พระเจ้าภรตจักรพรรดิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bharata Chakravartin)
ภรตะ
พระเจ้าจักรพรรดิ (จักรพรรดิของจักรวาล)
สืบทอดตำแหน่งโดยพระเจ้าสาคร
สีกายทอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เสียชีวิต
คู่ครองพระนางสุภัตรา
บุตร - ธิดามาริจี, อรกากีรติ
บิดา-มารดา
  • พระฤษภนาถ (บิดา)
  • ยสวัสตี (นามอื่น: นันทะ และ สุมังคลา) (มารดา)

ภรตจักรวรรติน หรือ ภรตะ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิของอวสรรปิณี (ครึ่งวัฏจักรเวลาปัจจุบันตามจักรวาลวิทยาเชน)[1] พระองค์เป็นบุตรคนโตของพระอาทินาถ ตีรถังกรองค์แรกของศาสนาเชน ตามที่ระบุไว้ในปุราณะของเชนและฮินดูบอกว่า ชื่อเก่าแก่ของดินแดนอินเดียทั้ง “ภารตวรศะ”, “ภารตะ” หรือ “ภารตภูมิ” ตั้งตามชื่อของพระภรตะ พระองค์มีบุตรสองคนกับพระนางสุนันทาคืออรกากีรติ และ มาริจี พระองค์ปกครองโลกทั้งหกส่วนและต่อสู้กับพระพาหุพลี น้องชายของพระองค์เองเพื่อปกครองเมืองที่เหลือเมืองสุดท้าย

งานเขียนของเชนระบุว่าพระเจ้าภรตจักรพรรดิเป็นผู้ริเริ่มตั้งวรรณะพราหมณ์[1][2] ในคัมภีร์ของนิกายทิคัมพรระบุว่าท้ายที่สุด พระภรตะได้ละทิ้งชีวิตทางโลก และออกบวชจนเข้าถึงเกวลญาณ (สัพพัญญู) แต่ในคัมภีร์ของเศวตามพรระบุว่าไม่ได้สละชีวิตทางโลก แต่เข้าถึงเกวลญาณหลังบิดาของพระองค์เสียชีวิต[1]

การออกผนวช[แก้]

คัมภีร์ของเชนระบุว่า วันหนึ่งภรตะพบผมหงอกของตนและเชื่อว่าเป็นสัญญาณถึงอายุที่มากขึ้นและความไม่เที่ยง ทันใดนั้นภรตะก็ตัดสินใจออกบวชเป็นสงฆ์ในศาสนาเชน ด้วยการค่อย ๆ ตัดกิเลสและละทิ้งทางโลก ในที่สุดพระภรตะก็สามารถกำจัดกรรมอันไม่เป็นมิตรของตนได้ภายใน “อันตรมุหูรตะ” (antaramuhūrta - น้อยกว่า 48 นาที) และเข้าถึงเกวลญาณ[3]

ศาสนสถาน[แก้]

เชนสถานบางแห่งมีรูปเคารพของพระภรตจักรพรรดิในลักษณะบองนักบวชเชน เช่นที่ศรวัณเพลโคละ กูทัลมานิกยัมไชนมนเทียร (Koodalmanikyam Temple) ในรัฐเกรละนั้นดั้งเดิมเป็นเชนสถานที่มีพระภรตจักรพรรดิเป็นเทพเจ้าหลัก เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 รูปปั้นของพระภรตะที่สูงที่สุดได้สร้างขึ้นในมงคลคีรี (ศรีเกษตรภรตะ) ในเมืองสาคร รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย มีความสูง 45 ฟุต (รวมฐานซึ่งสูง 12 ฟุต) น้ำหนักกว่า 59 ตัน ถึงแม้ว่าแรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะสร้างรูปปั้นที่สูงถึง 57 ฟุต รวมฐานซึ่งสูง 12 ฟุต น้ำหนักกว่า 100 ตัน แต่ชิ้นส่วนของรูปปั้ปนนั้นเสียหายก่อนจึงสร้างรูปปั้นที่ขนาดเล็กกว่าแทน[4]

งานเขียน[แก้]

  1. อาทิปุราณะ (ศตวรรษที่ 10) เป็นคัมภีร์เชนที่ระบุถึงชีวิต 10 ชาติของตีรถังกรองค์แรก พระฤษภนาถ และบุตรทั้งสองคือพระภรตะและพระพาหุพลี[5][6]
  1. ภรเตศไวภวะ หรือ ภรเตศวร จาริเต เล่าเรื่องราวชีวิตของพระภรตะ เขีนขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยรัตนกรวรรณี

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Kristi L. Wiley (2004). Historical Dictionary of Jainism. Scarecrow Press. p. 54. ISBN 978-0-8108-6558-7.
  2. Helmuth von Glasenapp (1999). Jainism: An Indian Religion of Salvation. Motilal Banarsidass. pp. 352–353. ISBN 978-81-208-1376-2.
  3. Vijay K. Jain 2013, p. xii.
  4. Mahamastakabhishek being done daily in Lord Mangalgiri, Lord Bharat, Dainik Bhaskar, May 11, 2017
  5. "History of Kannada literature", kamat.com
  6. Students' Britannica India, vol. 1–5, Popular Prakashan, 2000, ISBN 0-85229-760-2

บรรณานุกรม[แก้]