การแพ้นมวัว
การแพ้นมวัว | |
---|---|
นมหนึ่งแก้ว | |
สาขาวิชา | allergology |
ความชุก | 0.6%[1] |
การแพ้นมวัว หรือ การแพ้โปรตีนนมวัว เป็นโรคภูมิแพ้อาหารชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีภาวะภูมิแพ้ต่อโปรตีนบางชนิดหรือหลายชนิดที่เป็นส่วนประกอบของนมวัว อาการอาจเป็นอย่างรวดเร็วหรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ ถ้าเป็นอย่างรวดเร็ว เช่น แอนาฟิแล็กซิส หรือภาวะแพ้รุนแรง จะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ต้องรักษาด้วยการให้อะดรีนาลีน ส่วนแบบค่อยเป็นค่อยไปมักพบในเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวันนับตั้งแต่กินนม อาจแสดงอาการเป็นผิวหนังอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ ลำไส้ทำงานผิดปกติ เช่นลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอักเสบ ก็ได้[2]ในสหรัฐ กว่า 90% ของการแพ้อาหารเกิดจากอาหาร แปดชนิด โดยที่นมวัวพบเห็นได้มากที่สุด[3] เพราะอาการแพ้ส่วนใหญ่เกิดจากอาหารเพียงไม่กี่ชนิด จึงได้มีข้อกำหนดในการระบุสารก่อภูมิแพ้อย่างเด่นชัด รวมไปทั้งนม บนฉลากอาหารขึ้น[4][5][6][7] หนึ่งในหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันคือการป้องกันการติดเชื้อ โดยการรับรู้โปรตีนที่ผิดแปลกไป โดยปกติไม่ควรทำปฏิกิริยากับโปรตีนในอาหารมากเกินไป กรดในกระเพาะอาหารทำให้โปรตีนส่วนใหญ่กลายเปลี่ยนรูปหมายถึงการสูญเสียการจัดองค์ประกอบ 3 มิติและสูญเสียการก่อภูมิแพ้ ความร้อนจากการปรุงอาหารอาจมีผลเช่นเดียวกัน ภูมิคุ้มกันเป็นอีกวิธีหนึ่งในการป้องกันไม่ให้ปฏิกิริยาตอบสนองต่อโปรตีนจากอาหาร
การจัดการทำได้โดยงดการรับประทานนมวัวและผลิตภัณฑ์นม[8] ในผู้ป่วยที่แพ้นมวัวอย่างรุนแรง(แพ้ IgE ในนม) การได้รับโปรตีนนมวัวแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายได้[9][10]2% - 3% ของทารกและเด็กมีอาการแพ้นมวัว[8][11] เพื่อลดความเสี่ยง ทารกควรได้รักแต่นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยจนอายุ 4 เดือน หรือ 6 เดือน ก่อนเริ่มกินนมวัว หากบุคคลในครอบครัวมีประวัติแพ้นมวัว อาจใช้นมผงเด็กที่ทำมาจากนมถั่วเหลืองแทน แต่ ประมาณ 10%-15%ของเด็กที่แพ้นมวัวมักแพ้ถั่วเหลืองด้วย[12] เด็กส่วนใหญ่จะไม่แพ้นมวัวเมื่อโตขึ้น แต่ประมาณ 0.5% จะยังแพ้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ได้มีการวิจัยภูมิคุ้มกันบำบัดสำหรับสารก่อภูมิแพ้ แต่ผลดีก็ยังไม่ชัดเจน[13][14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nwaru BI, Hickstein L, Panesar SS, Roberts G, Muraro A, Sheikh A (August 2014). "Prevalence of common food allergies in Europe: a systematic review and meta-analysis". Allergy. 69 (8): 992–1007. doi:10.1111/all.12423. PMID 24816523.
- ↑ Caffarelli, C; Baldi, F; Bendandi, B; Calzone, L; Marani, M; Pasquinelli, P; EWGPAG. (15 January 2010). "Cow's milk protein allergy in children: a practical guide". Italian journal of pediatrics. 36: 5. doi:10.1186/1824-7288-36-5. PMC 2823764. PMID 20205781.
- ↑ "Asthma and Allergy Foundation of America". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2012.
- ↑ FDA. "Food Allergen Labeling and Consumer Protection Act of 2004 Questions and Answers". สืบค้นเมื่อ 29 September 2017.
- ↑ FDA (18 December 2017). "Food Allergies: What You Need to Know". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-25. สืบค้นเมื่อ 12 January 2018.
- ↑ Urisu A, Ebisawa M, Ito K, Aihara Y, Ito S, Mayumi M, Kohno Y, Kondo N (2014). "Japanese Guideline for Food Allergy 2014". Allergol Int. 63 (3): 399–419. doi:10.2332/allergolint.14-RAI-0770. PMID 25178179.
- ↑ "Food allergen labelling and information requirements under the EU Food Information for Consumers Regulation No. 1169/2011: Technical Guidance" เก็บถาวร 2017-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (April 2015).
- ↑ 8.0 8.1 Lifschitz C, Szajewska H (February 2015). "Cow's milk allergy: evidence-based diagnosis and management for the practitioner". European Journal of Pediatrics. 174 (2): 141–50. doi:10.1007/s00431-014-2422-3. PMC 4298661. PMID 25257836.
- ↑ Taylor SL, Hefle SL (2006). "Food allergen labeling in the USA and Europe". Curr Opin Allergy Clin Immunol (Review). 6 (3): 186–190. doi:10.1097/01.all.0000225158.75521.ad. PMID 16670512.
- ↑ Taylor SL, Hefle SL, Bindslev-Jensen C, Atkins FM, Andre C, Bruijnzeel-Koomen C, และคณะ (2004). "A consensus protocol for the determination of the threshold doses for allergenic foods: how much is too much?". Clin Exp Allergy (Review. Consensus Development Conference. Research Support, Non-U.S. Gov't). 34 (5): 689–695. doi:10.1111/j.1365-2222.2004.1886.x. PMID 15144458.
- ↑ Savage J, Johns CB (2015). "Food allergy: epidemiology and natural history". Immunol Allergy Clin North Am. 35 (1): 45–59. doi:10.1016/j.iac.2014.09.004. PMC 4254585. PMID 25459576.
- ↑ Vandenplas Y (2017). "Prevention and Management of Cow's Milk Allergy in Non-Exclusively Breastfed Infants". Nutrients. 9 (7): 731. doi:10.3390/nu9070731. PMC 5537845. PMID 28698533.
- ↑ Martorell Calatayud C, Muriel García A, Martorell Aragonés A, De La Hoz Caballer B (2014). "Safety and efficacy profile and immunological changes associated with oral immunotherapy for IgE-mediated cow's milk allergy in children: systematic review and meta-analysis". Journal of Investigational Allergology & Clinical Immunology. 24 (5): 298–307. PMID 25345300.
- ↑ Brożek JL, Terracciano L, Hsu J, Kreis J, Compalati E, Santesso N, Fiocchi A, Schünemann HJ (2012). "Oral immunotherapy for IgE-mediated cow's milk allergy: a systematic review and meta-analysis". Clin. Exp. Allergy. 42 (3): 363–374. doi:10.1111/j.1365-2222.2011.03948.x. PMID 22356141.
External links
[แก้]การจำแนกโรค |
---|
- Milk Allergy เก็บถาวร 2018-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Food Allergy Initiative