ พลทหารอากาศ

ร้อยเอก (อังกฤษ: captain มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า capitaine) เป็นยศของนายทหารชั้นสัญญาบัตรกองทัพบกตามประวัติศาสตร์เนื่องจากสอดคล้องกับการบังคับกองร้อยทหาร ยศนี้ใช้งานโดยกองทัพอากาศและนาวิกโยธินบางประเทศ แต่มีความหมายถึงนายทหารระดับอาวุโส ปัจจุบันร้อยเอกมักจะเป็นผู้บังคับหน่วยหรือรองผู้บังคับหน่วยระดับกองร้อยหรือกองร้อยปืนใหญ่ (หรือกองร้อยทหารม้ากองทัพบกสหรัฐ หรือกองพันทหารม้าในเครือจักรภพ) ในกองทัพปลดปล่อยประชาชน ร้อยเอกอาจจะเป็นผู้บังคับกองร้อย หรือเป็นรองผู้บังคับกองพัน และยศนี้ถูกเริ่มต้นในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2435 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งยศนี้สูงกว่าร้อยโท และตํ่ากว่าพันตรี

ในกองทัพบางประเทศ เช่น กองทัพบกสหรัฐและกองทัพอากาศสหรัฐ และกองทัพบกสหราชอาณาจักร ร้อยเอกเป็นยศเริ่มต้นสำหรับผู้สมัครนายทหารที่มีคุณวุฒิวิชาชีพ อาทิ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ส่วนใหญ่ (แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์) และทนายความ ในกองทัพสหรัฐ ทนาายความที่ไม่ได้เป็นนายทหารระดับร้อยเอกหรือสูงกว่านั้นจะได้รับยศร้อยโทในระหว่างการฝึก และได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยเอกหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกแล้วหากประจำอยู่ในหน่วยปฏิบัติการหรือเวลาผ่านไปแล้วระยะหนึ่ง ปกติจะใช้ระยะเวลาหนึ่งปีนับจากวันที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นร้อยโท

ยศร้อยเอกในภาษาอังกฤษนั้นเหมือนกันกับยศนาวาเอก (captain) ของกองทัพเรือ หรือยศนาวาอากาศเอก (group captain) ของกองทัพอากาศ ซึ่งทั้งสองยศนี้เทียบเท่าพันเอกของกองทัพบก

ประวัติ

[แก้]

ที่มาของชื่อยศนี้ย้อนกลับไปถึงในช่วงลาตินตอนปลาย คำว่า capitaneus หมายความว่า "หัวหน้า, ที่โดดเด่น" (chief, prominent)[1] ในภาษาอังกฤษสมัยกลางได้ปรับมาใช้เป็นคำว่า capitayn ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 จากภาษาฝรั่งเศสโบราณคือ capitaine

ยศทหารที่เรียกว่าร้อยเอก (captain) นั้น ใช้งานมาช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1560 มีความหมายถึงนายทหารที่บังคับกองร้อย ในความหมายทางเรือ หมายถึง นายทหารที่บังคับการเรือรบฝรั่งเศส (man-of-war) โดยมีใช้งานมาตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1550 ต่อมาได้ขยายควาหมายเป็น "นายหรือผู้บังคับหน่วยเรือทุกประเภท"

คำว่า captain (ร้อยเอก) ในช่วงก่อนที่จะมีกองกำลังติดอาวุธเกิดขึ้นประจำการในประเทศในยุโรปภายหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ในช่วงเริ่มต้นการสงครามสมัยใหม่ตอนต้น ขุนนางจะสามารถซื้อสิทธิ์การเป็นหัวหน้ากองร้อยได้จากผู้ถือสิทธิ์คนก่อน เขาจะจ่ายเงินให้กับขุนนางอีกคนเพื่อมาทำหน้าที่เป็น lieutenant (ร้อยโท) ซึ่งเงินทุนในการจัดการกองทหารไม่ได้มาจากพระมหากษัตริย์หรือรัฐบาล แต่ captain จะต้องรับผิดชอบในการหาอาหาร ที่อยู่อาศัย และการจัดเตรียมกองร้อย หากไม่สามารถสนับสนุนหรือดูแลกองร้อยหรือต้องขึ้นศาลทหาร เขาจะถูกไล่ออก (จากการฝ่าฝืนวินัย) พระมหากษัตริย์จะขายตำแหน่งสัญญาบัตรของเขาให้กับขุนนางคนอื่นเพื่อบังคับกองร้อยต่อไป ฉะนั้นวิธีการเกษียณตัวเองออกจากการเป็นหัวหน้ากองร้อยคือการขายสิทธิ์ให้กับขุนนางคนอื่นต่อเพื่อรับเงินและเกษียณตัวเองจากตำแหน่ง

กองทัพอากาศ

[แก้]

ในกองทัพอากาศหลายแห่ง เช่น กองทัพอากาศสหรัฐ ใช้โครงสร้างยศและเครื่องหมายยศคล้ายคลึงกับของกองทัพบก

อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร กองทัพอากาศหลายประเทศในเครือจักรภพ และกองทัพอากาศนอกเครือจักรภพอีกจำนวนหนึ่งใช้โครงสร้างยศเฉพาะตัวของกองทัพอากาศ[2] คือเรืออากาศเอก (flight lieutenant) ใช้รหัส OF-2 ในขณะที่นาวาอากาศเอก (group captain) ได้มาจากยศทางเรือของร้อยเอก

ประเทศแคนาดาเป็นอีกข้อยกเว้นที่ไม่เหมือนกับใคร เนื่องจากการรวมเหล่าทัพแคนาดาในปี พ.ศ. 2511 ชื่อยศของกองทัพอากาศจึงเหมือนกันกับกองทัพบกแคนาดา อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับประเทศในเครือจักรภพอื่น ๆ คือการใช้งานเครื่องหมายยศเป็นแถบเปียยศสีเทามึกและเพิ่มขึ้นทีละครึ่งขีด โดยมีการตัดสินใจว่าจะไม่นำระบบยศเก่ากลับมาใช้งานอีกครั้งในส่วนของกองทัพอากาศแคนาดา เนื่องจากก่อให้เกิดความสับสนเกินไป[3]

เครื่องหมายยศ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. แม่แบบ:L&S
  2. Non-Commonwealth air forces using an air force-specific rank structure include the Egyptian Air Force, Hellenic Air Force, Royal Air Force of Oman, Royal Thai Air Force and the Air Force of Zimbabwe.
  3. Force, Government of Canada, National Defence, Royal Canadian Air. "Article - Royal Canadian Air Force - Backgrounder - New insignia for the Royal Canadian Air Force". www.rcaf-arc.forces.gc.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-11. สืบค้นเมื่อ 2023-12-17.