300 มหาศึกกำเนิดอาณาจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
300 มหาศึกกำเนิดอาณาจักร
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับโนม เมอร์โร
บทภาพยนตร์
  • เคิร์ต จอห์นสแตด
  • แซ็ค สไนเดอร์
สร้างจากXerxes[1][2]
โดย แฟรงก์ มิลเลอร์
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพไซมอน ดักแกน
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบจังกีเอกซ์แอล[3]
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายวอร์เนอร์บราเธอร์ส
วันฉาย6 มีนาคม ค.ศ. 2014 (ไทย)
7 มีนาคม ค.ศ. 2014
(สหรัฐอเมริกา)
ความยาว102 นาที[4]
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]
ทำเงิน337.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5]
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

300 มหาศึกกำเนิดอาณาจักร (อังกฤษ: 300: Rise of an Empire) เป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์/สงคราม/จินตนิมิต กำกับโดยโนม เมอร์โร ร่วมอำนวยการสร้างและเขียนบทโดยแซ็ค สไนเดอร์ โดยอิงจากหนังสือการ์ตูนชื่อ Xerxes ของแฟรงก์ มิลเลอร์ นำแสดงโดยซัลลิแวน สเตเพิลตัน, อีวา กรีน, ลีนา ฮีดดี, ฮันส์ แมทีสัน, เดวิด เวนแฮมและโรดรีกู ซานโตรู ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาคต่อจาก 300 ขุนศึกพันธุ์สะท้านโลก โดยดำเนินเรื่องไปพร้อมกับภาคก่อนและมีเหตุการณ์ในยุทธนาวีที่อาร์ทีมีเซียมและยุทธนาวีที่ซาลามิส[6] ออกฉายในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2014

เรื่องย่อ[แก้]

ราชินีกอร์โกแห่งสปาร์ตาเล่าเรื่องยุทธการที่มาราธอนให้ทหารของพระองค์ฟัง ราชินีกอร์โกเล่าว่ากษัตริย์ดารีอัสถูกเธมิสโตคลีส แม่ทัพชาวเอเธนส์ปลงพระชนม์เมื่อ 10 ปีก่อนโดยมีเซอร์ซีส พระราชโอรสของกษัตริย์ดารีอัสอยู่ในเหตุการณ์ หลังกษัตริย์ดารีอัสเสด็จสวรรคต อาร์เทมีเชีย แม่ทัพของฝ่ายเปอร์เซียบอกเซอร์ซีสว่า "มีแต่เทพเจ้าเท่านั้นที่สยบกรีกได้" และส่งเซอร์ซีสไปที่ถ้ำกลางทะเลทรายเพื่อทำพิธีให้เซอร์ซีสกลายเป็น "ราชาเทพ" เซอร์ซีสกลับมาและประกาศสงครามกับกรีกเพื่อล้างแค้นให้พระราชบิดา

เมื่อฝ่ายเปอร์เซียเดินทัพมาถึงเทอร์มอพิลี เธมิสโตคลีสปรึกษากับที่ประชุมและเสนอให้จัดกองเรือเพื่อต่อต้านเปอร์เซีย เธมิสโตคลีสเดินทางไปที่สปาร์ตาเพื่อขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์เลโอไนดัส แต่พบราชินีกอร์โกซึ่งปฏิเสธไม่ร่วมเป็นพันธมิตรกับเอเธนส์ ต่อมาเธมิสโตคลีสพบกับสคิลเลียส ซึ่งลอบเข้าไปสืบข่าวฝ่ายเปอร์เซีย สคิลเลียสเล่าว่าอาร์เทมีเชียเป็นชาวกรีก แต่ครอบครัวของเธอถูกทหารกรีกฆ่าตาย ส่วนเธอถูกส่งไปเป็นทาส ต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากทูตชาวเปอร์เซียที่ฝึกให้เธอกลายเป็นนักรบและรับใช้กษัตริย์ดารีอัส สคิลเลียสยังบอกอีกว่าตอนนี้กษัตริย์เลโอไนดัสและทหาร 300 นายกำลังเดินทัพไปที่เทอร์มอพิลี

เธมิสโตคลีสนำกองเรือ 50 ลำไปทำการรบที่อาร์ทีมีเซียมในทะเลอีเจียน วันต่อมา เธมิสโตคลีสล่อทัพเรือเปอร์เซียเข้าไปติดกับแล้วทำลายทัพเปอร์เซียจนย่อยยับ อาร์เทมีเชียซึ่งประทับใจในความสามารถของเธมิสโตคลีสขอพบเขา ทั้งสองพบกันบนเรือเปอร์เซียและมีเพศสัมพันธ์กัน อาร์เทมีเชียพยายามโน้มน้าวให้เธมิสโตคลีสย้ายข้าง แต่เธมิสโตคลีสปฏิเสธ

ต่อมาฝ่ายเปอร์เซียใช้แผนปล่อยน้ำมันลงทะเลและให้ทหารว่ายไปขึ้นเรือกรีกเพื่อระเบิดเรือ แต่กลับทำให้เรือทั้งสองฝ่ายระเบิด เธมิสโตคลีสถูกแรงระเบิดจนกระเด็นตกน้ำ แต่ได้รับความช่วยเหลือจากเอสคิลัส เธมิสโตคลีสพบว่าฝ่ายตนเหลือเรืออยู่ 6 ลำและทหารไม่กี่ร้อยคนที่รอดจากการปะทะกันก่อนหน้า

แด็กซอส แม่ทัพชาวอาร์คาเดียเดินทางมาบอกเธมิสโตคลีสว่ากองทัพสปาร์ตา 300 นายที่เทอร์มอพิลีถูกฆ่าทั้งหมด เธมิสโตคลีสกลับไปที่เอเธนส์และพบกับเอฟิอัลทีส คนค่อมผู้ทรยศกองทัพสปาร์ตาที่เทอร์มอพิลี เอฟิอัลทีสบอกเธมิสโตคลีสว่าเซอร์ซีสกำลังเดินทัพมาที่เอเธนส์และจะเผาที่นี่ให้เป็นจุล แต่เธมิสโตคลีสตอบกลับไปว่าจะรวบรวมกองเรือเพื่อสู้กับฝ่ายเปอร์เซียที่อ่าวซาลามิส เธมิสโตคลีสไปที่สปาร์ตาและคืนดาบของกษัตริย์เลโอไนดัสให้ราชินีกอร์โก พร้อมทั้งขอให้พระองค์ช่วยเหลือทัพกรีกเพื่อเป็นการล้างแค้นให้พระสวามี

กองทัพของเซอร์ซีสมาถึงเอเธนส์และฆ่าผู้คน พร้อมกับเผาเมือง เมื่ออาร์เทมีเชียรู้ข่าวว่าเธมิสโตคลีสยังไม่ตาย เธอสั่งให้กองเรือเตรียมพร้อมทำศึก เซอร์ซีสพยายามเตือนว่านี่อาจเป็นกลลวง แต่อาร์เทมีเชียไม่ฟัง ทัพเรือฝ่ายกรีกและเปอร์เซียปะทะกันที่อ่าวซาลามิส เธมิสโตคลีสและอาร์เทมีเชียสู้กันจนได้รับบาดเจ็บทั้งคู่ ในตอนนั้นราชินีกอร์โกนำกองเรือของพันธมิตรกรีกมาช่วยเธมิสโตคลีส เธมิสโตคลีสสั่งให้อาร์เทมีเชียยอมจำนนแต่เธอปฏิเสธ จึงถูกเธมิสโตคลีสแทงจนตาย ภาพยนตร์จบลงเมื่อกองเรือพันธมิตรของกรีกร่วมกันโจมตีฝ่ายเปอร์เซีย

นักแสดง[แก้]

ความถูกต้องทางประวัติศาสตร์[แก้]

พอล คาร์ตเลดจ์ ศาสตราจารย์ด้านวัฒนธรรมกรีก มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์กล่าวว่าภาพยนตร์มีความคลาดเคลื่อนหลายอย่าง เช่น กษัตริย์ดาไรอัสที่ 1 ไม่ได้ถูกปลงพระชนม์ในยุทธการที่มาราธอนและพระองค์กับเซอร์ซีส พระราชโอรสก็ไม่ได้อยู่ในสมรภูมิดังกล่าว รวมถึงอาร์เทมีเชียซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้วเป็นราชินีแห่งแฮลิคาร์แนสซัส ไม่ใช่ทาสและไม่ได้ถูกฆ่าในยุทธนาวีที่ซาลามิส นอกจากนี้กองเรือพันธมิตรกรีกในยุทธนาวีดังกล่าวมีจำนวน 400 ลำ ไม่ได้มีจำนวนมากมายเหมือนในภาพยนตร์[10][11]

อ้างอิง[แก้]

  1. Schaefer, Sandy (มิถุนายน 2, 2010). "First Look At '300′ Prequel Comic Book". ScreenRant. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 30, 2013. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 1, 2013.
  2. Sitterson, Aubrey. "Comic-Con 2011: Xerxes Is Now 300: Battle of Artemisia". UGO Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2013. สืบค้นเมื่อ February 1, 2013.
  3. "Junkie XL score composer for 300: Rise of an Empire". 300themovie.com. สืบค้นเมื่อ August 15, 2013.
  4. "300: Rise of an Empire (15)". British Board of Film Classification. January 13, 2014. สืบค้นเมื่อ January 16, 2014.
  5. 5.0 5.1 "300: Rise of An Empire (2014)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ June 5, 2014.
  6. "Rodrigo Santoro Back For 300 Sequel?". Empireonline.com. สืบค้นเมื่อ August 15, 2013.
  7. "synopsis". 300themovie.com. สืบค้นเมื่อ August 15, 2013.
  8. "IMDb Pro : 300: Rise of an Empire Business Details". Pro.imdb.com. July 27, 2007. สืบค้นเมื่อ August 15, 2013.
  9. Scott Foundas (2014-03-03). "'300: Rise of an Empire' Review: Eva Green Stars in Entertaining Sequel". Variety. สืบค้นเมื่อ 2014-03-08.
  10. http://www.bbc.com/news/blogs-magazine-monitor-26484784
  11. "300: Rise of an Empire". History vs. Hollywood.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]